Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ไมค์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แสดงความเป็นห่วงต่อการเลือกคู่ค้าของประเทศในภูมิภาคอาเซียนระหว่างการกล่าวปาฐกถาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกกับสหรัฐอเมริกา ที่สยามสมาคม กรุงเทพมหานคร เนื่องในโอกาสเยือนไทยวันที่ 2 สิงหาคม 2562

https://youtube.com/watch?v=nsTTgbizzFk

ในการนี้ ปอมเปโอได้พูดถึงประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างไทย และภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่มีกับสหรัฐอเมริกา พร้อมทั้งให้สัมภาษณ์ถึงประเด็นโลกที่เป็นที่จับตามองทั้งกรณีสงครามการค้ากับจีน ฮ่องกง เกาหลีเหนือและอิหร่าน

ในตอนต้น นายปอมเปโอกล่าวว่าประเทศไทยและสหรัฐอเมริกามีสัมพันธไมตรีที่ยาวนานกว่า 200 ปี โดยมีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นเป็นพิเศษในด้านการลงทุน ที่สหรัฐฯเข้ามาเปลี่ยนแปลงสภาพความเป็นอยู่ของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองเพิ่งจบใหม่ ๆ นั้น ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกบอบช้ำจากสงครามมาก ทั้งยังมีภัยคุกคามจากรอบด้าน แต่ปัจจุบันไม่ได้เป็นอย่างนั้นแล้ว ประเทศต่าง ๆ ล้วนแต่รุดหน้าทางเศรษฐกิจ แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ปาฎิหารย์ทางเศรษฐกิจแต่อย่างใด แต่เป็นเพราะชาติต่าง ๆ รับเอาวิธีคิดของการค้าที่ตั้งอยู่บนหลักนิติธรรมและธรรมาภิบาล

“เรื่องจริงคือ กุญแจสำคัญที่ทำให้ภูมิภาคอินโดแปซิฟิกเป็นได้อย่างวันนี้ คือบทบาทของสหรัฐฯ เมื่อประเทศเจ้าอาณานิคมได้ออกไปแล้วอเมริกาผดุงความมั่นคงของภูมิภาคเอาไว้”

“ภูมิภาคอินโดแปซิฟิกเริ่มเจริญขึ้นได้ ก็เมื่อชาติต่างๆ ยอมรับหลักการอย่างที่ผมกล่าวไว้ในงานthe Global Enterpreneurship Summit 2019 คือการยอมรับให้มีกรรมสิทธิ์ (property right) ความเสมอภาคต่อหน้ากฎหมาย (Rule of Law) การลดภาษี และในภาพรวมคือการลดการกำกับโดยรัฐบาลให้เหลือน้อยที่สุด”

นอกจากนี้ ปอมเปโอยังเน้นย้ำว่ารัฐบาลสหรัฐอเมริกาให้ความสำคัญกับหลักการแบบเสรีนิยมที่ส่งเสริมการแข่งขันอย่างเป็นธรรมภายใต้ระบอบประชาธิปไตย

“สุดท้ายแล้วเราเชื่อในประชาธิปไตย และแนะนำให้ประเทศไทยซึ่งเป็นมิตรของเรา ให้กลับสู่ประชาธิปไตย”

“รัฐบาลของทรัมป์ ลงทุนเพื่อให้แต่ละชาติได้มีอธิปไตย มีความแข็งแกร่ง และมีความเจริญรุ่งเรือง ไม่ใช่แค่นั้นเรายังอยากกระชับความสัมพันธ์กับที่นี่ และได้โปรดอย่าเชื่อใครที่บอกคุณว่าเราไม่สนใจ เราต้องการการค้าขายที่เสรีและเป็นธรรมไม่ใช่การค้าที่มีการจำกัดการแข่งขัน”

“ลองถามตัวเองดู ว่าใครสนใจผลประโยชน์ของประชาชนกว่ากัน ระหว่างมหาอำนาจทางการค้าที่เคารพอธิปไตยของคุณหรือคนที่มุ่งทำลาย ถามตัวเองดูว่าใครจะโอบอุ้มนวัตกรรมและการปฏิรูปได้ดีกว่ากัน ระหว่างบริษัทเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจ ถามตัวเองดูว่าใครส่งเสริมให้ชาติอยู่ด้วยตัวเองได้และเป็นเอกราช นักลงทุนที่มุ่งตอบสนองผู้บริโภคหรือนักลงทุนที่วางกลให้คุณติดกับดัก”

ปอมเปโอหยิบยกกรณีของ “หมอบรัดเลย์” นายแพทย์แผนตะวันตกชาวอเมริกันคนแรกในไทย โดยชี้ว่าไทยและสหรัฐฯมีความร่วมมือกันตั้งแต่ตอนนั้น โดยหลังจากนั้นสหรัฐฯก็นำเอาวิทยาการความรู้ต่าง ๆ และการศึกษาแบบตะวันตกมาถ่ายทอด ตัวอย่างของหมอบรัดเลย์แสดงให้เห็นถึงความจริงใจที่สหรัฐฯต้องการเจริญไปพร้อม ๆ กับประเทศคู่ค้าอย่างแท้จริง

นอกจากนี้ บนเวทีปาฐกถาครั้งนี้ ปอมเปโอยังไม่ลังเลที่จะกล่าวถึงจีนอย่างเผ็ดร้อน

“สหรัฐวันนี้มีเศรษฐกิจแข็งแรงที่สุดในโลก ผู้บริโภคของเราต้องการสินค้าของคุณ ในทางตรงกันข้า, เศรษฐกิจจีนสร้างมาตรฐานใหม่ในการเป็นประเทศที่เศรฐกิจเติบโตช้าที่สุด”

ในส่วนตอบคำถามหลังการปาฐกา ไมค์ ปอมเปโอกล่าวอย่างชัดเจนว่าจีนได้ใช้ประโยชน์เอาเปรียบจากการค้ามาหลายสิบปีแล้ว ทั้งเอาเปรียบสหรัฐอเมริกาและเอาเปรียบเอเชีย ตลอดจนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเขากล่าวว่า “ถึงเวลาแล้วที่พวกเขาต้องหยุด”

ไมค์ ปอมเปโอ ในช่วงถาม-ตอบกับสำนักข่าวบลูมเบิร์กที่สยามสมาคม ประเทศไทย เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2562

หลังจากนั้นรมว.การต่างประเทศสหรัฐฯ ตอบคำถามเรื่องท่าทีของจีนต่อฮ่องกง ว่าสหรัฐฯจะดำเนินการอะไรหรือไม่หากจีนดำเนินการต่อผู้ชุมนุมประท้วงในฮ่องกงอย่างรุนแรง

“เราขอให้จีนทำในสิ่งที่ถูกต้อง” เขากล่าว “เราหวังว่าทุกที่ที่ประชาชนอยากแสดงความเห็น ไม่ว่าจะสนับสนุนหรือตรงข้ามกับรัฐบาลพวกเขาจะต้องทำได้”

ก่อนไมค์ ปอมเปโอเดินทางมาไทย เกาหลีเหนือมีการซ้อมยิงขีปนาวุธ และมีกระแสข่าวว่าจะมีการเจรจากับผู้แทนเกาหลีเหนือที่กรุงเทพมหานคร อย่างไรก็ดี ปอมเปโอปฏิเสธว่าตัวแทนจากเกาหลีเหนือไม่ได้มายังกรุงเทพ พร้อมทั้งยืนยันว่ามีการเจรจาอยู่จริง แต่ไม่ได้มีการนัดวันแน่นอนในเร็วๆนี้

“เรายังพยายามเต็มที่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ก็คือให้เกาหลีเหนือปลดอาวุธนิวเคลียร์โดยใช้วิธีผ่านทางการทูต”

สุดท้าย รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯพูดถึงกรณีข้อพิพาทที่อิหร่าน ที่สหรัฐเพิ่งออกมาตราการคว่ำบาตรตอบโต้กับการที่อิหร่านยิงโดรนตก แต่ก็ยังมีสายการบินบางสายในเอเชียซื้อขายน้ำมันกับอิหร่านอยู่ ปอมเปโอกล่าวว่า “การคว่ำบาตร(อิหร่าน)มีประสิทธิภาพเสมอ และเราจะใช้วิธีนี้ทุกที่ โดยจะทำโทษบริษัทหรือประเทศใดที่ละเมิดการคว่ำบาตรนี้”

ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ ที่ไมค์ ปอมเปโอไม่ได้พูดถึง

การมาเยือนของไมค์ ปอมเปโอ เกิดขึ้นหลังจากไทยเพิ่งตั้งรัฐบาลใหม่ได้สำเร็จ โดยหลังมีพระราชโองการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการในวันที่ 10 กรกฎาคม 2562 รมว.กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯก็ส่งสาสน์แสดงความยินดี

ท่าทีของสหรัฐฯต่อรัฐบาลไทยลดความแข็งกร้าวลงมาก เมื่อเทียบกับท่าทีของปี 2557 ที่รัฐบาลนายบารัค โอบาม่ากล่าวประนามการรัฐประหารนำโดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และลดท่าทีการเจรจาตลอดจนความช่วยเหลือทางการทหารลง เนื่องจาก แต่ในเนื้อความแสดงความยินดีล่าสุดระบุว่า

“เรา (รัฐบาลสหรัฐฯ) สนับสนุนความโปร่งใสและธรรมภิบาลทั่วโลก และพร้อมจะทำงานกับประชาชนไทยตลอดจนรัฐบาลใต้พระประมุขของไทย (the Royal Thai government) เพื่อให้ลุล่วงการณ์นี้ ความสัมพันธ์ไทยกับสหรัฐอเมริกาแข็งแกร่งมาเสมอ และเราสนับสนุนบทบาทของไทยในฐานะผู้นำของภูมิภาค รวมถึงบทบาทในฐานะประธานเอเซียนปีนี้ สัมพันธไมตรีของเราจะแข็งแกร่งยิ่งขึ้นกว่าเดิมผ่านการทำงานเพื่อเพิ่มพูนเป้าหมายของทั้งสองประเทศในด้าน ความมั่นคง สันติภาพ ความเจริญรุ่งเรือง ทั้งในภูมิภาคอินโดแปซิฟิกและทั่วโลกไป”

นอกจากนี้ สหรัฐฯก็เริ่มกลับมาทำการค้ายุทโธปกรณ์ทางทหารกับไทยใหม่อีกครั้ง โดยมีการซื้อขายรถเกราะล้อยาง ตลอดจนเฮลิคอปเตอร์แบล็กฮอว์ก แม้ในสุนทรพจน์ของผู้นำสหรัฐฯ อย่างนายปอมเปโอ จะเน้นย้ำเรื่องความใส่ใจต่อสถานะความเป็นประชาธิปไตยของประเทศคู่ค้าอยู่เสมอ

ท่าทีเช่นนี้ของรัฐบาลสหรัฐฯ สร้างความลำบากใจแก่หลายภาคส่วน โดยเฉพาะภาคประชาสังคมในสหรัฐอเมริกา

วอชิงตัน โพสต์ หนังสือพิมพ์ชื่อดังของสหรัฐอเมริกาตีพิมพ์บทบรรณาธิการเสนอให้สหรัฐอเมริกาอย่าเพิ่งฟื้นความช่วยเหลือด้านการทหารกับไทยเนื่องจากรัฐบาลไทยไม่จริงใจในการผลักดันให้ประเทศเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ซึ่งภายหลังนายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยขออย่าให้ทุกคนให้ความสนใจสื่อต่างชาติ

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ วอชิงตันโพสต์ชี้ ประชาธิปไตยไทยกำมะลอ – ดอน ไม่ให้ราคา

ก่อนกำหนดการไมค์ ปอมเปโอ เยือนไทย แอมเนสตี อินเตอร์เนชันแนล สหรัฐอเมริกาก็ได้แสดงความเป็นห่วงผ่านจดหมายเปิดผนึก เรียกร้องให้รมว.สหรัฐฯยกเรื่องสิทธิมนุษยชนที่รัฐบาลไทยถูกครหาขึ้นมาพูดในการเจรจาด้วย อย่างไรก็ดี ตามที่ปรากฎในบันทึกบทสนทนาของเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาก็พบว่าไม่มีการเจรจาเรื่องนี้แต่อย่างใด

พอล แชมเบอร์ส ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ the Center of Asean Community Studiesประเทศไทย ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์เซาท์ไชนามอร์นิ่งโพสต์ว่า การที่สหรัฐฯ ภายใต้รัฐบาลทรัมป์เปลี่ยนนโยบายการต่างประเทศต่อไทยครั้งนี้เป็นการฉีกออกจากแนวนโยบายของโอบามาที่เน้นเรื่องสิทธิมนุษยชนโดยสิ้นเชิง และเป็นความพยายามในการดึงประเทศไทยออกจากความสัมพันธ์กับรัฐบาลปักกิ่ง

นอกจากนี้สหรัฐฯยังมีแผนร่างโครงการ “Indo-Pacific Strategy” ที่เป็นความพยายามในการต้านอิทธิพลของจีนเหนือภูมิภาคเอเชียตะวันออก ซึ่งต้องการความร่วมมือจากภูมิภาคอาเซียน

ในการเยือนไทยช่วงวันที่ 1-2 สิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา นายปอมเปโอได้เข้าหารือกับผู้นำอาเซียนในช่วงเย็นของวันที่ 1 สิงหาคม 2562 โดยให้ความสนใจกับปัญหาแม่งน้ำโขงแห้งแล้งซึ่งเป็นประเด็นสิ่งแวดล้อมที่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมารัฐบาลทรัมป์ให้ความสนใจน้อย และในวันที่ 2 สิงหาคม 2562 ก็ได้แสดงจุดยืนชัดเจนต่อจีนอีกครั้งผ่านปาฐกถาข้างต้น

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า