Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

Explainer เรื่องที่ร้อนแรงที่สุดในโลก ณ เวลานี้ สงครามระหว่างตาลีบัน กับ อัฟกานิสถาน มีจุดเริ่มต้นได้อย่างไร แล้วทำไมสหรัฐอเมริกา ที่คอยอยู่ช่วยมาตลอดเกือบ 20 ปี ต้องถอนทหารออกไปด้วย workpointTODAY จะอธิบายทุกอย่างให้เข้าใจโดยง่ายที่สุดใน 23 ข้อ

1) ในยุคสงครามเย็น สหภาพโซเวียต ใช้กองกำลังทหาร บุกมายึดครองประเทศอัฟกานิสถานเอาไว้ อย่างไรก็ตามในปี 1979 ประชาชนอัฟกานิสถานส่วนหนึ่ง ไม่ต้องการถูกยึดครองโดยโซเวียต จึงตั้งทหารแบบกองโจรขึ้นมา ในชื่อกลุ่มมูจาฮีดีน

2) เป้าหมายของมูจาฮีดีน คือขับไล่โซเวียตออกจากประเทศให้ได้ ซึ่งด้วยความที่สหรัฐฯ กับโซเวียต ต่อสู้กันในสงครามเย็นอยู่แล้ว ฝั่งสหรัฐฯ จึงให้เงินทุน และอาวุธกับกลุ่มมูจาฮีดีน เพื่อเอาไปสู้กับโซเวียต ซึ่งบทสรุปคือ มูจาฮีดีนทำได้ สามารถไล่โซเวียตออกนอกประเทศได้สำเร็จ ในปี 1989

3) ปัญหาคือมูจาฮีดีน เป็นการรวมตัวกันของคนอัฟกานิสถานหลายแนวความคิด และเมื่อโซเวียตโดนไล่ออกไป อำนาจในการปกครองประเทศจึงว่างลง ทำให้กลุ่มมูจาฮีดีน จึงแตกย่อยกระจัดกระจายออกเป็นหลายกลุ่มตามแต่แนวทางความเชื่อของตัวเอง บางคนอยากให้ประเทศเจริญเหมือนชาติตะวันตก แต่บางคนก็อยากให้กลายเป็นรัฐอิสลามอย่างเคร่งครัด

4) ปี 1994 กองทหารชื่อ “ตาลีบัน” ถูกก่อตั้งขึ้นมา โดยคนตั้งกลุ่มมีชื่อว่าโมฮัมเหม็ด โอมาร์ หนึ่งในทหารมูจาฮีดีน โดยแนวคิดของเขาคือ จะนำพาอัฟกานิสถานกลายเป็นรัฐอิสลามอีกครั้ง โดยจะมีกฎบังคับต่างๆอย่างเข้มงวด เช่น ห้ามดูหนัง ห้ามฟังเพลง เด็กผู้หญิงห้ามเรียนหนังสือ และ ผู้หญิงที่โตแล้วห้ามทำงานนอกบ้าน ยกเว้นแค่อาชีพหมอ รวมถึงผู้หญิงต้องใส่ผ้าคลุมอย่างมิดชิดจนเห็นแค่ดวงตาเท่านั้น

5) ปี 1996 กองทหารตาลีบัน บุกยึดกรุงคาบูลได้สำเร็จ พร้อมประกาศจะเปลี่ยนชื่อประเทศอัฟกานิสถาน เป็น อิสลามิค เอมิเรตส์ จากนั้นกฎหมายอิสลามอันเข้มงวดก็เริ่มถูกใช้ตั้งแต่วันนั้น
ไม่เพียงแค่ตีกรอบเพศหญิงอย่างเข้มงวดเท่านั้น แต่ผู้ปกครองที่เป็นผู้ชาย ถ้าหากควบคุมลูกสาวของตัวเองไม่ได้ ก็จะมีบทลงโทษด้วย ตัวอย่างเช่น พ่อของเด็กหญิงวัย 15 ปีคนหนึ่ง ที่ปล่อยให้ลูกสาวไปโรงเรียน ปรากฏว่า พ่อคนดังกล่าว โดนกลุ่มตาลีบันบุกมาสังหารถึงบ้าน เนื่องจากมองว่าขัดต่อคำสั่งของตาลีบัน

6) ความเชื่อมโยงของตาลีบัน กับสหรัฐอเมริกา เกิดขึ้นในปี 2001 เมื่อเกิดเหตุการณ์ 9/11 เครื่องบินชนตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ โดยผู้ประกาศตัวว่าเป็นคนก่อการร้าย คือ โอซาม่า บิน ลาเดน ผู้นำกลุ่มอัลกออิดะห์ โดยหลังจากเกิดเหตุ บิน ลาเดน หนีมาซ่อนตัวอยู่ที่อัฟกานิสถาน ภายใต้การคุ้มครองของตาลีบัน โดยมีการวิเคราะห์กันว่า กลุ่มอัลกออิดะห์ กับ ตาลีบัน มีความสัมพันธ์ต่อกันในฐานะ กองทหารอิสลาม (Islamist Militant Group) แบบเดียวกัน

7) สหรัฐฯ สืบทราบว่า บิน ลาเดน อยู่ในอัฟกานิสถาน จึงสั่งให้ตาลีบัน ส่งตัวบิน ลาเดนให้ แต่ตาลีบันปฏิเสธ ทำให้ประธานาธิบดี จอร์จ บุช ประกาศชัดเจนว่า “ตาลีบันต้องชดใช้กับเรื่องนี้”

8 ) วันที่ 7 ตุลาคม 2001 สหรัฐฯ ร่วมกับ สหราชอาณาจักร บุกโจมตีตาลีบันอย่างรวดเร็ว มีการใช้เครื่องบินทิ้งระเบิด ทำลายที่มั่นของตาลีบันทั่วประเทศ และสุดท้ายใช้ระยะเวลาการรบแค่ 1 เดือนเท่านั้น ตาลีบันก็แตกพ่าย ขณะที่บิน ลาเดน ก็หนีออกจากอัฟกานิสถานไปกบดานที่ปากีสถานแทน

9) เมื่อตาลีบันแตกพ่ายแล้ว ทำให้สหรัฐฯ ช่วยประคองให้อัฟกานิสถานมีรัฐบาลใหม่ขึ้นมาได้ ก่อนที่จะร่างรัฐธรรมนูญใหม่สำเร็จในปี 2004 และมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น โดยฮามิด คาร์ไซ ได้เป็นประธานาธิบดีของประเทศ

10) สถานการณ์บ้านเมืองก็เดินหน้าต่อไป เมื่อสงครามยุติ อัฟกานิสถานก็ทำมาค้าขาย มีเงินเข้าประเทศมากขึ้น รายงานในปี 2004 ระบุว่า เศรษฐกิจโตขึ้นถึง 30% หากเทียบจากปีก่อน และทิศทางก็ดูจะดีขึ้นเรื่อยๆ

11) อย่างไรก็ตาม ตาลีบันที่แตกพ่ายไปนานแล้ว ได้รวมตัวกันอีกครั้งเพื่อสร้างอาณาจักรของตัวเอง โดยมีจุดประสงค์ที่จะนำประเทศปกครองด้วยแนวทาง Pure Islamic Society (อิสลามบริสุทธิ์) ให้ได้ ไม่มีรายงานว่าพวกเขาสะสมอาวุธได้จากไหน แต่กลุ่มตาลีบันมีอาวุธครบมือมากขึ้น พร้อมทั้งมีกระบวนการฝึกทหารอย่างเป็นรูปร่าง และเมื่อได้กองกำลังที่แข็งแกร่งมากพอแล้ว กลุ่มตาลีบัน จึงเริ่มทำสงครามแย่งประเทศ กับรัฐบาลอัฟกานิสถาน

12) ตาลีบันพยายามปั่นป่วนอัฟกานิสถานอยู่เป็นระยะ เพื่อยึดครองประเทศให้ได้ แต่พวกเขาก็ทำได้ยาก ในเมื่ออัฟกานิสถานมีสหรัฐฯ คอยหนุนหลังอยู่ ด้วยพลังอาวุธที่เหนือชั้นกว่ากันมาก ทำให้การยึดครองของตาลีบันไม่เป็นผล ได้แต่ปั่นป่วนอยู่เรื่อยๆ เป็นเวลาหลายปี

13) สำหรับประชาชนทั่วไป ก็ไม่ได้ชื่นชอบตาลีบันนัก โดยเฉพาะเพศหญิง เพราะรู้ว่าถ้าตาลีบันได้โอกาสปกครองประเทศ สิทธิสตรีจะหายไปทันที โดยเอเชีย ฟาวน์เดชั่น เคยไปสอบถามประชาชนอัฟกานิสถานว่าเห็นด้วยกับแนวทางของตาลีบันหรือไม่ มีถึง 85% ที่ระบุว่าไม่อยากให้ตาลีบันขึ้นมาปกครองประเทศ

คาตายุน อาห์มาดี้ ผู้หญิงที่ประกอบอาชีพล่ามในกรุงคาบูล เปิดเผยว่า “เรารับไม่ได้หรอก ที่ตาลีบันจะกลับมาทำให้ประเทศเราเจอฝันร้ายอีกครั้ง พวกเขาทำให้ความทรงจำในวัยเด็กของฉันมีแต่เรื่องราวแย่ๆ”

14) แต่ตาลีบัน ใช้กลยุทธ์การต่อสู้คือเกมระยะยาว พวกเขายื้อไปเรื่อยๆ เก็บสะสมกองกำลังทหารของตัวเองเอาไว้ รอสักวันฝั่งอัฟกานิสถานอ่อนแรงเมื่อไหร่ ก็พร้อมบุกโจมตีในคราวเดียว

15) ในที่สุดวันนั้นก็มาถึง นั่นเพราะประชาชนสหรัฐฯ ไม่เข้าใจว่าอเมริกาจะพยายามคอยอยู่สร้างสันติภาพในอัฟกานิสถานไปถึงไหน ในช่วงระหว่างปี 2002-2020 อเมริกาใช้เงินไปกับสงครามครั้งนี้ ทั้งปกป้องคนอัฟกานิสถาน และต่อสู้กับตาลีบัน รวมแล้วเป็นเงิน 815,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และใช้เงินสำหรับสร้างสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ที่โดนทำลายจากสงคราม เป็นเงินอีก 130,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
รวมแล้วเป็นเงิน 946,200 ล้านดอลลาร์ ถ้าแปลงเป็นเงินไทย ก็เท่ากับ 31 ล้านล้านบาท ซึ่งทั้งหมดนี้ คือภาษีของคนสหรัฐฯ และไม่ใช่แค่เงิน ยังมีทหารในสหรัฐฯ ที่เสียชีวิตที่อัฟกานิสถานอีกจำนวน 2,355 คน
คำถามจึงเกิดขึ้นกับประชาชนว่า ในเมื่อสหรัฐฯ ก็สังหารบิน ลาเดนได้แล้ว และก็อยู่ช่วยอัฟกานิสถานมา 20 ปีแล้ว จำเป็นต้องช่วยปกป้องไปอีกนานแค่ไหน ต้องใช้ทรัพยากรทั้งเงิน ทั้งคน ไปกับอัฟกานิสถานทำไม ในเมื่อไม่ได้ประโยชน์อะไรกลับมาสู่ประเทศ

16) สิ่งที่รัฐบาลสหรัฐฯ กังวลคือ ถ้ากองทัพสหรัฐฯ ถอนตัวออกไปจากอัฟกานิสถานแล้ว กองทหารของอัฟกานิสถานจะไม่สามารถต้านทานตาลีบันได้เลย เพราะในขณะที่รัฐบาลอัฟกานิสถานพยายามพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ แต่ฝั่งตาลีบัน สะสมกองทัพเอาไว้ขนาดใหญ่ โดยมีทหารพร้อมรบมากกว่า 85,000 คน คือถ้าถอนตัวออกไป ก็ไม่ต่างอะไรกับการปล่อยให้อัฟกานิสถานถูกยึด

17) อย่างไรก็ตาม ในตอนที่มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจ ไบเดน ประกาศไว้อย่างชัดเจนตอนหาเสียงว่า เขาจะ “End the forever wars” หรือจบสงครามที่ไม่มีที่สิ้นสุดนี้ซะ ซึ่งเมื่อได้รับเลือก ไบเดนทำตามที่พูดไว้จริงๆ วันที่ 14 เมษายน 2021 ไบเดน กล่าวว่า จะถอนทหารทั้งหมดออกจากอัฟกานิสถานในวันที่ 11 กันยายน 2021 และจากนั้น ก็เป็นภาระหน้าที่ของอัฟกานิสถาน ที่จะต้องดูแลตัวเองแล้ว

18) แผนของสหรัฐฯ คือถอนทหารออกไปเรื่อยๆ ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกรกฎาคม จนออกจากอัฟกานิสถานหมดทุกคนในวันที่ 11 กันยายน 2021 และเมื่อสหรัฐฯ เริ่มถอนกองทัพออกไปบางส่วนแล้ว นั่นทำให้ตาลีบันฉวยโอกาสนี้ ขนกองทัพ บุกยึดเมืองต่างๆ อย่างรวดเร็ว โดยที่รัฐบาลอัฟกานิสถานไม่สามารถต่อต้านใดๆได้เลย

19) วันที่ 13 สิงหาคม เมืองใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของประเทศ คันดาฮาร์ ถูกยึด วันรุ่งขึ้นเมือง มาซาร์-อี-ชาริฟ เมืองใหญ่ที่สุดอันดับ 4 ถูกยึด และวันต่อมา เมืองหลวงคาบูล ก็ถูกยึดตามไป เท่ากับว่ากลุ่มตาลีบันใช้เวลาอย่างรวดเร็วมาก ไม่กี่วันเท่านั้นหลังจากที่ทหารสหรัฐฯ เริ่มออกจากประเทศ โดยไล่บุกยึดทุกเมืองได้อย่างสมบูรณ์แบบ
ขณะที่ประธานาธิบดีอัชราฟ กานี ของอัฟกานิสถาน ที่มาจากการเลือกตั้งบินหนีออกนอกประเทศไปแล้ว เช่นเดียวกับประชาชนนับแสนคน ที่มีรายงานว่า ต้องการหนีออกจากประเทศเช่นกัน เพราะไม่ต้องการอยู่ภายใต้การปกครองของตาลีบัน

20) โฆษกของตาลีบันรายงานว่า ขอรับรองความปลอดภัยของประชาชน เพราะตาลีบันในยุคปัจจุบันไม่เหมือนในอดีตอีกแล้ว อย่างไรก็ตาม มีรายงานออกมาเช่นกันว่า เริ่มมีคำสั่งให้บริษัทต่างๆ ไล่ผู้หญิงออกจากตำแหน่งงานต่างๆแล้วด้วย

21) สำหรับสถานการณ์การเมืองโลกขณะนี้ เป็นที่จับตาว่า ประชาคมนานาชาติจะเลือกอยู่ฝั่งเดียวกับรัฐบาลอัฟกานิสถานเดิมที่โดนโค่นล้มไปแล้ว หรืออยู่กับรัฐบาลตาลีบัน โดยหนึ่งในประเทศที่เทกแอ็กชั่นอย่างรวดเร็ว คือจีน โดยหวังอี้ รัฐมนตรีต่างประเทศของจีน ถ่ายรูปคู่กับ อัลดุล กานี บาราดาร์ ผู้นำกลุ่มตาลีบัน ที่กรุงเทียนจิน แสดงให้เห็นถึงจุดยืนของจีน ที่จะไม่เข้าไปแทรกแซงกิจการภายในของอัฟกานิสถาน

22) และอีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่ยังถูกพูดถึง คือการตัดสินใจเอากองทัพออกมาจากอัฟกานิสถานของสหรัฐฯ เป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้วหรือไม่ เพราะเมื่อสหรัฐฯ เอากองทัพออกมา ประชาชนอัฟกานิสถานก็อาจโดนตาลีบันกดขี่อีกครั้ง แต่ในอีกมุมถ้าโจ ไบเดน ไม่ยอมเอาสหรัฐฯ ออกมา คำถามคือแล้วสหรัฐฯ ต้องใช้ภาษีประชาชนตัวเอง ช่วยเหลือพวกเขาต่อไปอีกนานแค่ไหน

23) ณ เวลานี้ สถานการณ์จึงเข้าสู่ความได้เปรียบของฝั่งตาลีบันทุกอย่าง และต้องติดตามกันต่อไปว่า ตาลีบันจะเปลี่ยนอัฟกานิสถาน ให้กลายเป็นรัฐอิสลามที่เคร่งครัดโดยสมบูรณ์แบบ ตามที่ตั้งใจไว้ตั้งแต่วันแรกที่ก่อตั้งกลุ่ม หรือกลุ่มตาลีบันจะเดินตามสมัยนิยม ให้สิทธิความเท่าเทียมกับเพศหญิงเหมือนประเทศอื่นๆ ทั่วโลก

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า