Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

New York Times ได้เผยแพร่บทวิเคราะห์ความนิยมของซีรีส์ ‘Squid Game’ ผ่านมุมมองคนจริงๆ ที่กำลังพยายามต่อสู้ท่ามกลางการแข่งขันที่สูงลิ่ว เพียงเพื่อต้องการคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิม 

  1. ชนชั้นกลางต้องดิ้นรนเอาชีวิตรอดในสังคมทุนนิยม

ไม่เพียงแค่ในบ้านเกิดอย่างเกาหลีใต้ ‘Squid Game’ กำลังได้รับความนิยมถล่มทลายทั่วโลก เตรียมขึ้นแท่นเป็นซีรีส์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดตลอดกาลของ Netflix เบื้องหลังความนิยมของเรื่องราวการเอาตัวรอดในเกมแห่งความตายที่ถูกมองเป็นความหวังต่อลมหายใจ ซึ่งกลายมาเป็นภาพสะท้อนของโลกทุนนิยมทุกวันนี้

อย่างที่ คู ยอง-ฮยุน อดีตพนักงานบริษัทเอกชนในโซลวัย 35 ปี ที่ต้องตกงานหลังบริษัทได้รับผลกระทบจากโควิด-19  ได้ถ่ายทอดความรู้สึกกับ New York Times ว่า เขาจมดิ่งไปกับเรื่องราวในซีรีส์จนถึงกับต้องอดตาหลับขับตานอนใช้เวลาดูจนจบในคืนเดียว เพราะเข้าใจความรู้สึกตัวละครที่ต้องต่อสู้เพื่อเอาชีวิตรอดในสังคมที่ไม่เทียมกันอย่างสุดโต่งในประเทศแห่งนี้ 

“แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะใช้ชีวิตสบายๆ ด้วยเงินเดือนของพนักงานประจำ” ในเมืองที่มีราคาบ้านเตลิดไปไกลแบบนี้ ซึ่งเขาเองก็เป็นเหมือนกับหนุ่มสาวคนอื่นๆ ในเกาหลีใต้และหลายๆ ประเทศที่สัมผัสได้ถึงการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นเพื่อไขว่คว้าผลประโยชน์ เช่นเดียวกับผู้เข้าแข่งขันในซีรีส์ ‘Squid Game’ 

2. ช่องว่างระหว่างคนรวย-คนจน กำลังห่างไปเรื่อยๆ

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ภาพยนตร์หรือซีรีส์เกาหลีใต้หยิบยกเอาสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมมาสะท้อน โดย New York Times ได้พูดถึงเรื่องนี้ในบทวิเคราะห์ว่า หากจะพูดกันจริงๆ ‘Squid Game’ เหมือนเป็นแค่การส่งออกวัฒนธรรมครั้งล่าสุดของเกาหลีใต้ที่เอาชนะใจคนทั่วโลกมาได้จากการเจาะลึกความรู้สึกที่ไม่เท่าเทียมกันของคนในประเทศ แม้เกาหลีใต้เฟื่องฟูขึ้นมาในยุคหลังสงคราม กลายมาเป็นหนึ่งในประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในทวีปเอเชีย จนนักเศรษฐศาสตร์ถึงกับกล่าวว่าเป็น ‘ปาฏิหารย์แห่งแม่น้ำฮัน’ แต่การเจริญรุ่งเรืองเช่นนั้นกลับนำมาซึ่งความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยและคนจนที่กำลังห่างออกไปทุกที 

เรื่องราวเหล่านี้เคยถูกนำมาเสียดสีหลายต่อหลายครั้งผ่านสื่อบันเทิง ก่อนหน้านี้ ‘Parasite’ เจ้าของรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากเวทีออสการ์เมื่อปีที่แล้ว ก็ได้สะท้อนภาพความเหลื่อมล้ำของครอบครัวของชนชั้นกลางที่สิ้นหวังกับชนชั้นมั่งคั่งในกรุงโซล หรือแม้แต่ ‘Burning’ หนังฮิตเมื่อปี 2018 ที่กระแทกสังคมด้วยเรื่องราวของเด็กส่งของคนหนึ่งซึ่งต้องพยายามทุกวิถีทางเอาชนะคู่แข่งที่มีฐานะดีกว่าเพื่อหญิงที่เขารัก

3. ความเจริญเป็นแค่เปลือกนอก แต่ประชาชนยังลำบาก

ปัจจุบัน เกาหลีใต้อยู่ในอันดับ 11 จากการชี้วัดด้วยดัชนีจีนี (Gini) ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในกลุ่มประเทศสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (สหรัฐฯ อยู่ในอันดับที่ 6) 

แต่ในขณะที่ครอบครัวชาวเกาหลีใต้ยังต้องพยายามดำรงชีวิตต่อไป หนี้ครัวเรือนก็กำลังเพิ่มขึ้นทุกขณะ จนนักเศรษฐศาสตร์บางคนถึงกับออกมาเตือนว่า หนี้ดังกล่าวอาจเป็นตัวฉุดรั้งเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันราคาบ้านก็กำลังพุ่งขึ้นจนถึงจุดที่ราคาที่อยู่อาศัยกลายเป็นประเด็นทางการเมืองที่ร้อนแรง โดยราคาบ้านในกรุงโซลพุ่งขึ้นกว่า 50% ในช่วงที่ประธานาธิบดีมุน แจ อิน ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของประเทศ และได้กลายมาเป็นประเด็นใหญ่ทางการเมือง 

4. สังคมที่เต็มไปด้วยแรงกดดันให้ต่อสู้เพื่อตนเอง

Squid Game’ ได้เสียดสีเรื่องราวเหล่านี้ในสังคมเกาหลีใต้ทั้งแรงกดดันเพื่อไขว่คว้าความสำเร็จและความยากลำบากในการทำเช่นนั้น อย่างที่ ชิน เย-อึน ซึ่งเรียนจบจากวิทยาลัยมาตั้งแต่เดือน ม.ค. 2020 ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่จะเกิดโควิด-19 ระบาด กล่าวว่า ตอนนี้เธอมีอายุ 27 ปีแล้ว และต้องใช้เเวลากว่าปีถึงจะได้งานที่มั่นคง กล่าวว่า “มันยากมากๆ สำหรับคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในศตวรรษที่ 20 ในการหางานประจำทุกวันนี้” 

สถานการณ์เหล่านี้ยังทำให้เกาหลีใต้ต้องเผชิญกับปัญหาอัตราการเกิดลดต่ำลงมาก โดยส่วนหนึ่งเป็นเพราะคนหนุ่มสาวรู้สึกว่า การเลี้ยงลูกต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงมาก “ในเกาหลีใต้ ผู้ปกครองทุกคนต้องการส่งลูกไปโรงเรียนที่ดีที่สุด ซึ่งจะทำแบบนั้นได้ คุณต้องอาศัยอยู่ในย่านที่อยู่อาศัยที่ดีที่สุดด้วย” นั่นเท่ากับว่าคุณจะต้องประหยัดเงินที่สุดเพื่อให้เพียงพอต่อการซื้อบ้าน นี่เป็นเป้าหมายที่ดูเหมือนจะเกินจริงอยู่ “ซึ่งฉันไม่เคยแม้แต่คิดคำนวณว่าจะต้องใช้เวลานานเท่าไหร่จึงจะทำได้”  ชิน เย-อึน พูดถึงสถานการณ์ที่เธอและเพื่อนร่วมประเทศกำลังเผชิญ 

5. ความเหลื่อมล้ำบีบบังคับให้คนต้องหาทางรวยทางลัด

ตัวละครแต่ละตัวที่ปรากฏใน ‘Squid Game’ ต่างก็สะท้อนปัญหาของคนหนุ่มสาวในเกาหลีใต้ที่มองไม่เห็นโอกาสสร้างก้าวหน้าทางสังคม หรือที่ถูกเรียกในประเทศว่าเป็นพวกช้อนดิน (Dirt spoons) ซึ่งกำลังหมกมุ่นอยู่กับการสร้างความมั่งคั่งให้กับตัวเองอย่างรวดเร็ว อย่างการหันไปเทรดเงินดิจิทัล หรือการเสี่ยงโชคด้วยลอตเตอรี ทำให้ทุกวันนี้เกาหลีใต้กลายมาเป็นตลาดซื้อสกุลเงินดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ดังคำกล่าวของ คู ยอง-ฮยุน คู ซึ่งได้อธิบายถึงเรื่องนี้ว่า เงินรางวัลในซีรีส์ก็เหมือนกับการเทรดเงินดิจิทัล “ผู้คนกำลังมองหาโอกาสที่จะทำให้ชีวิตของพวกเขาเปลี่ยนในเวลาไม่กี่นาที เพราะความยากลำบากในการหาเงิน ทำให้ชาวเกาหลีใต้หมกมุ่นอยู่กับวิธีการรวยทางลัด” คูกล่าว พร้อมกับเสริมว่า “ผมเคยคิดเล่นๆ ว่า ถ้ามี ‘Squid Game’ เกิดขึ้นในชีวิตจริง จะมีคนมาเล่นเกมกี่คนกันนะ” 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า