Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สธ. เผยหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อและเสียชีวิต ส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ย้ำวัคซีนที่นำเข้ามามีความปลอดภัย จากรายงานการศึกษาวิจัยในต่างประเทศ ยืนยันวัคซีนสูตรไขว้สามารถฉีดในหญิงตั้งครรภ์ได้ ผลข้างเคียงหลังรับวัคซีนไม่ต่างจากคนทั่วไปและหายเองได้

วันที่ 19 ต.ค. 2564 นพ.เอกชัย เพียรศรีวัชรา ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ และโฆษกกรมอนามัย แถลงข่าวการติดเชื้อโควิด-19 และผลการรณรงค์ฉีดวัคซีนในหญิงตั้งครรภ์ ว่า ขณะนี้ทั่วโลกมีหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อโควิด พบว่าสัดส่วนการเสียชีวิต สูงขึ้นกว่าภาวะปกติถึง 50-60% และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ในหลายประเทศ โดยในยุโรปและสหรัฐอเมริกาพบประมาณ 25%

ประเทศไทย ตั้งแต่ ต.ค. 2563 – ก.ย. 2564 มีหญิงตั้งครรภ์เสียชีวิตทั้งหมด 192 ราย ในจำนวนนี้เสียชีวิตจากโควิด-19 ถึง 78 ราย คิดเป็น 38% ซึ่งถือว่าสูงมาก สำหรับช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ตั้งแต่ 1 เม.ย. – 16 ต.ค. 2564 มีหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 4,778 ราย ส่วนใหญ่อยู่ในกทม. ปริมณฑล และ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ทารกติดเชื้อจากมารดา 226 ราย หญิงตั้งครรภ์เสียชีวิต 95 ราย ทารกที่อยู่ในครรภ์เสียชีวิต 46 ราย กระทรวงสาธารณสุขได้เร่งฉีดวัคซีนให้หญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่เดือนก.ค. 2564 ตั้งเป้าหมาย 1 แสนคน ขณะนี้ฉีดวัคซีนเข็มแรกแล้ว 7.5 หมื่นคน เข็มสอง 5.1 หมื่นคน และได้รับการกระตุ้นเข็ม 3 จำนวน 526 คนส่วนใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ตั้งครรภ์ ภาพรวมผลหลังการรณรงค์ฉีดวัคซีนในระดับเขตสุขภาพ พบว่า ภาคตะวันออกฉีดได้สูงสุด 40% และภาคกลาง อาทิ ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ได้กว่า 30% ส่วนภาคอีสานฉีดได้เพียง 10-20%

“จำนวนหญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ ที่ต้องได้รับวัคซีนมีประมาณ 3 แสนราย ขณะนี้ฉีดได้เพียง 7.5 หมื่นราย หรือประมาณ 25% จึงต้องเร่งรณรงค์ให้เข้ารับการฉีดวัคซีนให้มากขึ้น เนื่องจากพบว่า หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อประมาณ 95% ไม่ได้รับวัคซีน เป็นสาเหตุทำให้มีอาการรุนแรงและเสียชีวิต จึงขอให้หญิงตั้งครรภ์เข้ารับการฉีดวัคซีนได้ฟรีที่สถานบริการของรัฐใกล้บ้าน หรือคลินิกฝากครรภ์ สำหรับหญิงให้นมบุตรสามารถฉีดวัคซีนได้ไม่มีผลต่อน้ำนม และประโยชน์จากการฉีดวัคซีนมีมากกว่าความเสี่ยงหรือผลข้างเคียง” นพ.เอกชัยกล่าว

นพ.เอกชัยกล่าวต่อว่า จากผลสำรวจอนามัยโพล หญิงตั้งครรภ์กับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ระหว่างวันที่ 15 – 29 ก.ย. 2564 จากหญิงตั้งครรภ์ทั่วประเทศ 1,165 คน พบว่า 98% ฝากครรภ์แล้ว อยู่ร่วมกับสมาชิกในบ้านมากกว่า 2 คนขึ้นไป โดยครึ่งหนึ่งไม่ได้ฉีดวัคซีนเลย 60% ตั้งใจจะฉีดวัคซีน ส่วนที่เหลือยังลังเล โดย 1 ใน 3 มีความกังวลเรื่องความปลอดภัย ผลข้างเคียง ไม่มั่นใจประสิทธิภาพ ส่วนที่เหลือเป็นเหตุผลอื่น เช่น ไม่ทราบว่าจะไปฉีดที่ไหน ไม่มีเวลา เป็นต้น

ทั้งนี้ ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ฯ สมาคมโรคติดเชื้อฯ และกระทรวงสาธารณสุข ให้ข้อมูลตรงกันว่า จากรายงานการศึกษาวิจัยในต่างประเทศ ยืนยันวัคซีนสูตรไขว้สามารถฉีดในหญิงตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัย ผลข้างเคียงไม่ต่างจากคนทั่วไปและหายเองได้ เช่น ปวดศีรษะ ไข้เล็กน้อย อ่อนเพลีย เป็นต้น สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน หรืออยู่ร่วมกับผู้อื่น ขอให้ป้องกันตนเองขั้นสูงสุด (Universal Prevention) สวมหน้ากากตลอดเวลา เว้นระยะห่างเมื่อเข้าที่ชุมชน ล้างมือ ออกจากบ้านเท่าที่จำเป็น แยกรับประทานอาหาร และทำความสะอาดจุดสัมผัสร่วมในบ้าน ส่วนกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนจะต้องเพิ่มความระมัดระวัง และป้องกันตนเองขั้นสูงสุดเช่นกัน

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า