Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

แถวของคุณพี่ คุณน้อง แม่ป้า ทั้งหญิงชายและกลุ่มเพศหลากหลายแต่งตัวสวยงามเรียงรายในห้องประชุมชั้น 7 สถาบันวิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทยริมถนนราชดำริ หรือที่หลายคนรู้จักกันดีในนามคลีนิกนิรนามที่เป็นสถานที่ให้คำปรึกษาและตรวจหาเชื้อ HIV ได้โดยไม่ต้องแสดงอัตลักษณ์ของตัว

วันนี้ (21 พฤศจิกายน 2562) สถานที่แห่งนี้คึกคักกว่าปกติ เพราะมีการเสวนา “Communities Make the Difference” เพื่อยุติการตีตราและเลือกปฏิบัติในการให้บริการด้านเอชไอวีต่อชุมชนหญิงข้ามเพศ โดยมีแขกพิเศษอย่าง “เปีย อะลอนโซ วุลซ์บัค” เจ้าของตำแหน่งมิสยูนิเวิร์ส 2015 ที่ดำรงตำแหน่งทูตสันถวไมตรีของโครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

หลังเธอขึ้นพูดในการเสวนากลุ่มร่วมกับ โม-จิรัชยา ศิริมงคลนาวิน มิสอินเตอร์เนชันแนลควีน 2016 ซารีนา ไทย มูลนิธิเครือข่ายกระเทยเพื่อสิทธิมนุษยชน หมอเอ้ก-คณวัฒน์ จันทรลาวัณย์ ทีมข่าวเวิร์คพอยท์ได้โอกาสสัมภาษณ์เธอในประเด็นผู้ติดเชื้อ HIV กัน

สำหรับคุณเปีย HIV คืออะไร?

“HIV สำหรับฉันแล้ว รู้สึกว่ามีคนมากมายที่ยังไม่รู้ข้อมูล เหมือนยังมีความเข้าใจที่ไม่ถูก ว่าภาวะนี้จะเกิดกับแค่เกย์ หรือชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายด้วยกัน คิดว่ามีแต่พวกเขาที่ติดได้ แต่นั่นไม่จริงนะ มันเกิดกับใครก็ได้ทั้งนั้นแหละ เกิดขึ้นกับฉันหรือคุณ อายุเท่าไหร่ก็ได้ ในช่วงไหนของชีวิตก็ได้ เกิดขึ้นได้กับทุกคน ฉันคิดว่านี่คือสิ่งที่ทุกคนควรจะรู้ไว้ อีกอย่างหนึ่งคือ HIV ไม่ได้หมายความว่าจะตายเสมอไป  ถ้าพบว่าตัวเองมีเชื้อ HIV หรือคนอื่นใกล้ตัวคุณมี HIV ไม่ได้หมายความว่าคุณควรจะหลีกเลี่ยงไม่พบเขา หรือหลบเลี่ยงไม่มีปฏิสัมพันธ์ด้วย นั่นไม่จริงเลย จริง ๆ แล้วคุณสามารถได้รับการรักษาและมีอาการดีขึ้นได้ และใช้ชีวิตอย่างแข็งแรงเป็นปกติ ราวกับว่าไม่ได้มีเชื้อเลย

ตั้งแต่คุณเปียมาทำงานเป็นทูตสันถวไมตรีให้โครงการ UNAids คุณมองเรื่อง HIV ต่างจากเดิมไปยังไงบ้าง

“ฉันรู้ว่าจริง ๆ แล้วติด HIV นี่ไม่ได้แย่เลยนะ เพราะตอนนี้ก็มียามากมายแล้วที่จะมาช่วยคุณได้ คุณสามารถกินยาที่จะช่วยป้องกันไม่ให้คุณได้รับเชื้อ  คือฉันชอบอธิบายว่ามันเหมือนยาคุมกำเนิดน่ะ แต่มันสำหรับเชื้อ HIV โดยเฉพาะ คุณจะกินทุกวันก็ได้ แล้วคุณก็จะเหมือนมีโล่ป้องกันเชื้อไว้ ถึงมีเซ็กส์โดยไม่ได้ป้องกันก็ตาม นั่นก็เป็นอีกอย่างที่ฉันเพิ่งรู้มา หรือถ้าคุณไม่มีเงินพอ ยาพวกนี้มีแจกฟรีด้วย ฉันก็เพิ่งรู้มาเหมือนกัน แล้วอีกอย่าง มันเป็นไปได้ด้วยนะที่จะลดระดับเชื้อ HIV ในตัวคุณ จนถึงจุดที่เกือบจะตรวจจับไม่เจอ แล้วคุณก็ใช้ชีวิตปกติทั่วไปเหมือนทุก ๆ คนเลย ตราบใดที่คุณรับการรักษาอย่างต่อเนื่องและถูกต้อง

มันไม่มีอีกแล้วที่พอคุณติด HIV แล้วจบกับชีวิต ต้องนับถอยหลัง ทำอะไรไม่ได้แล้ว ยุคนี้เรื่องพวกนี้ไม่มีอีกแล้ว เอาเรื่องพวกนี้มาเป็นข้ออ้างไม่ได้แล้ว เพราะยาก็มี เทคโนโลยีก็มี คนแวดล้อมก็มี มีคนพร้อมจะช่วย ขึ้นอยู่กับคุณแล้วแหละที่ต้องยื่นมือออกมาให้ได้รับการรักษา”

คุณดำรงตำแหน่งนี้มา 2 ปีแล้วต้องพูดกับผู้มีเชื้อ HIV มาแล้วหลายคนแน่ๆ มีเรื่องไหนที่คุณประทับใจมาก ๆ แล้วอยากเล่าให้เราฟังไหม?

“ฉันได้ยินเรื่องแย่ ๆ มาบ้างนะ จริง ๆ มันก็เรื่องเศร้าแหละ แล้วก็มีเรื่องที่สร้างแรงบันดาลใจด้วย เรื่องล่าสุดที่ฉันได้ยินมาคือตอนที่ฉัถ่ายโฆษณาครั้งนึงในฟิลิปปินส์ แล้วก็เซอร์ไพรส์ที่รู้ว่าผู้กำกับคนหนึ่งที่ทำงานด้วย ผู้กำกับฝ่ายศิลป์น่ะค่ะ เขามีเชื้อ HIV แล้วเขาก็บอกฉัน เขาอยู่กับมันมาซักพักแล้ว แล้วเขาก็รักษา แล้วชีวิตเขาก็ปกติดีเลยนะ แต่โชคไม่ดี เขาบอกว่าเพื่อนเขาตายไปแล้ว แล้วก็เห็นเป็นความแตกต่างเลยนะว่าเกิดอะไรขึ้นกับชีวิตถ้าคุณรักษา กับไม่รักษา”

เกิดอะไรขึ้นกับเพื่อนเขาหรือคะ?

“โชคไม่ดีที่เพื่อนเขา พอป่วยแล้วก็ตัดสินใจจะอยู่กับมันเงียบ ๆ  ไม่ขอความช่วยเหลือ เพราะเขาไม่อยากจะอยู่กับความอาย ความอัปยศ หรือความกลัวว่าจะโดนปฏิเสธจากครอบครัวและเพื่อน ๆ หรือชุมชนของเขาเอง เขาลบโซเชียลมีเดียตัวเองด้วย เขาหายไปเลยจากเฟซบุ๊ก เขาไม่อยากมีปฏิสัมพันธ์กับสังคมแล้ว เขายอมแพ้ตั้งแต่ที่รู้ว่าได้เชื้อ นี่เป็นเรื่องเศร้ามาก เพราะว่าฉันรู้ข้อเท็จจริงที่ว่ามันมียามากมาย มีความช่วยเหลือพร้อมสรรพ แต่พวกเขาก็ยังเลือกที่จะเก็บงำมันไว้และอยู่แต่กับตัวเอง แล้วในทางกลับกัน เพื่อน ๆ และครอบครัวของพวกเขาก็ทรมาณ เพราะตอนนี้พวกเขาก็เสียคุณไป นั่นคือเรื่องเศร้าที่ฉันได้ยิน  แต่คนนี้ ผู้กำกับศิลป์ของฉัน เขาเลือกที่จะรักษาตัวเองทันทีตั้งแต่ที่รู้ ตอนนี้เขาคือ ฉันไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเขามี HIV เขาเล่นเทนนิสตลอดเวลา เขาทำให้เรารู้ว่าเขาแข็งแรงมาก นี่คือข้อแตกต่างว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้างถ้ารักษาหรือไม่รักษา นี่ก็เลยสำคัญมาก ถ้าคุณมีเซ็กส์โดยที่ไม่ป้องกัน แล้วคุณก็รู้สึกป่วยนิดนึง รีบรักษาเถอะค่ะ จริง ๆ ไม่ต้องรอให้ป่วยก็ได้ หาหมอเลย ถ้าเจอว่ามีเชื้อ HIV ก็ดูแลตัวเองเพราะมันต่างมากเลยจริง ๆ นะว่าจะอยู่หรือจะตาย”

คำถามสุดท้ายค่ะ หัวข้องานเสวนาวันนี้คือ “Communities Make the Difference”  เราทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนที่มีเชื้อ HIV ถ้าเรามีคนใกล้ตัวเข้ามาบอกว่าเขาติดเชื้อ HIV เราจะทำอะไรได้บ้าง?

“ถ้าคุณมีเพื่อน หรือคนใกล้ชิด แล้วเขาบอกคุณว่าฉันมีเชื้อ HIV นะ ฉันว่าคุณต้องเข้าอกเข้าใจเขาเขาแล้วสวมบทผู้แก้ปัญหาทันที ถามคำถามที่ควรจะถาม เช่น รู้สึกยังไงบ้าง โอเคไหม ได้พูดกับคนที่ทำงานด้านสุขภาพบ้างหรือยัง หาหมอหรือยัง รักษาถูกต้องไหม คุณต้องให้ตัวเองมั่นใจว่าคนคนนี้เขาเลือกที่จะบอกคุณนะ เชื่อใจคุณพอที่จะบอกเรื่องเปราะบางแบบนี้ คุณสามารถใช้สิ่งนี้ในการช่วยชีวิตพวกเขาได้ แค่ให้กำลังใจพวกเขาจนเขากล้าที่จะเข้ารับการรักษาที่ควรจะได้รับ แล้วถ้าใครมาบอกคุณว่าเขามีเชื้อ HIV นี่เป็นเรื่องส่วนตัวมาก  คุณควรจะภูมิใจที่ได้รับความเชื่อใจขนาดนี้ คนคนนี้เขาเชื่อมั่นในตัวคุณที่จะบอกแบบนี้ คราวนี้ลองถามตัวเองว่าควรทำอะไร เธอเชื่อใจเราขนาดนี้ เราอยากจะช่วยเธอ แล้วก็รักษาชีวิตของเธอไว้ คุณควรจะทำแบบนี้แหละ ให้กำลังใจเขาให้เขาเข้ารักษาอย่างถูกต้อง ชี้ทางที่ควรจะเป็นให้เขา แล้วก็ประคองให้เขาไปได้อย่างตลอดรอดฝั่ง มันอาจจะสับสนมาก ๆ มีความหวาดกลัว ระแวงไปหมด ต้องมีซีนอารมณ์มาก ๆ แน่นอน แต่คนคนนี้เขาก็เชื่อใจคุณมาก ๆ แล้วแหละ ดังนั้นมันก็ควรเป็นความรับผิดชอบของเรา ที่จะรักเขากลับ”

 

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า