Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สปสช. และ กรมการแพทย์ เคาะ ผู้ป่วยโควิดรอเตียงในระบบสายด่วน 1330 กว่า 2,500 ราย เข้ารับการรักษาที่บ้านหรือที่ชุมชน ภายใต้การดูแลของคลินิกชุมชนอบอุ่น ช่วยทำให้ผู้ติดเชื้อเข้าระบบการดูแลรักษาเร็วขึ้น ไม่ต้องรอเตียงนานหลายวันจนเสี่ยงที่อาการจะทรุดลง

นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในพื้นที่ กทม.และปริมณฑลซึ่งผู้ติดเชื้อจำนวนมาก ที่ผ่านมาสายด่วน สปสช. 1330 ได้ช่วยทำหน้าที่ประสานงานหาเตียงแก่ผู้ที่ตรวจพบว่าติดเชื้อโควิด-19 แต่ยังไม่มีเตียงรองรับ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้สถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลง โดยจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจนเตียงในโรงพยาบาลไม่เพียงพอที่จะรองรับผู้ป่วยรายใหม่ ทำให้มีผู้ติดเชื้อโทรประสานมายังสายด่วน 1330 เพื่อให้หาเตียงให้แต่ยังตกค้างไม่ได้เตียงกว่า 2,500 ราย ซึ่งผู้ติดเชื้อเหล่านี้ต้องใช้เวลารอเตียงนานหลายวันและเสี่ยงที่อาการจะทรุดลง

โดยมีหลักเกณฑ์สำหรับการแยกตัวรักษาที่บ้าน ดังนี้

  1. เป็นผู้ติดเชื้อที่สบายดี หรือ ไม่มีอาการ
  2. เป็นผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี
  3. มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
  4. ที่บ้านพักอาศัยอยู่คนเดียว หรือ มีผู้ร่วมอาศัยด้วยไม่เกิน 1 คน
  5. ไม่มีภาวะอ้วน ค่า BMI หรือ ดัชนีมวลกาย เข้าเกณฑ์ตามที่กำหนด หรือ น้ำหนักน้อยกว่า 90 กิโลกรัม
  6. ไม่ป่วยเป็นโรค กลุ่มเสี่ยง 7 โรค คือ ปอดอุดตันเรื้อรัง โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้
  7. ผู้ป่วยยินยอมที่จะแยกกักตัวที่บ้าน

แต่หากไม่ผ่านเกณฑ์ แต่แพทย์อนุญาตก็แยกรักษาที่บ้านได้เช่นกัน

โดยขณะที่กักตัวอยู่ที่บ้าน ต้องปฏิบัติตัวตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด

  • ห้ามให้ใครมาเยี่ยม และห้ามออกนอกบ้าน
  • ห้ามเข้าใกล้คนอื่น หรือ เว้นระยะห่าง 2 เมตร
  • สวมหน้ากากตลอดเวลาที่ไม่ได้อยู่คนเดียว
  • แยกห้องพัก ของใช้ส่วนตัว  แยกห้องน้ำ
  • ที่บ้านเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทเสมอ
  • ห้ามรับประทานอาหารร่วมกับคนอื่นเด็ดขาด
  • หมั่นล้างมือด้วยสบู่ หรือ แอลกอฮอล์ เมื่อสัมผัสสิ่งของ
  •  แยกซักเสื้อผ้า
  • แยกขยะ โดยขยะที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่งให้ใส่ถุงพลาสติก และปิดปากถุงให้สนิทก่อนทิ้งขยะที่ฝาปิดมิดชิด

โดยสถานพยาบาล จะดูแลผู้ป่วย โดยการส่งปรอทวัดไข้ และ เครื่องวัดออกซิเจนในเลือดไปให้ พร้อมคำแนะนำการใช้งานติดตามอาการผ่านระบบ telemedicine หรือ โทรศัพท์และวีดีโอคอล โดยทีมแพทย์และพยาบาล จัดส่งอาหาร 3 มื้อ

หากพบว่ามีอาการทรุดลง ให้แจ้งโรงพยาบาล เพื่อนำตัวเข้ารักษาในสถานพยาบาล

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า