Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กลุ่มสิทธิฯ เผยกองทัพเมียนมาวางกับระเบิดปูพรมรอบโบสถ์-หน้าบ้าน-หน้าห้องน้ำ โจมตีชาวบ้านใกล้ชายแดนไทย ชี้เป็นอาชญากรรมสงคราม และไม่มีประเทศไหนในโลกทำในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล หน่วยงานสิทธิมนุษยชน เผยแพร่รายงานล่าสุดในวันนี้ (20 ก.ค.) ระบุถึงพฤติกรรมของกองทัพเมียนมา ที่อาจมีความผิดฐานก่ออาชญากรรมสงคราม จากการลอบวางกับระเบิดโจมตีฝ่ายต่อต้านแบบปูพรม ใกล้กับชายแดนไทย

รายงานฉบับนี้นักวิจัยของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ลงพื้นที่รัฐกะยา ใกล้กับชายแดนไทย ซึ่งเป็นพื้นที่ปะทะระหว่างกองทัพเมียนมากับฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหารอย่างหนักในช่วงที่ผ่านมา เพื่อเก็บข้อมูลและสัมภาษณ์ชาวบ้าน 43 คน ซึ่งเป็นทั้งผู้เห็นเหตุการณ์และผู้รอดชีวิตจากการเหยียบกับระเบิด

ชาวบ้านคนหนึ่งเปิดเผยว่า เธอเหยียบกับระเบิดขณะเดินไปเข้าห้องน้ำ ทำให้ขาขาดทันที เช่นเดียวกับโบสถ์คริสต์แห่งหนึ่งในพื้นที่ ที่มีรายงานถูกวางกับระเบิด 8 จุดรอบตัวโบสถ์ ซึ่งในเวลาต่อมากองทัพเมียนมาได้ก่อเหตุเผาโบสถ์ดังกล่าวด้วย

รายงานของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลชี้ว่า การกระทำของกองทัพเมียนมาสะท้อนให้เห็นว่า มีการวางแผนวางกับระเบิดในพื้นที่ปะทะอย่างเป็นระบบ รวมทั้งวางกับระเบิดในสนามหน้าบ้านของประชาชน บริเวณทางเข้าประตูบ้านและหน้าประตูห้องน้ำ ไปจนถึงนาข้าวของชาวบ้าน

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลยังชี้ว่า ระเบิดที่กองทัพเมียนมาใช้เป็นชนิดที่ถูกห้ามตามข้อตกลงระหว่างประเทศ และสถานการณ์ล่าสุดยังทำให้กองทัพเมียนมาเป็นประเทศเดียวในโลกที่มีการยืนยันใช้กับระเบิดแบบนี้ในช่วงปี 2020-2021

รอว์ญา ราเจห์ ที่ปรึกษาด้านวิกฤติอาวุโส แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ชี้ว่า การใช้กับระเบิดของกองทัพเมียนมาจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อประชาชนต่อเนื่องไปอีกหลายปี โดยจากประสบการณ์ที่เจ็บปวดทำให้เห็นได้ว่า การก่อเหตุแบบนี้จะทำให้มีชาวบ้านเสียชีวิตและบาดเจ็บมากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต ก่อนจะเรียกร้องให้กองทัพเมียนมายุติการใช้กับระเบิด หาทางเก็บกู้และให้ความช่วยเหลือกับผู้ที่ได้รับผลกระทบ

กองทัพเมียนมานำโดยพล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ก่อรัฐประหาร โค่นรัฐบาลนางอองซาน ซูจี เมื่อวันที่ 1 ก.พ. ปีที่แล้ว เป็นสาเหตุที่ทำให้สถานการณ์ในเมียนมารุนแรงจนถึงปัจจุบัน จากความพยายามกวาดล้างฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหารเมียนมา จนมีผู้เสียชีวิตจากการต้านรัฐประหารแล้วกว่า 2,000 คน ถูกจับกุมเกือบ 15,000 คน

ก่อนหน้านี้กองทัพเมียนมาเคยถูกตั้งข้อหาเกี่ยวกับอาชญากรรมสงคราม ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติมาแล้ว จากเหตุความรุนแรงต่อชาวมุสลิมโรฮิงญา ทั้งการข่มขืน ฆาตกรรมและเผาบ้านเรือน จนทำให้นับตั้งแต่ปี 2017 เป็นต้นมา น่าจะมีชาวโรฮิงญาหนีภัยกว่า 750,000 คน

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า