Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เสียงปรบมือที่ดังไปทั่วสนามราชมังคลากีฬาสถาน หลังจากนักเตะของท็อตแนม ฮ็อตสเปอร์ และ เลสเตอร์ ซิตี้ ปรากฎตัวออกมา ใน 5 นาทีถัดมา กลับกลายเป็นเสียงโห่ด้วยความไม่พอใจ เมื่อโฆษกในสนามประกาศว่า จำเป็นต้องยกเลิกเกมการแข่งขัน เนื่องจากสภาพสนามไม่พร้อม

เมื่อพิจารณาดูจากพื้นสนามราชมังฯ แล้ว หลายคนเข้าใจดีว่าไม่ปลอดภัยและก็ไม่เหมาะสมที่จะทำการแข่งขันจริงๆ จากน้ำขังที่เห็นอยู่หลายจุด เวลาทดสอบกลิ้งบอลในสนาม บอลก็หยุดอยู่กับที่ จึงไม่ได้กล่าวโทษการตัดสินใจของสโมสร แต่ออกมาตั้งคำถามถึงผู้ที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบสนามแทน

ซึ่งการยกเลิกอีเวนต์ที่มีการเตรียมงานมานานเป็นเวลาหลายเดือน ย่อมส่งผลกระทบต่อหลายฝ่าย เราจะมาไล่เรียงกันดูว่า เหตุการณ์นี้ส่งผลต่อใครบ้าง

 

ผู้จัดงาน 

การแข่งขันฟุตบอลกระชับมิตรระหว่าง สเปอร์ส กับ เลสเตอร์ ที่ไทยนั้น เป็นการจัดงานของ TEG Sport บริษัทอีเวนต์ของออสเตรเลีย และ ProEvents ผู้จัดงานด้านกีฬา ที่เคยดึงหลายต่อหลายทีมมาเตะในเอเชียมาแล้ว

แน่นอนว่าจากการตัดสินใจยกเลิกแมตช์นี้ ทำให้ทางผู้จัดต้องคืนเงินค่าตั๋วให้กับแฟนบอล ซึ่งในขณะนี้ยังไม่มีการแจ้งรายละเอียดอย่างเป็นทางการว่าจะได้คืนทั้งหมดหรือไม่ 

แต่ที่ค่อนข้างแน่ชัดคือ ทางผู้จัดคงจะขาดทุนกับแมตช์นี้ไปไม่น้อยเลย และในอนาคตอาจจะมีการพิจารณามากขึ้น หากจะนำทีมจากยุโรปมาลงเตะในไทยอีก 

 

สเปอร์ส และ เลสเตอร์

ก่อนที่การแข่งขันในฤดูกาลต่อไปจะเริ่มขึ้น แต่ละทีมล้วนต้องการเตรียมความพร้อมให้กับนักเตะ ซึ่งเกมปรีซีซั่นเป็นส่วนสำคัญในการเรียกความฟิตและจังหวะในเกมให้กับผู้เล่น การที่อยู่ดีๆ แมตช์แข่งขันถูกยกเลิก คงส่งผลกระทบต่อการเตรียมทีมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

สำหรับสเปอร์สนั้นวางโปรแกรมอุ่นเครื่องไว้ 5 นัดก่อนเปิดฤดูกาล โดยลงแข่งไปแล้ว 1 นัดก่อนมาไทย คือการเจอกับเวสต์แฮม ยูไนเต็ด ที่ออสเตรเลีย ซึ่งพวกเขาแพ้ไป 2-3 จากนั้นจะบินไปสิงคโปร์เพื่อแข่งกับไลออน ซิตี้ เซเลอร์ ก่อนจะกลับยุโรปไปอุ่นเครื่องกับบาร์เซโลนาและชัคตาร์ โดเนตส์

ส่วนเลสเตอร์ หลังจากที่ยกเลิกเกมกับสเปอร์สไป ก็มีข่าวว่าได้ทีมการท่าเรือ เอฟซี มาลงอุ่นเครื่องแทน ในวันที่ 26 ก.ค. นี้ แต่สุดท้ายทั้งสองทีมกลับลบโพสต์ที่แจ้งทางโซเชียลมีเดีย และไม่มีการยืนยันถึงเกมนี้ ทำให้เกมอุ่นเครื่องอย่างเป็นทางการนัดต่อไปคือการเจอกับลิเวอร์พูลในวันที่ 30 ก.ค. ที่สิงคโปร์ จากนั้นจะกลับไปลงเล่นเกมแชมเปี้ยนชิปนัดแรกกับโคเวนทรีในวันที่ 6 ส.ค. ต่อไป

 

แฟนบอล

สำหรับแฟนฟุตบอลชาวไทยแล้ว การได้เห็นนักเตะดังๆ มาลงแข่งในประเทศไทยถือเป็นโอกาสที่หาไม่ได้ง่ายๆ โดยเฉพาะแฟนสเปอร์สที่พลาดการดูทีมรักลงเล่นในไทยเป็นครั้งแรก รวมถึงพลาดโอกาสที่จะได้เห็นสตาร์ดังอย่าง แฮร์รี เคน และ ซน ฮึง-มิน ลงสนาม

สำหรับเลสเตอร์เอง แม้จะเป็นทีมที่มีเจ้าของเป็นคนไทย คือ อัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา แต่ก็ใช่ว่าจะสามารถนำทีมเดินทางมาทำการแข่งขันในประเทศไทยได้บ่อยๆ ครั้งล่าสุดต้องย้อนกลับไปเมื่อปี 2014 หรือเกือบ 10 ปีที่แล้ว ที่พลพรรคจิ้งจอกสยามลงอุ่นเครื่องกับเอฟเวอร์ตัน ที่สนามศุภชลาศัย โดยในครั้งนั้น เลสเตอร์เป็นฝ่ายเอาชนะไปได้ 1-0 ส่วนในปี 2016 ที่พวกเขาได้แชมป์พรีเมียร์ลีก เป็นเพียงการเอาถ้วยแชมป์พรีเมียร์ลีกมาฉลองเท่านั้น ไม่ได้ลงแข่งขันแต่อย่างใด

นอกจากนี้ยังมีแฟนบอลชาวต่างชาติอีกจำนวนหนึ่งที่ลงทุนเดินทางมายังประเทศไทยเพื่อชมเกมนี้ ต้องเสียทั้งค่าเครื่องบิน ค่าที่พัก และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ไปไม่น้อย แต่สุดท้ายก็ต้องพบกับความผิดหวังไปตามๆ กัน

 

ภาพลักษณ์ของประเทศ

สนามราชมังคลากีฬาสถาน ถือว่าเป็น สนามกีฬาแห่งชาติ (National Stadium) ของไทย ซึ่งควรจะเป็นหน้าเป็นตาของประเทศ ในการรองรับการแข่งขันกีฬาสำคัญต่างๆ แต่ในครั้งนี้กลับไม่สามารถรองรับปัญหาฝนที่ตกลงมาได้ 

ย้อนกลับไปเมื่อเดือน ก.ค. ปีที่แล้ว ราชมังคลากีฬาสถานได้รับการปรับปรุงครั้งใหญ่จากทาง บริษัท เฟรชแอร์ เฟสติวัล จำกัด ผู้จัดการแข่งขันศึกแดงเดือด ระหว่าง แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด กับ ลิเวอร์พูล ที่เนรมิตรให้พื้นสนามอยู่ในสภาพสมบูรณ์แบบที่สุด 

แต่หลังจากผ่านไปเพียงแค่ 1 ปี ภาพอันสวยงามเหล่านั้นกลับถูกลบออกไปอย่างสิ้นเชิง สิ่งที่เราได้เห็นคือสนามที่น้ำท่วมจนอยู่ในสภาพที่ไม่พร้อมทำการแข่งขัน และส่งเสียงตำหนิไปยังเจ้าของสนาม ก็คือ การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ในเรื่องนี้ ทาง ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่า กกท. ยืนยันว่า สนามราชมังคลากีฬาสถาน มีการดูแลและซ่อมบำรุง ในส่วนต่างๆ เป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะเรื่องระบบระบายน้ำ ยืนยันว่าสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ แต่ต้องยอมรับว่า อายุของสนามราชมังคลากีฬาสถาน มีอายุมากกว่า 30 ปีแล้ว จำเป็นจะต้องมีการบูรณาการครั้งใหญ่

ซึ่งคำถามที่ตามมาและยังไม่มีคำตอบก็คือ แล้วในอนาคตเราจะทำอย่างไรต่อไป หากต้องใช้งานสนามแห่งนี้อีกในช่วงฤดูฝน เพราะอย่างที่เห็นกันแล้วว่า ในการยกเลิกการแข่งขันเกมใหญ่แต่ละครั้งนั้น ตามมาด้วยผลเสียต่อหลายฝ่าย 

อีกทั้งยังสร้างความหงุดหงิดใจให้คนไทย ว่าเมื่อไหร่เราจะมีสนามที่คุณภาพทัดเทียมกับสนามกีฬาแห่งชาติสิงคโปร์ หรือสนามกีฬาแห่งชาติบูกิตจาลีลของมาเลเซียเสียที

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า