Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

การประชุมสุดยอดอาเซียนที่กำลังเกิดขึ้น ถูกมองว่าเป็นการประชุมประวัติศาสตร์ที่อาเซียนไม่เชิญฝ่ายการเมืองของเมียนมาเข้าร่วม หลังเกิดการรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 ก.พ. ที่ผ่านมา

โดยเมื่อวานนี้ (26 ต.ค.) ผู้นำชาติสมาชิกอาเซียนได้กล่าวถึงการตัดสินใจนี้ระหว่างการเปิดประชุม ซึ่ง workpointTODAY ได้คัดเฉพาะ 4 ผู้นำที่พูดถึงกรณีเมียนมา ยกมาเป็นตัวอย่างให้อ่านกัน

เริ่มต้นจากท่าทีของนายลี เซียน ลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ หนึ่งในประเทศซึ่งที่ผ่านมาแสดงท่าทีชัดเจนมาโดยตลอดว่าต่อต้านการรัฐประหารในเมียนมา เขาระบุว่า นี่ส่งผลที่แท้จริงต่อประชาชนเมียนมา และต่อความน่าเชื่อถือของอาเซียนในฐานะองค์กรที่ยึดหลักการ เราขอผลักดันอย่างหนักแน่นให้กองทัพเมียนมาร่วมมือกับผู้แทนพิเศษอย่างรวดเร็วและเต็มกำลัง

ผู้นำสิงคโปร์ยังระบุด้วยว่า ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลทหารเมียนมากับอาเซียน โดยเฉพาะการส่งผู้แทนจากอาเซียนไปพูดคุยกับทุกฝ่ายเป็นไปอย่างล่าช้า

นอกจากสิงคโปร์แล้ว ยังมีท่าทีจากนายอิสมาอิล ซาบรี นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ซึ่งแสดงท่าทีต่อต้านการรัฐประหารในเมียนมาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยเขาระบุว่า เมียนมายังเป็นสมาชิกที่มีคุณค่าของครอบครัวอาเซียน มาเลเซียมองไปข้างหน้าถึงการกลับคืนสู่ประชาธิปไตยในเมียนมา และการร่วมมือกับเมียนมาระดับสูงสุดในการประชุมอนาคต

ขณะที่ชาติสมาชิกบางส่วน ไม่เคยแสดงท่าทีที่ชัดเจนเกี่ยวกับการรัฐประหารในเมียนมามากนัก แต่ในครั้งนี้ก็ออกมาแสดงจุดยืนด้วย เช่นสมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ที่ชี้ว่าอาเซียนไม่ได้ขับไล่เมียนมาจากกลไกอาเซียน แต่เมียนมาเป็นฝ่ายทำลายสิทธิ์ของตัวเอง ตอนนี้เราเป็นอาเซียนลบหนึ่ง ไม่ใช่เป็นเพราะอาเซียน แต่เป็นเพราะเมียนมา

หลายฝ่ายจับตาจุดยืนของกัมพูชาเป็นพิเศษ เนื่องจากกัมพูชาจะเป็นชาติที่รับไม้ต่อจากบรูไน ในการเป็นประธานอาเซียนในปีถัดไป ซึ่งก็ต้องเข้ามามีบทบาทจัดการกับสถานการณ์ในเมียนมาเช่นกัน

ขณะที่ท่าทีจากประเทศไทย ซึ่งถูกมองว่าเป็นสมาชิกอาเซียนที่มีความใกล้ชิดกับรัฐบาลทหารเมียนมากที่สุด ก็แสดงจุดยืนผ่านพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีว่า ไทยเชื่อในภูมิปัญญาร่วมกันของทุกประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งสิบประเทศ ที่จะหาวิธีการเอาชนะความท้าทายต่างๆ ได้ร่วมกัน โดยคำนึงถึงความเป็นครอบครัวอาเซียนเดียวกัน มีความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน เพื่อการบรรลุถึงสันติภาพและความสมานฉันท์ รวมทั้งกลับคืนสู่กระบวนการประชาธิปไตย เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนเมียนมา และเพื่อสันติภาพ เสถียรภาพ และความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาค

เป็นที่น่าสังเกตในกรณีจุดยืนจากพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาว่า แม้จะเน้นย้ำถึงกระบวนการประชาธิปไตยเหมือนกับชาติอื่นๆ แต่พล.อ.ประยุทธ์ก็ได้ย้ำถึงความเป็นสมาชิกอาเซียนทั้งสิบประเทศ ซึ่งทำให้ถูกตีความได้ถึงทัศนะที่มีต่อการตัดสินใจของอาเซียน ที่เลือกไม่เชิญผู้แทนฝ่ายการเมืองของเมียนมาเข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้ในครบทุกชาติสมาชิกหรือไม่

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า