Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

นายกสมาคมอุรเวชช์ฯ ค้านการตั้ง ‘ICU สนาม’ เพื่อรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่มีอาการหนัก ระบุ สถานการณ์โควิด-19 ขณะนี้ บานปลาย บุคลากรทางการแพทย์ มีภาระงานตึงมืออยู่แล้ว แนะทางรอดเดียว ใช้ศักยภาพไอซียูโควิด-19 ที่มีอยู่ในปัจจุบันให้คุ้ม รณรงค์ให้จัดหา ‘เครื่องไฮโฟลว์’ และยังไม่เห็นด้วยที่จะมีการแจก ‘ยาฟาวิพิราเวียร์’ กับผู้ป่วยทุกคนใน รพ.สนาม หวั่นยาขาดมือจนกระทบเคสที่จำเป็น และอาจเกิดเชื้อดื้อยาได้

วันที่ 4 พ.ค. 2564 รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และนายกสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย โพสต์เฟซบุ๊กคัดค้านการตั้ง ICU สนาม เพื่อรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการหนัก

โดย รศ.นพ.นิธิพัฒน์ ระบุข้อความว่า “6 เม.ย. 2563 ผมเสนอแผนเตรียมตั้งไอซียูสนามโควิด-19 ใน กทม. ต่อที่ประชุม ซึ่งมี อ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร เป็นประธาน คงเป็นเพราะออกตัวก่อนว่า ภาพประกอบได้จากลูกสาวคนโตที่กำลังจะเข้าเรียนสถาปัตฯ ร่างแบบให้ จึงได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมและเสนอแผนงานให้รัฐบาลพิจารณา แต่ให้ใช้เป็นแผนสำรองต่อจากการขยายไอซียูโควิด-19 ในโรงพยาบาลหลักก่อน เพราะมีความยุ่งยากซับซ้อนเชิงวิศวกรรมและความปลอดภัย เช่น ระบบสำรองก๊าซทางการแพทย์ ระบบหมุนเวียนและถ่ายเทอากาศ ระบบกำจัดของเสียและของติดเชื้อ ฯลฯ

นอกจากนั้น แล้วปัญหาใหญ่ คือ จะเอาใครมาทำงาน เพราะต้องการแพทย์ และพยาบาล ที่มีความเชี่ยวชาญสูงในการรับมือกับผู้ป่วยโควิด-19 วิกฤต ผมในนามสมาคมอุรเวชช์ฯ ได้เตรียมในด้านบุคลากรนี้ไว้ระดับหนึ่ง ร่วมกับ แพทยสภา และสภาการพยาบาล โชคดีว่า โควิด-19 ระลอกหนึ่ง สงบเสียก่อน แผนนี้จึงไม่ถูกงัดมาใช้

ช่วง 2-3 สัปดาห์นี้ ผมถูกถามในหลายวงและจากหลายคนว่า จะรื้อฟื้นแผนงานนี้ขึ้นมาใหม่ไหม ผมตอบดังๆ และชัดเจนในทุกเวทีว่า “ไม่” และ “ไม่มีทาง” สถานการณ์โควิด-19 ตอนนี้บานปลายไปมาก บุคลากรมีภาระตึงมือกันไปทั่ว ทางรอดเดียวของเราคือ ใช้ศักยภาพไอซียูโควิด-19 (ระดับ 3) ที่มีอยู่ในปัจจุบันให้คุ้ม คู่ไปกับการขยายศักยภาพ COVID ward (ระดับ 2) ให้รองรับผู้ป่วยปอดอักเสบโควิด-19 ที่เริ่มรุนแรง (step up) หรือ เริ่มรุนแรงลดลง (step down) เพื่อให้การใช้เตียงไอซียูโควิดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และอาวุธสำคัญหนึ่งคือ เครื่องไฮโฟลว์ที่ผมรณรงค์เสนอให้ทุกฝ่ายเร่งจัดหา

ผมไม่สบายใจที่ยังมีผู้ไม่เข้าใจและพยายามผลักดันเรื่องนี้กันอยู่อีก นอกจากไม่ยืนอยู่บนความเป็นจริงเหมือนบุคลากรด่านหน้าอย่างพวกเราที่รับทราบกันอยู่เต็มอก แต่มันยังสร้างแรงกดดันและความหนักใจต่อบุคลากร ใต้บังคับบัญชาของฝ่ายบริหาร/นโยบายที่ดึงดันเรื่องนี้ มีคนบอกผมว่า การที่ผมออกไปตระเวนเยี่ยมศิษย์ทั่วไทยช่วงโควิดตั้งแต่ระลอกแรกนั้น นอกจากให้ความรู้และให้กำลังใจแล้ว ยังช่วยเป็นแรงใจให้คนหน้างานเขาส่งเสียงสะท้อนสู่ข้างบนได้อย่างกล้าหาญขึ้น ผมบอกว่า ผมเป็นแค่คนนอกที่ปรารถนาดีต่อทุกฝ่าย แม้สิ่งที่ผมทำอาจไม่ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก แต่ผมจะไม่ยอมหยุดพูดความจริงในทุกๆ ที่ เพื่อให้พวกเขาได้ทำหน้าที่ทางการแพทย์ โดยไม่ต้องมีความกังวลใดๆ อยู่เบื้องหลัง

เนื่องจาก ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 บานปลาย และบุคลากรทางการแพทย์ไม่เพียงพอ พร้อมกับติดแฮชแท็ก เซฟบุคลากรทางการแพทย์ ในโพสต์ดังกล่าว

นอกจากนี้ นพ.นิพัฒน์ ยังได้โพสต์ข้อความถึง กรณีการจ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ ด้วยว่า ยาฟาวิพิราเวียร์ ได้รับการจดทะเบียนยาและอนุมัติให้ใช้ในผู้ป่วยโควิด-19 เป็นกรณีพิเศษสำหรับศึกระลอกแรก เนื่องจากมียาจำกัดจึงให้ใช้เฉพาะในรายปอดอักเสบรุนแรง การเก็บข้อมูลย้อนหลังโดยคณะทำงาน พบว่า ยานี้น่าจะช่วยลดความรุนแรงและการสูญเสียจากโรค และใช้ได้ปลอดภัย แต่เนื่องจาก ยานี้ไม่มีใช้ในประเทศทางตะวันตก จึงไม่มีข้อมูลเชิงวิชาการที่หนักแน่นรองรับ แต่คณะกรรมการจัดเตรียมยาของประเทศก็ได้จัดเตรียมไว้ให้เพียงพอในระลอกสอง ซึ่งไม่เกิดปัญหาเพราะมีอัตราการใช้ราว 20% ของผู้ป่วยทั้งหมด โดยที่คณะกรรมการวิชาการได้ขยายข้อบ่งใช้ให้ครอบคลุมตั้งแต่ปอดอักเสบขั้นต้นและผู้ป่วยที่อาจเกิดปอดอักเสบรุนแรง

ซึ่งผมในนามสมาคมอุรเวชช์ฯ ได้ทำเรื่องเสนอคณะกรรมการบัญชียาหลักแห่งชาติ เพื่อบรรจุยานี้ไว้สำหรับให้ทุกโรงพยาบาล จัดซื้อได้เอง เพื่อให้มีใช้งานเพียงพอ ในระหว่างดำเนินการนี้เกิดศึกระลอกสามตามมาอย่างรวดเร็ว จำนวนผู้ป่วยเพิ่มแบบทวีคูณควบคู่ไปกับยอดการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ โดยมีอัตราการใช้ระหว่าง 20-70% แล้วแต่ความสะดวกการเข้าถึงยาในพื้นที่ เป็นที่มาของความฉิวเฉียดของการมียาสำรองใช้เกือบไม่เพียงพอ ขอบคุณยาต้นแบบจากญี่ปุ่นที่เข้ามาช่วยไว้ทันจำนวน 2.2 ล้านเม็ด (รักษาผู้ป่วยได้ราวสามถึงสี่หมื่นคน)

ขณะนี้ มีแนวคิดขยายการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ ให้เข้าใกล้ 100% โดยส่วนตัวผมไม่เห็นด้วยโดยมีเหตุผลดังนี้
การกวาดให้ยาแบบไม่แยกแยะ มีข้อเสีย คือ

1. ยาอาจขาดมือจากที่สำรองไว้ ทำให้ผู้ป่วยรายที่จำเป็นอาจไม่ได้ยาชั่วคราวหรือได้ไม่เต็มจำนวน

2. การใช้ยาตั้งแต่แรกอาจทำให้แพทย์นิ่งนอนใจในประสิทธิภาพของยา จนอาจทำให้ละเลยการเฝ้าระวังการเกิดปอดอักเสบ ยานี้ยังไม่มีหลักฐานว่าป้องกันการเกิดปอดอักเสบหรือทำให้ปอดอักเสบเล็กน้อยไม่ลุกลาม

3. การใช้ยาฆ่าเชื้อที่ไม่สมเหตุสมผล (non-rational drug use) จะนำมาซึ่งการเกิดเชื้อดื้อยาภายหลัง

ที่มา: https://web.facebook.com/profile.php?id=100002870789106

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า