Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

‘สิริพรรณ – สุขุม’ ชี้หาร 100 ‘เพื่อไทย – พปชร.’ ได้เปรียบ จับตาพรรคเล็กย้ายฝุ่นตลบ

การประชุมร่วมรัฐสภา พิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า กฎหมายลูกเลือกตั้ง ส.ส. ในวันสุดท้ายเส้นตาย 180 วัน ที่ร่างกฎหมายฉบับนี้เข้าสู่กระบวนการทางนิติบัญญัติในวันนี้ (15 ส.ค. 65) ปรากฏเป็นไปตามคาด สภาล่ม ด้วยการใช้กลไกทางสภาทำองค์ประชุมไม่ครบ ส่งผลให้ร่างกฎหมายฉบับนี้ที่มีวิธีคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ สูตร 500 ตกไป ต้องหวนกลับไปใช้ร่างที่เสนอโดนคณะรัฐมนตรี (ครม.) คิดด้วยสูตรหาร 100

เมื่อเป็นเช่นนี้ การเลือกตั้งทั่วไปที่หลายฝ่ายคาดกันว่าจะเกิดขึ้นในปีหน้า สูตรหาร 100 จะทำให้พรรคใหญ่ได้เปรียบพรรคเล็กจนกลายเป็นอวสานจริงหรือไม่ workpointTODAY LIVE สัมภาษณ์ รศ.ดร.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ รศ.สุขุม นวลสกุล อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง และอดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มาไขข้อข้องใจ

โดยสรุป อาจารย์ สิริพรรณ บอกว่า จะบอกว่าสูตรหาร 100 เป็นอวสาน ปัดเศษ ของการหาส.ส.บัญชีรายชื่อ ก็ไม่เชิง เพราะในที่สุดการปัดเศษจะยังมีอยู่ เพราะตราบใดก็ตามที่ไม่ได้ตั้งเกณฑ์ขั้นต่ำไว้ เช่น พรรคที่ได้คะแนนไม่ถึง 1% จะถูกตัดทิ้ง อันนี้จะไม่มีการปัดเศษ แต่บัตร 2 ใบ หาร 100 ไม่มีเกณฑ์ขั้นต่ำ จะยังมีพรรคที่พอจัดสรรรอบแรกแล้วจะเหลือที่นั่งไม่ครบ 100 ก็จะมาดูว่าพรรคไหนได้เศษสูงสุด ทุกอย่างจะกลับไปคล้ายการเลือกตั้งปี 54 ยกเว้นจำนวน ส.ส. เขตตอนนั้นมี 375 คน แต่ตอนนี้ ส.ส.เขตเพิ่มเป็น 400 คน นอกนั้นวิธีคำนวณคล้ายกันหมด ตอนนั้นมี ส.ส. 4-5 พรรคการเมืองที่ได้คะแนนไม่ถึง 1% พรรคเหล่านี้ถ้ามองกับปัจจุบัน คือพรรคที่ได้รับการปัดเศษ เช่น พรรคประชาธิปไตยใหม่, พรรคมหาชน ที่ได้ประมาณ 100,000 คะแนน ทั้งๆ ที่มาตรฐานที่จะได้ 1 ที่นั่งคือต้องประมาณ 350,000 คะแนน และครั้งนี้ที่ต่างจากการเลือกตั้งปี 62 คือพรรคที่จะได้รับการปัดเศษจะไม่มากที่มากันเป็นพรวน 14 พรรค ซึ่งเรื่องพวกนี้ไม่ใช่เรื่องผิดบาป

ส่วนที่นอกสภามีการเปิดตัวตั้งพรรคการเมืองใหม่มากขึ้น อาจารย์สิริพรรณ บอกว่า การเลือกตั้งหน้าจะได้ที่นั่ง 1 น่าจะต้องมากกว่า 200,000-300,000 คะแนน ดังนั้น พรรคจิ๋ว ที่ได้คะแนนไม่ถึงแสนคะแนนในปี 62 จะหายไป สำหรับพรรคใหม่ที่ไม่ได้มองตัวเองเป็นพรรคเล็ก เช่น พรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคสร้างอนาคตไทย พรรคเศรษฐกิจไทย ตนมองว่า ก็ยากที่พรรคเหล่านี้จะได้คะแนนบัญชีรายชื่อ ซึ่งตั้งอยู่บนคะแนนนิยมในความสำเร็จเชิงนโยบาย  เช่นเดียวกับ ส.ส.เขต ก็ยากมากที่จะได้ ยกเว้นจะไปดึง ส.ส.เก่าที่ฐานแข็งแรงอยู่แล้ว

อาจารย์สิริพรรณ กล่าวว่า พรรคการเมืองที่จะได้ประโยชน์จริงๆ จากสูตรหาร 100 อาทิ พรรคเพื่อไทย พรรคพลังประชารัฐ พรรคภูมิใจไทย ซึ่งพรรคใหญ่ที่จะได้ประโยชน์เต็มๆ คือพรรคที่ใช้นโยบาย ส.ส.เขต หลังจากนี้สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ ฝุ่นตลบ ของการย้ายพรรคและการดึง บ้านใหญ่ เข้าพรรค ส่วนคะแนนบัญชีรายชื่อดูเหมือนพรรคเพื่อไทยจะได้ประโยชน์ด้วยผลงานในอดีต แต่อย่าลืมว่าพรรคเพื่อไทยไม่ได้เป็นรัฐบาลมา 8 ปีแล้ว สิ่งที่เรียกว่า การส่งมอบตามนโยบายก็ไม่ได้ทำในช่วง 8 ปี ทั้งนี้ ยังคาดการณ์ว่า ไม่เกินอาทิตย์แรกของเดือน ก.ย. นายกฯ น่าจะทูลเกล้าฯ ร่างฉบับนี้ได้

“พรรคเล็ก พรรคจิ๋วก็ต้องทำใจ พรรคที่คิดว่าตัวเองมีศักยภาพก็อาจจะต้องไปรวมกับพรรคอื่น เพื่อแปรสภาพ ดังนั้นสิ่งที่เราจะเห็นต่อจากนี้ ที่เราจำชื่อพรรคตั้งเยอะแยะ ก็ดีไปอย่างมันจะลดลง แต่อาจจะมีพรรคใหม่ขึ้นมาเป็นพรรคที่เกิดจากการผนึกรวมของบางพรรคที่มีอยู่ในขณะนี้ กลุ่ม ก๊วน และมุ้งทางการเมือง” อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ

ขณะที่ อาจารย์สุขุม เห็นว่า เมื่อได้ข้อสรุปเป็นสูตรหาร100 ไม่ใช่ถึงขั้นดับฝันของพรรคเล็ก เพราะความฝันของคนไม่สิ้นสุด ตนเชื่อว่า พรรคเล็กหลายพรรคยังกัดฟันสู้ จริงๆ แล้วการเป็นพรรคการเมือง ถ้ามีตัวเด็ดในเขตก็เป็นพรรคได้ หรือตัวนำที่พอมีชื่อเสียงก็ประมาทไม่ได้ เช่น มงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ หัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ ก็ไม่กลัวใคร ส่วนสิ่งที่ นพ.ระวี มาศฉมาดล หัวหน้าพรรคพลังธรรมใหม่ จะรวบรวมเสียงในได้ถึง 75 เสียง เพื่อยิ่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งตนก็ไม่ทราบ แต่ส่วนตัวคิดว่า ไม่น่าจะมีอะไรที่จะยืดเวลาเลือกตั้งออกไปได้

ส่วนปรากฏการณ์ที่กลับไปกลับมาระหว่าง สูตรหาร 100 มาสูตรหาร 500 แล้วกลับมาหาร 100 อีกครั้ง จะเกิดรอยร้าวของ ‘3ป.’ หรือไม่ ส่วนตัวก็เชื่อว่า พล.อ.ประยุทธ์ไม่ได้เดือดร้อนอะไร แต่อาจจะคล้ายกับว่าอาจจะเคืองนิดๆ ว่าทำไมพี่ไม่ตามใจเรา คิดอีกทีพี่เขาใกล้ชิดนักการเมือง แต่อย่างไรก็ไม่ทิ้งเรา

ก่อนถึงวันเลือกตั้งที่คาดว่า จะเกิดในเดือน มี.ค. ปีหน้า ยังต้องจับตาว่า พรรคการเมืองไหนจะเป็นของจริงของปลอม ต้องรอให้พ้นเส้นเวลาที่ว่าการลาออกจากพรรคไม่ต้องจัดการเลือกตั้งใหม่  3 เดือนสุดท้าย ซึ่งวันนี้พรรคการเมืองยังไม่ใช่ของจริง บางคนยังลับๆ ล่อๆ ตัวอยู่พรรคนี้แต่ใจไปอยู่กับพรรคอื่นแล้ว

คลิปสัมภาษณ์ฉบับเต็ม :  

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า