Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

Money Heist: Korea Joint Economic Area ทรชนคนปล้นโลก: เกาหลีเดือด ซีรีส์เรื่องล่าสุดของ Netflix ที่รีเมคมาจากต้นฉบับเวอร์ชั่นสเปนอย่าง La casa de papel และปล่อยออกมาหลังจากต้นฉบับปิดฉากไม่นานนั้น ดูจะต้องแบกรับความคาดหวังของผู้ชมที่ต้องทำให้สนุกเทียบเท่ากับต้นฉบับ ในขณะที่ต้องนำเสนออะไรบางอย่างที่แตกต่างออกไปจากเดิมมากพอที่จะทำให้มันโดดเด่นด้วยตัวของมันเองด้วยเช่นกัน ในเวอร์ชั่นนี้ซีรีส์คงเส้นเรื่องเดิมแทบจะเหมือนกับเป๊ะ ต่างกันที่รายละเอียดเล็กน้อยแต่ Money Heist: Korea Joint Economic Area ก็สร้างความแตกต่างโดยเพิ่มเอกลักษณ์ความเป็นเกาหลีเข้าไปในบริบท ด้วยเรื่องราวของ ทีมโจรกรรมทั้งหมดแปดชีวิตซึ่งมาร่วมงานกันด้วยนามแฝงที่ตั้งจากเมืองของประเทศต่าง ๆ ภายใต้การนำของ ศาสตราจารย์ และมารวมตัวก่อการปล้นโรงกษาปณ์ในเขตเศรษฐกิจร่วมที่จัดตั้งขึ้นใหม่ระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้

[เนื้อหาในบทความต่อจากนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของเรื่อง]

  1. ธีมและฉากหลังของเรื่อง

ในเวอร์ชั่นเกาหลีจะพูดถึงปัญหาจากทุนนิยมและความเหลื่อมล้ำ ประเด็นสุดคลาสสิกที่พบได้บ่อยในซีรีส์เกาหลี อย่างเด่นชัดกว่า ผ่านการใช้ฉากหลังที่สมมุติขึ้นมาใหม่ในเกาหลีปี 2025 เมื่อเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ทำข้อตกลงเพื่อเริ่มการรวมชาติ จัดตั้งเขตเศรฐกิจร่วม (Joint Economic Area) ในเขตปลอดทหาร (DMZ) และใช้เงินตราร่วมกันได้  แต่แทนที่มันจะพัฒนาคุณภาพชีวิตคน และทำให้เกิดการปรองดองมากขึ้นเพื่อให้ทั้งสองชาติเจริญเติบโตไปพร้อมกัน มันกลับสร้างความแตกแยกและการแบ่งชนชั้นที่มากกว่าเดิม ซึ่งความขัดแย้งระหว่าเกาหลีเหนือกับใต้ การแบ่งแยก ความเหลื่อมล้ำที่เป็นปัญหาในชีวิตจริง ถูกนำใช้ให้เป็นส่วนประกอบสำคัญของเรื่องในหลายจุดซึ่งเสริมความน่าเชื่อถือและความเป็นเหตุเป็นผลของเรื่องด้วย

นอกจากยังมีรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ อื่นๆ ที่ดึงมาจากบริบททางการเมืองของเกาหลี อย่างการที่โตเกียวเลือกใช้ชื่อนี้โดยให้เหตุผลว่าเพราะพวกเขากำลังจะทำอะไรเลว ๆ กัน ก็เป็นจุดที่อ้างอิงถึงความขัดแย้งระหว่างเกาหลีกับญี่ปุ่นที่มีมาอย่างยาวนานอีกด้วย

2.ปูมหลังของตัวละคร

บริบทที่เปลี่ยนไปและแกนหลักของเรื่องเรื่องความแบ่งแยกและเหลื่อมล้ำถูกนำมาใช้ในปูมหลังของตัวละครที่ต่างจากต้นฉบับด้วย

3.บริบทที่เปลี่ยนไปและแกนหลักของเรื่องที่เน้น

ความแบ่งแยกและเหลื่อมล้ำถูกนำมาใช้ในปูมหลังของตัวละครที่ต่างจากต้นฉบับด้วย อย่างเช่น

  • โตเกียว ที่ถูกสร้างปูมหลังขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เปลี่ยนจากนักปล้นมือมาชีพเป็นผู้อพยบจากเกาหลีที่โดนโกงและทำร้าย จนทำให้เธอเลือกเป็นโจรที่ต้องการแก้แค้นคนที่เอาเปรียบผู้อพยบ และต้องการจะเปลี่ยนแปลงโลก เพื่อทวงคืนชีวิตที่ดีที่พวกเขาสมควรได้รับ แต่กลับถูกปล้นเอาไปโดยคนรวยที่เอาแต่รวยขึ้นด้วยการกอบโกยผลประโยชน์
  • ศาสตราจารย์ ก็มีอดีตของการเป็นนักวิจัยผลกระทบทางเศรฐกิจที่เกิดจากการรวมชาติ ที่ตกลงร่วมมือโครงการสนับสนุนการรวมชาติ ซึ่งทำให้เขานั้นเป็นเสมือน ‘ออปเพนไฮเมอร์’ หรือผู้สร้างระเบิดปรมาณูขึ้นมาเป็นคนแรก เพราะงานวิจัยของเขานำมาสู่การรวมชาติที่ทำให้ทุกอย่างแย่ลงกว่าเดิม และอาจจะเป็นที่มาที่ทำให้เขาตัดสินใจเริ่มแผนการปล้น ซึ่งในต้นฉบับนั้นศาสตราจารย์ก็มีภาพใหญ่ ในหัวที่มากกว่าการปล้นเหมือนกัน แต่ในฉบับเกาหลีนั้นถูกคลี่คลายออกมาให้เห็นเร็วกว่า

นอกจากนี้ยังมีตัวละครอื่นที่มีอดีตกับการแบ่งแยกประเทศ ความเหลื่อมล้ำ และสังคมที่กดทับที่ให้พวกเขามาเข้าร่วมการปล้นซึ่งเพิ่มเข้ามาจากของเดิม

  • เบอร์ลิน ที่เสียแม่ไปตั้งแต่เด็กจากการพยายามข้ามมาอยู่เกาหลีใต้
  • มอสโกและเดนเวอร์ ที่ไม่เคยมีชีวิตดี ๆ จนเข้าร่วมการปล้นเพื่อจะทำความฝันของการได้ใช้ชีวิตเหมือนคนธรรมดาให้เป็นจริง
  • ริโอ ที่ออกจากบ้านเพราะไม่อยากเป็นหอมตามที่ที่บ้านต้องการ สะท้อนวัฒนธรรมในครอบครัวที่พ่อแม่กดดันลูกให้ทำตามที่ต้องการ
  • กลุ่มตำรวจและตัวประกัน ที่มีความขัดแย้ง แบ่งฝักแบ่งฝ่ายเป็นฝั่งเกาหลีเหนือและใต้ และความไม่ไว้วางใจกัน ซึ่งการรวมชาติไม่สามารถแก้ไขสิ่งนี้ได้

4. เน้นความต่างของที่มาตัวละครด้วยสำเนียงและภาษาถิ่น

อีกหนึ่งองค์ประกอบที่ถูกใช้เพื่อเพิ่มสีสันและเอกลักษณ์ความเป็นเกาหลีให้กับเรื่องคือการที่มีตัวละครจำนวนมากใช้ภาษาถิ่นหรือ ซาทูริ (사투리) และสำเนียงต่าง ๆ พร้อมกับใช้ภาพจำของคนในแต่ละภูมิภาคไว้ในตัวละครอีกด้วย อย่างเช่นเดนเวอร์และมอสโกมาจากจังหวัดคย็องซังเหนือ ซึ่งมีสำเนียงเฉพาะตัวและมีภาพลักษณ์ของการเป็นคนเลือดร้อน เป็นต้น

ซึ่งภาษาในเรื่องก็ถูกนำมาสะท้อนถึงปัญหาการแบ่งแยกแบบภูมิภาคนิยม (Regionalism) ในเกาหลีใต้ หรือที่มีคำเฉพาะในภาษาเกาหลี ว่า จียอกคัมจอง (지역감정) ที่หมายความถึงความรู้สึกเป็นปฏิปักษ์ของคนจากแต่ละภูมิภาค อย่างเช่นในฉาก ที่ตัวประกันทะเลาะกันและมีการพูดว่า “ฟังคำคนไม่รู้เรื่องเหรอ หรือเพราะฉันพูดสำเนียงโซลหรือไง” ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการแบ่งแยกในเกาหลีนั้นมีความลึกซึ้งไปยิ่งกว่าการแบ่งเป็นฝั่งเหนือและใต้ ชวนให้นึกถึง ส่วนหนึ่งจากบทความ ‘[Us and Them] Korea’s division runs deeper than South and North’ จาก Korea Herald ที่กล่าวว่า “เกาหลีใต้นั้นคือสาธารณรัฐโซล” เพราะความเจริญและประชากรกว่าครึ่งประเทศนั้นมากระจุกตัวอยู่ที่เมืองหลวงและจังหวัดข้างเคียง ทำให้ทุกอย่างและความเจริญนั้นโฟกัสอยู่แค่ที่เดียว จึงทำให้เกิดการแบ่งแยกคนเมืองหลวงกับคนต่างจังหวัดทำให้หลายคนที่มาจากต่างจังหวัดนั้นโดนเหยียด ซึ่งเซอร์เวย์จากสถาบัน Hope Institude เผยว่า 92% ของผู้ตอบแบบสอบถาม 450 คน จากกรุงโซล บอกว่าพวกเขาเคยมีประสบการณ์โดนเหยียดด้วยวาจาหรือท่าทาง และเลือกปฏิบัติขึ้นอยู่กับภูมิภาคเดิมของพวกเขา

การที่กลุ่มตัวเอกของเรื่องส่วนใหญ่นั้นเป็นคนชายขอบที่อยู่นอกเมืองหลวงและผู้อพยบจากเกาหลีเหนือและจีน (นอกจากริโอที่เป็นลูกเศรษฐีคนโซล) อาจจะเป็นจุดที่กำลังสะท้อนถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำของกรุงโซลและส่วนอื่นของประเทศนั่นเอง

5.หน้ากาก

สิ่งที่โดดเด่นและมีความหมายที่น่าสนใจคือการเลือกหน้ากากฮาฮเว (하회탈) ซึ่งเป็นหน้ากากโบราณของเกาหลีที่ใช้เล่นละครที่เรียกว่า ฮาฮเวบยอลชินกุดทาลโนรี (하회별신굿탈놀이) มาแทนที่หน้ากาก ซัลวาดอร์ ดาร์ลี ของต้นฉบับ ซึ่งที่จริงหน้ากากฮาฮเวนั้นมีอยู่ 12 ชนิด ปัจจุบันนั้นค้นพบแค่ 9 แบบส่วนอีก 3 นั้นมีเหลือแค่เพียงชื่อและแบบที่ Money Heist เวอร์ชั่นเกาหลีเลือกใช้คือหน้ากากยางบัน (양반탈)  ที่เป็นตัวแทนของขุนนาง (nobleman) ซึ่งเป็นหนึ่งใน 4 หน้ากากที่ขยับปากได้ คล้ายจะสื่อถึงการมีสิทธิ์มีเสียงในการพูดในขณะที่คนอื่น ๆ ในสังคมอย่างผู้หญิงและชนชั้นอื่นต้องเงียบปาก ทำให้การที่เหล่ากองโจรเลือกใส่หน้ากากนี้เหมือนกับจะเป็นการประกาศว่าพวกเขาจะมีสิทธิ์เสียงในการเปลี่ยนแปลงโลกเหมือนชนชั้นนำ และเข้ากับการที่เหล่ากองโจรในเรื่องกำลังท้าท้าย ปลุกปั่น เหยียดหยันอำนาจของชนชั้นนำที่บริหารประเทศได้ล้มเหลวได้เป็นอย่างดี อีกทั้งลักษณะของหน้ากากที่เมื่อมองจากต่างมุมจะให้อารมณ์ที่ต่างออกไป ก็ยิ่งทำให้เพิ่มความลึกลับให้กับ mood และ tone ของซีรีส์อีกด้วย

6.เนื้อเรื่องที่ถูกเปลี่ยน และเส้นเรื่องที่ถูกตัดออก

ถึงแม้เส้นเรื่องหลักจะคล้ายเดิมมาก ๆ แต่รายละเอียดเล็ก ๆ ได้ถูกเปลี่ยนไป อย่างเช่น

  • ศาสตราจารย์กับซอนอูจินคุณตำรวจนักเจรจาในเวอร์ชั่นนี้สานสัมพันธ์กันมาก่อนภารกิจจะเริ่มนานนับเดือน ตามแผนของศาสตราจารย์เปิดร้านกาแฟ และจงใจเลือกให้เธอรับผิดชอบคดี เพื่อที่จะหลอกเอาข้อมูลจากเธอระหว่างการปล้น ต่างกับในเรื่องเดิมที่ศาสตราจารย์เลือกเข้าหาราเคลหลังจากปล้นเริ่มขึ้นแล้วและสานสัมพันธ์ต่อจากนั้น
  • ความสัมพันธ์ระหว่าริโอและโตเกียวค่อย ๆ ก็ตัวขึ้นตั้งแต่ฟอร์มทีมจนถึงระหว่างปล้น ในขณะที่ในต้นฉบับนั้นทั้งสองแอบคบกันตั้งแต่เก็บตัวอยู่ด้วยกัน
  • เวอร์ชั่นเกาหลีเปลี่ยนให้คนที่ถูกเปิดเผยตัวตนก่อนคนอื่นคือ ริโอกับไนโรบี แทนที่จะเป็น ริโอและโตเกียว ส่วนเบอร์ลินนั้นเปิดเผยตัวตนด้วยตัวเองในการถ่ายทอดสด แทนที่จะถูกยัดหลักฐานไว้ในรถโดยศาสตราจารย์
  • เส้นเรื่องบางเส้นถูกตัดออก เช่นความสัมพันธ์ระหว่าเบอร์ลินและตัวประกันหญิง หรือเส้นเรื่องฝั่งตำรวจในเวอร์ชั่นต้นฉบับที่แองเคล เพื่อนร่วมงานของราเคลหลงรักเธอ ในเวอร์ชั่นนี้ก็เปลี่ยนเป็นตำรวจเกาหลีเหนือที่ขัดแย้งกันแทน ซึ่งไม่แน่ว่าการเปลี่ยนรายละเอียดเล็ก ๆ เหล่านี้จะส่งผลให้เนื้อเรื่องต่อ ๆ ไปนั้นออกจากกรอบของต้นฉบับไปมากแค่ไหน

แม้จะมีการเปลี่นเนื้อเรื่องและใส่รายละเอียดความเป็นเกาหลีเข้าไป แต่ดูเหมือนการเปลี่ยนแปลงนี้จะยังไม่เพียงพอ เพราะมีหลายเสียงที่วิจารณ์ว่าเรื่องนั้นซื่อสัตย์ต่อต้นฉบับจนจืดชืดขาดความลุ้น และสำหรับผู้ชมชาวเกาหลีบางกลุ่มถึงพวกเขาจะชื่นชมการใช้หน้ากากฮาฮเวและการใส่ความขัดแย้งของเกาหลีเหนือและใต้ แต่พวกเขาก็ยังคงอยากเห็นความเป็นเกาหลีถูกนำไปใช้ในเรื่องมากกว่าแค่ในองค์ประกอบศิลป์ หรือฉากหลัง  นอกจากนี้ในนักวิจารณ์ต่างประเทศยังมีเสียงวิจารณ์การที่ซีรีส์นั้นตัดสั้นกระชับจนตัวละครอย่างออสโลและเฮลซิงกิจมหายไปกับเรื่อง หรือการที่ผู้เขียนบทไม่เลือกที่จะแก้ไขปัญหาบางส่วนขอต้นฉบับอย่างการ romanticise stockholm syndrome ซึ่งเป็นอาการของคนที่ตกเป็นตัวประกันที่เกิดมีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจคนร้ายหลังจากต้องใช้เวลาอยู่ด้วยกันระยะหนึ่ง  อย่างไรก็ตาม เราคงต้องรอดูต่อไปว่ารายละเอียดเล็ก ๆ ในเรื่องที่ถูกหย่อนไว้จะนำไปสู่ความแตกต่างจากต้นฉบับในอนาคตหรือไม่

 

อ้างอิง

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า