Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

จากกรณีที่ กอ.รมน.ภาค 4 ให้ผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือทุกเครือข่ายใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ลงทะเบียนซิมการ์ดด้วยระบบตรวจสอบใบหน้าและอัตลักษณ์ ภายในวันที่ 31 ต.ค.นี้ โดยผู้ใช้บริการจะต้องไปลงทะเบียนด้วยตนเองพร้อมบัตรประชาชน หากไม่ดำเนินการในวันที่กำหนดจะไม่สามารถใช้บริการมือถือในพื้นที่ได้นั้น

วันที่ 22 มิ.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ศูนย์บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือซึ่งตั้งอยู่บนถนนสุริยะประดิษฐ์ เขตเทศบาลเมืองนราธิวาส มีประชาชนเดินทางมาลงทะเบียนซิมการ์ดอย่างคึกคักตั้งแต่เริ่มเปิดให้บริการ

เจ้าหน้าที่ บอกว่าทุกคนตื่นตัวที่จะมาลงทะเบียน แม้จะบ่นบ้างก็ตาม เนื่องจากผู้ใช้บริการในพื้นที่จะต้องลงทะเบียนทุกครั้งที่ซื้อซิมอยู่แล้ว การเข้ามาลงทะเบียนอีกครั้งเหมือนการบันทึกประวัติซ้ำซ้อนและเป็นการเสียเวลา โดยผู้ที่เข้ามาลงทะเบียนบางรายต้องบันทึกประวัติซ้ำถึง 5 ครั้งเนื่องจากมีการซื้อซิมโดยใช้ชื่อตัวเองถึง 5 หมายเลข นอกจากการถ่ายรูปจากบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงแล้วก็จะต้องถ่ายใบหน้า เพื่อแสดงอัตลักษณ์ของเจ้าของอีกครั้งด้วย

สำหรับการให้บริการลงทะเบียนซิมการ์ดและตรวจสอบอัตลักษณ์ของแต่ละเครือข่ายมีผู้เข้ามาลงทะเบียนที่ศูนย์บริการแห่งนี้กว่า 100 คนต่อวัน

อย่างไรก็ตาม ในสื่อสังคมออนไลน์ในพื้นที่มีการตั้งคำถามเช่นกันว่า การบังคับให้ประชาชนลงทะเบียนซิมโทรศัพท์และบังคับให้สแกนใบหน้า มีความสุ่มเสี่ยงที่จะเข้าข่ายการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่

พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง

ด้าน พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติ และอดีตเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า น่าจะขัดรัฐธรรมนูญ หมวดสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มาตรา 26 การจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลจะกระทำไม่ได้ เว้นแต่มีบทบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และมาตรา 36 เสรีภาพในการติดต่อสื่อสารถึงกัน การกระทําด้วยประการใดๆ เพื่อให้ล่วงรู้หรือได้มาซึ่งข้อมูลที่บุคคลสื่อสารถึงกันจะกระทํามิได้ เว้นแต่มีคําสั่งหรือหมายของศาล หรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ และเห็นว่าระเบียบสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ไม่ใช่กฎหมายและมีศักดิ์ต่ำกว่ากฎหมาย

พ.ต.อ. ทวี เสนอว่า ถ้า กอ.รมน.หรือรัฐ มีความจำเป็นต้องตรวจสอบใบหน้าและอัตลักษณ์จากซิมมือถือ รัฐบาลต้องบัญญัติเป็นกฏหมาย โดยให้รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ (ประกอบด้วย ส.ส.จำนวน 500 คน และ ส.ว.จำนวน 250 คน) ได้ร่วมกันพิจารณาบัญญัติเป็นกฏหมายตามรัฐธรรมนูญต่อไป

โดยพรรคประชาชาติจะนำเรื่องนี้เข้าหารือในพรรค และจะส่งข้อมูลให้ ส.ส.ของพรรคใช้ในสภาผู้แทนราษฏร รวมทั้งนำไปประสานกับหน่วยงานรัฐ กอ.รมน.และประชาชนในพื้นที่ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีต่อกัน  และเป็นการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนต่อไป

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า