Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ชาวกรุงเทพฯ คนไหนต้องลุยน้ำกลับบ้านบ้าง?

กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่เจอปัญหาน้ำท่วมเกือบทุกครั้งที่ฝนตกหนัก จนถึงขนาดมีคนพูดว่า “ฝนตกในบางประเทศอาจจะเป็นเรื่องโรแมนติก แต่ฝนตกในกรุงเทพฯ ไม่ต่างกับฝันร้าย” 

ชาวกรุงเทพฯ ที่ปักหลักอยู่เมืองหลวงมาตั้งแต่เกิด หรือต่อให้เพิ่งมาอยู่ก็จะคุ้นเคยกับเหตุการณ์น้ำขังรอการระบายกันเป็นอย่างดี เพราะทุกหน้าฝน ประโยค “น้ำท่วม รอการระบาย” ก็จะถูกนำไปพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์เกือบทุกฉบับเสมอ

แม้ปัญหาหลักๆ ที่เรามองเห็นหลังจากเกิดเหตุน้ำท่วมจะเป็นเรื่องรถติด การเดินทางลำบากขึ้นเท่าตัว ต้องเดินลุยน้ำจนเท้าเจ็บ แต่อีกมิติหนึ่ง ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก ยังทำให้ประชาชนเสียโอกาสทำมาหากินด้วย

น้ำท่วม คือการสูญเสียโอกาส

ปัญหาน้ำท่วมไม่ได้แค่ทำให้ผู้คนใช้ชีวิตลำบากมากขึ้น แต่มันยังแลกมาด้วยการสูญเสียทางโอกาส อย่างที่เราเห็นจากข่าว เช้านี้มีโรงเรียนบางแห่งต้องประกาศปิด พ่อค้าแม่ขายที่ต้องหยุดร้านชั่วคราว สูญเสียรายได้ในแต่ละวัน และนี่ยังไม่รวมถึงปัญหาสุขภาพที่มาพร้อมกับน้ำเน่าเสียที่ทะลักขึ้นมาจากท่อระบายน้ำที่ระบายไม่ทัน สิ่งเหล่านี้เรียกว่า ‘การเสียโอกาส’

มีคำศัพท์ทางเศรษฐศาสตร์คำหนึ่งที่มีความหมายใกล้เคียงกัน นั่นคือ “ต้นทุนค่าเสียโอกาส” (Opportunity Cost) อธิบายคอนเซ็ปต์ของคำนี้ง่ายๆ คือ ต้นทุนของการเลือก ต้นทุนที่เกิดขึ้นเมื่อเราเลือกทำบางสิ่ง จนทำให้ไม่สามารถทำอีกสิ่งได้เพราะทรัพยากรหรือปัจจัยในมือมีจำกัด

หรือถ้าจะอธิบายให้เข้ากับบริบทน้ำท่วมเข้ามาหน่อยก็คือ การที่ภาครัฐเลือกที่จะไม่ปูพรมจัดการปัญหาระบบระบายน้ำทั่วเมือง ทำให้ในทุกๆ ปี ยังเกิดปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก ซึ่งต้นทุนที่รัฐต้องเสียไปจากเลือกไม่ป้องกันตั้งแต่แรก คือค่าซ่อมถนนที่ต้องมาจ่ายภายหลังปีต่อปี เงินที่ต้องเติมเข้าไปในหน่วยงานสาธารณสุข เพื่อมาดูแลคนที่ได้ผลกระทบจากเหตุน้ำท่วมขัง ฯลฯ

แต่ที่น่าสนใจคือ ในประเทศของเราไม่ใช่แค่รัฐที่ต้องจ่าย ประชาชนเองต้องมาร่วมแบกรับ ‘ต้นทุนค่าเสียโอกาส’ จากการตัดสินใจของรัฐด้วย 

หากพูดตามจริงภาครัฐไม่ได้ลงมาช่วยเหลือความเสียหายทุกอย่างที่เกิดจากน้ำท่วม อีกทั้งประชาชนก็ชินชากับการต้องช่วยเหลือตัวเองอยู่ร่ำไป เช่น น้ำท่วมบ้าน ก็ต้องจ่ายค่าซ่อมบ้านด้วยตัวเอง หรือข้าวของทำมาหากินเสียหาย ก็ไม่ได้มีหน่วยงานไหนเข้ามาช่วยเหลือ 

กรณีศึกษาญี่ปุ่น

แน่นอนว่าปัญหาน้ำท่วมเป็นปัญหาธรรมชาติที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่การรับมือ การแก้ปัญหาเป็นเรื่องของเมือง เป็นเรื่องของมนุษย์ เราอาจจะเคยเห็นภาพญี่ปุ่นเจอผลกระทบจากพายุใหญ่ น้ำท่วมเมืองอย่างรวดเร็ว แต่ก็ฟื้นตัวอย่างเร็วเช่นกัน สิ่งเหล่านี้เป็นผลจากการมีวิธีการจัดการน้ำที่ดี มีการระบายน้ำที่เป็นระบบ ซึ่งการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็วนี้ ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบน้อย และกลับมาใช้ชีวิตปกติอย่างรวดเร็ว

เมื่อพูดถึงญี่ปุ่นแล้ว ต้องบอกก่อนว่าประเทศแต่ละประเทศ เมืองแต่ละเมืองมีความต่างกันทางภูมิศาสตร์ ดังนั้นจะใช้วิธีแก้ปัญหาของเมืองหนึ่ง มาทำกับเมืองหนึ่งทั้งหมดนั้นเป็นไปไม่ได้ อย่างกรุงโตเกียว ซึ่งมีที่ตั้งอยู่บนเส้นทางการเคลื่อนตัวของพายุ ทำให้ในช่วงกันยายนของทุกปี ประเทศจะต้องเผชิญกับการมาของภัยพิบัติธรรมชาติ 

ก่อนปี 2000 โตเกียวเจอพายุใหญ่แทบทุกปี มีคนสูญเสียบ้าน สูญเสียอาชีพ หรือแม้แต่สูญเสียชีวิตไปมากมาย 

ปรากฏการณ์เช่นนี้ ภาครัฐมองเห็นว่ามันไม่ใช่แค่การสูญเสียของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่ยังเป็นการเสียโอกาสของประเทศ เพราะยิ่งอุทกภัยใหญ่เท่าไหร่ เงินช่วยเหลือประชาชน ค่าซ่อมแซมความเสียหายก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น และนี่ยังไม่รวมถึงการสูญเสียทรัพยากรสำคัญของชาติอย่างประชาชนไปอีกด้วย 

ในแง่ของเศรษฐกิจ การสูญเสียชีวิตประชาชน ยังหมายถึงสูญเสียกำลังหลักของชาติ หากประเมินตามศักยภาพและความสามารถในการประกอบอาชีพ คนหนึ่งคนจะสามารถจ่ายภาษี และสร้างรายได้ให้กับประเทศได้อย่างมหาศาล ไม่ต่างจากฟันเฟืองสำคัญของระบบเศรษฐกิจ

ด้วยเหตุนี้ ตั้งแต่ช่วงปลายปี 1990 ญี่ปุ่นจึงเดินหน้าวางโครงข่ายระบบระบายน้ำ เพื่อลดความรุนแรงของภัยพิบัติ จนกระทั่งในปี 2006 ญี่ปุ่นเปิดใช้งาน อุโมงค์คัสสึคาเบะขนาดยักษ์มูลค่ากว่า 7 หมื่นล้าน ที่มีความยาวกว่า 6.3 กิโลเมตร (ยาวพอๆ กับการขับรถจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ไปห้าแยกลาดพร้าว

อีกทั้งยังมีแทงค์พักน้ำ 5 แทงค์ ที่มีความสูง 70 เมตร คอยทำงานเชื่อมกันเพื่อประสานการระบายน้ำลงสู่แม่น้ำ ด้วยเครื่องสูบน้ำกำลัง 13,000 แรงม้า ขณะเดียวกันก็จะมีเจ้าหน้าที่คอยควบคุมการระบายน้ำอีกที เพื่อไม่ให้กระทบต่อชาวฝั่ง

หลังเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการ อุโมงค์คัสสึคาเบะกลายมาเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้โตเกียวผ่านเวลาที่ยากลำบากมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง โดยเฉพาะเมื่อปี 2019 ที่เกิดซูเปอร์ไต้ฝุ่นฮากีบิส ซึ่งในครั้งนั้น ญี่ปุ่นได้รับผลกระทบน้อยกว่าตอนเกิดซูเปอร์ไต้ฝุ่นไอดาเมื่อปี 1958 ที่ทำให้มีคนเสียชีวิตมากกว่าพันคน

แต่ถ้าถามว่าญี่ปุ่นผ่านช่วงวิกฤตมาได้ด้วยอุโมงค์ยักษ์แห่งเดียวหรือไม่ แน่นอนว่าไม่ใช่ ในระหว่างที่อุโมงค์คัสสึคาเบะก่อสร้าง โตเกียวก็วางแผนพัฒนาระบบระบายน้ำด้านอื่นๆ ไปพร้อมกัน ทำให้ปัจจุบันเมืองหลวงของประเทศมีอุโมงค์ระบายน้ำเพิ่มเติมเพื่อช่วยดันน้ำในการระบายลงสู่อ่าวโตเกียวมากขึ้น และยังมีระบบเบื้องหลังที่ทำงานร่วมกันเป็นอย่างดี

ย้อนกลับมาที่กรุงเทพฯ หลายคนอาจจะมองว่า กรุงเทพฯ หรือแม้แต่ประเทศไทย ไม่ได้อยู่ในอาณาบริเวณที่ต้องเจอกับภัยพิบัติรุนแรงเท่าญี่ปุ่น ซึ่งก็เป็นความจริง แต่ความจริงข้อนี้อาจทำให้เราต้องกลับมาตั้งคำถามว่า ในเมื่อประเทศของเราไม่ได้เสี่ยงภัยมาก การจัดการระบบระบายน้ำ หรือแม้แต่ระบบป้องกันภัยพิบัติต่างๆ ก็อาจไม่ต้องทำให้เลเวลเดียวกับญี่ปุ่น 

ดังนั้น เพราะอะไรกัน ชาวกรุงเทพฯ และหลายๆ จังหวัดยังคงต้องเจอปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากให้ใจเจ็บกันอย่างนี้ทุกปี?

 

อ้างอิง

https://www.expressdrainagesolutions.co.uk/advice-centre/interesting/drainage-system-compares-rest-world/

https://albertawater.com/what-are-the-consequences-of-flooding/economic/

https://www.bbc.com/future/article/20181129-the-underground-cathedral-protecting-tokyo-from-floods

https://www.tandfonline.com/doi/full/10.1080/07011784.2015.1055804

https://www.thebalance.com/what-is-opportunity-cost-357200

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า