Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

พรรคเอ็นแอลดีของนางอองซาน ซูจี ครองเสียงส่วนใหญ่ในสภาจนสามารถเป็นรัฐบาลเมียนมาสมัยที่สองได้แล้ว โดยอาจชวนพรรคการเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เข้าไปร่วมรัฐบาลเพื่อสร้างความปรองดองด้วย

ผลการเลือกตั้งล่าสุดของเมียนมา พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ของนางอองซาน ซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐของเมียนมา อดีตนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย สามารถครองเสียงส่วนใหญ่ในสภา เพียงพอต่อการจัดตั้งรัฐบาลได้แล้ว

แม้การนับคะแนนจะยังไม่เสร็จสิ้น แต่ผลการเลือกตั้งในวันนี้ (13 พ.ย.) ชี้ว่า พรรคเอ็นแอลดีได้ที่นั่งในสภาแล้ว 346 เสียง จากที่นับแล้ว 412 เสียง มากกว่าจำนวนที่ต้องได้อย่างน้อย 322 เสียง โดยยังมีอีก 64 เสียงที่ยังไม่ประกาศผล อย่างไรก็ตามมีรัฐบาลจากหลายประเทศ เช่นอินเดีย ญี่ปุ่นและสิงคโปร์ที่ส่งสารแสดงความยินดีกับพรรคเอ็นแอลดีไปล่วงหน้าแล้ว

โฆษกพรรคเอ็นแอลดีระบุว่า ชัยชนะในการเลือกตั้งล่าสุดสะท้อนให้เห็นว่า ประชาชนสนับสนุนพรรคเอ็นแอลดี แต่ทางพรรคเอ็นแอลดีกำลังพิจารณาว่า จะไปพูดคุยกับพรรคการเมืองกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เพื่อเสนอให้มาร่วมรัฐบาลเพื่อความปรองดองแห่งชาติ

ขณะที่พรรคฝ่ายค้านหลักอย่างพรรคสหสามัคคีและการพัฒนา (USDP) ซึ่งเป็นที่รับรู้กันว่า มีกองทัพเมียนมาให้การสนับสนุน ได้รับที่นั่งในสภาไปแค่ 24 เสียงเท่านั้น ซึ่งแนวโน้มจะไม่ได้รับความนิยมในการเลือกตั้งครั้งนี้ ทำให้เมื่อวันพุธ (11 พ.ย.) ผู้แทนพรรคยูเอสดีพีแถลงข่าว ไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง โดยอ้างว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งจัดการเลือกตั้งไม่เหมาะสม พร้อมเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยเสนอให้กองทัพเมียนมาเข้าไปมีส่วนช่วยจัดการเลือกตั้งด้วย

นอกจากข้อกล่าวหาของพรรคฝ่ายค้านแล้ว การเลือกตั้งเมียนมาในครั้งนี้ยังถูกนานาชาติจับตาถึงสิทธิของพลเมืองที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ เนื่องจากในช่วงก่อนการเลือกตั้ง คณะกรรมการเลือกตั้งประกาศระงับการจัดเลือกตั้งในหลายคูหา โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการปะทะกันระหว่างรัฐบาลกับกองกำลังของกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่รัฐฉานและรัฐกะฉิ่น จนมีการประเมินว่า น่าจะมีผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งได้รับผลกระทบเกือบ 2 ล้านคน

ความท้าทายของว่าที่รัฐบาลเอ็นแอลดีสมัยที่สองหลังชนะการเลือกตั้งครั้งนี้ หลายฝ่ายยังจับตาถึงทิศทางการบริหารประเทศที่ยังไม่เป็นที่น่าพอใจเท่าไหร่ในสมัยแรก ขณะเดียวกันรัฐบาลของนางซูจียังถูกวิจารณ์ด้วยว่า เข้าข้างกองทัพมากเกินไป เห็นได้ชัดจากการปกป้องกองทัพเมียนมาที่ถูกกล่าวหาว่า อาจมีส่วนใช้ความรุนแรงถึงขั้นล้างเผ่าพันธุ์ชาวมุสลิมโรฮิงญาในรัฐยะไข่ ทางตะวันตกของประเทศ ซึ่งรัฐธรรมนูญเมียนมาฉบับปัจจุบันยังเปิดทางให้กองทัพเข้าไปมีที่นั่งในสภาได้ 25% และคุมกระทรวงความมั่นคงสำคัญ ได้แก่กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงกิจการชายแดน

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า