Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เปิดวิธีเยียวยาจิตใจเด็ก-ผู้ใหญ่ หลังผ่านเหตุกราดยิง หรือเหตุการณ์ความรุนแรง ศ.นพ.สุริยเดว กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น ชี้ไม่ควรถามซ้ำถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทั้งกับเด็กและผู้ใหญ่

รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น – ผอ.ศูนย์คุณธรรม เปิดเผยถึงการเยียวยาสภาพจิตใจเด็กและครอบครัวของผู้เสียชีวิต โดยระบุว่า การเยียวยาสภาพจิตใจเด็กหลังเกิดเหตุให้เด็กไปอยู่ในเซฟตี้โซน อยู่ในพื้นที่ที่ปลอดภัยและมีใครสักคนที่เขารู้สึกว่ามีความอบอุ่น มีความไว้วางใจ สร้างความรักความอบอุ่น ซึ่งถ้าเป็นเด็กก็ไปอยู่ในอ้อมอกของพ่อแม่ ที่เขามีความรู้สึกปลอดภัย เขาจะรู้สึกได้ถึงความรักความอบอุ่น ให้เล่นกิจกรรมบำบัดให้เพลิดเพลินเพื่อให้เขามีความรู้สึกผ่อนคลายความตึงเครียดลง 

ไม่ควรไปถามซ้ำถึงเหตุการณ์ ถ้าเขาจะต้องการระบายอารมณ์บางเรื่องโดยที่เราไม่ได้ถาม แต่ถ้าเขาต้องการเล่าอะไร เราก็ทำหน้าที่เป็นผู้ฟังที่ดี ให้กำลังใจและให้พลังใจเพื่อจะให้บาดแผลใจค่อยๆ ถูกเยียวยา

กรณีเด็กที่โตแล้วอาจให้เขาสะท้อนความรู้สึกออกมาและว่าจะทำอย่างไรและให้เขามีความสบายใจขึ้น เช่นบางคนอาจถือโอกาสนี้ไปทำบุญแล้วอุทิศส่วนกุศลต่างๆ ตามหลักศาสนาของแต่ละคน

รศ.นพ.สุริยเดว กล่าวต่อว่า ส่วนการเยียวยาสภาพจิตใจผู้ใหญ่ก็ต้องอยู่ในพื้นที่ที่ปลอดภัยและได้รับความรักความอบอุ่นแต่ของผู้ใหญ่มีประเด็นเพิ่มคือเรื่องของการดูแลสภาวะจิตใจและการสูญเสียที่อาจจำเป็นต้องมีนักจิตวิทยาเข้าไปเกี่ยว ก็อาจจะต้องมีพื้นที่ที่ให้เขาสามารถระบายความรู้สึกอัดอั้นตันใจ ความรู้สึกทุกข์ใจร้อนใจ ควรจะได้รับการเยียวยาทันที และการถามเหตุการณ์ซ้ำๆ ไม่ควรกระทำยกเว้นแต่มีกรณีจำเป็นจริงๆ เท่านั้น

การเยียวยาจิตใจ ผู้ใหญ่ ความเสี่ยงสูงสุดมีตัวเลข 136 ซึ่งความเสี่ยงสูงที่สุดอยู่ที่ 1 เดือนแรกก็หมายความว่าถ้าเกิดมีบาดแผลใจที่ลึก อยู่สภาวะอาการทางด้านสุขภาพวะทางจิตและในช่วงเดือนแรกจะอ่อนไหวและเปราะบางมาก นอนไม่หลับ ฝันร้าย กินข้าวไม่ได้ มีความรู้สึกท้อแท้ บางคนอาจจะอยู่ในสภาวะซึมเศร้า มันมีความเสี่ยงเกิดขึ้นได้ในช่วงเดือนแรก แต่ถ้าประคับประคองจิตใจในช่วงนี้ดีๆ ดูแลติดตามต่อเนื่องกันไปโดยส่วนใหญ่ไม่เกิน 3 เดือนจะค่อยๆ กลับสู่สภาวะที่ดีขึ้น เริ่มวางใจได้ เริ่มมีความรู้สึกที่จะดำเนินชีวิตได้

แต่ถ้าในระยะเวลาหกเดือนแล้วยังไม่หาย ก็มีโอกาสที่จะเป็นซึมเศร้าและกลายเป็นภาวะ Post-Traumatic Stress Disorder ความผิดปกติทางจิตใจภายหลังประสบเหตุการณ์ร้ายแรง ได้ 

ทั้งนี้ รศ.นพ.สุริยเดว ยังระบุอีกว่า ไม่ควรมีการสัมภาษณ์ผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ของเรื่องของความรู้สึก และมองว่าควรจะมีศูนย์การบริหารจัดการข่าว และมีศูนย์บริหารและความช่วยเหลือเกิดขึ้นเป็นเซ็นเตอร์กลางเพื่อเยียวยาสภาพจิตใจ

ขณะเดียวกันด้านกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข มีคำแนะนำสำหรับผู้ใหญ่ที่ดูแลเด็กและวัยรุ่นที่มีความเสี่ยงภาวะเครียดหลังเหตุรุนแรง “สำหรับเด็กเล็ก”

โดยระบุข้อควรรู้ว่า เด็กไม่สามารถสื่อสารอารมณ์ความเครียด ไม่สามารถเข้าใจได้เท่าผู้ใหญ่ และเด็กซึมซับพฤติกรรมเลียนแบบเร็วกว่าผู้ใหญ่หลายเท่า

ขณะที่สัญญาณเตือนความเสี่ยงภาวะเครียดหลังเหตุรุนแรง คือ เด็กจะงอแงง่าย เรียกร้องความสนใจมากกว่าปกติ แยกตัว ไม่อยากไปเรียน นอนไม่หลับ หลับไม่ดีหรือฝันร้าย และยังมีการหวาดผวา กลัวการแยกจากผู้ปกครอง

สิ่งที่ไม่ควรทำคือ ไม่ถามเด็กให้เล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น งดนำเด็กมาออกข่าว ไม่นำเด็กมาเป็นเครื่องมือการสร้างภาพ กระแสดราม่า โดยควรคำนึงถึงความปลอดภัยทั้งร่างกายและจิตใจของเด็กเป็นอันดับหนึ่ง รีบให้เด็กกลับเข้าสู่การใช้ชีวิตปกติ ซึ่งผู้ใหญ่ควรจัดการอารมณ์ตนเองเป็นต้นแบบ 

นอกจากนี้เด็กควรมีผู้ใหญ่ผู้ปกครองดูแลใกล้ชิด เป็นที่พึ่งทางจิตใจ โดยเฉพาะในครอบครัวที่มีการสูญเสีย รวมถึงการพาเด็กไปทำกิจกรรมผ่อนคลาย เช่น ปั้นดิน เล่นทราย ศิลปะ ร้องเพลง เป็นต้น 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า