Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สารคดีเชิงข่าว ชุด “ SLAPPs ฟ้องปิดปาก ปิดเสียง” ทีมข่าวเวิร์คพอยท์นำเสนอเรื่องราวของ 4 บุคคล ใน 4 จังหวัดที่ลุกขึ้นมาปกป้องสิทธิ์จนถูกฟ้องในคดีต่างๆ

ตอนที่ 3 ออกอากาศวันที่ 28 ส.ค. 62 นำเสนอเรื่องราวการต่อสู้ของชาวบ้านหมู่บ้านซับหวาย ต.ห้วยแย้ อ.หนองบัวระเหว  จ.ชัยภูมิ ที่ต่อสู้ถึงกรรมสิทธิ์ที่ดินหลังตกสำรวจ ทำให้กรมอุทยานแห่งชาติไทรทองฟ้องบุกรุกพื้นที่ป่าตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ร.บ.ป่าไม้และ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ ทำให้ชาวบ้าน 13 คน ถูกศาลสั่งจำคุก ซึ่งเป็นผู้หญิงที่เป็นหัวหน้าครอบครัว 9 คน

https://www.youtube.com/watch?v=ZNONgFYIK2Y

 

เช้าวันนี้ ครอบครัวโพธิ์งามใช้ชีวิตไม่เหมือนที่เคยเป็น เพราะ สุวลี โพธิ์งาม ลูกสาวของนวลจันทร์  ถูกศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาจำคุก 8 เดือน ปรับ 200,000 บาท ในคดีอุทยานแห่งชาติไทรทองฟ้องข้อหาบุกรุกพื้นที่ป่า ทำให้วันนี้ นวลจันทร์ต้องเป็นกำลังหลักแทนลูกสาว และปลอบประโลมหลานเมื่อคิดถึงแม่

สุวลีเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว ต้องเลี้ยงดูแม่ และยายผู้พิการ สิ่งที่ครอบครัวกังวล คือ การใช้ชีวิตในเรือนจำของสุวลี ไม่มีคำลาในครั้งสุดท้าย ก่อนลูกสาวจะขึ้นรถไปฟังคำพิพากษา

สุวลี คือผู้หญิง 1 ใน 9 คนจากชาวบ้าน  13 คน กลุ่มทายาทได้รับสิทธิ์ครอบครองไร่มันต่อจากพ่อแม่ แต่ตกสำรวจในปี 2541 ทำให้ถูกดำเนินคดีบุกรุกป่า ตามนโยบายขอคืนพื้นที่ป่าของรัฐบาล

ส่งผลให้หลายครอบครัวต้องขาดเสาหลัก เช่นเดียวกับครอบครัว “โกเม็ด” วันนี้ อำพล แก้วจริง สามีของปัทมา โกเม็ด ต้องดูแลพ่อแม่แทนภรรยา โดยเฉพาะแม่ที่ป่วยเป็นอัลไซเมอร์

6 ปีกับการต่อสู้ถึงสิทธิการครอบครองไร่มันของชาวบ้านซับหวาย ความผิดพลาดรังวัดที่ดินของเจ้าหน้าที่  ทำให้ชาวบ้านกว่า160 ครอบครัวตกสำรวจ ต่อมาปี 2556 มีการบังคับให้ชาวบ้านเซนต์ยินยอมออกจากพื้นที่

นับตั้งแต่ปี 2557 อยู่ระหว่างตรวจสอบข้อเท็จจริง มีข้อตกลงแก้ปัญหาจากสำนักนายกรัฐมนตรี  แต่กลับถูกฟ้องคดีบุกรุกป่า หลักพิจารณาคดี ยึดเอกสารสิทธิ์ทางกฎหมายมากกว่าข้อเท็จจริงที่ชาวบ้านชี้แจง  วิธีนี้อาจเป็นการปิดเสียงการเรียกร้อง

เครือข่ายปฏิรูปที่ดินมองว่า การฟ้องชาวบ้านซับหวายเป็นการฟ้อง SLAPPs เพราะโจทก์เป็นองค์กรรัฐที่มีทรัพยากรสนับสนุน ขณะที่ชาวบ้านผู้ถูกฟ้องคดีต้องแบกรับค่าใช้จ่ายและยังต้องรับแรงกดดันให้เกิดความกลัว นำมาสู่เงื่อนไขข้อต่อรอง

นับเป็นคดีแรกที่ชาวบ้านถูกฟ้องคดีอาญาควบคู่กับเรียกร้องค่าเสียหายคดีแพ่ง ชาวบ้านซับหวายที่เป็นเพียงเกษตรกร 13 คน ต้องหาเงินจ่ายค่าเสียหาย ตั้งแต่ 40,000 – 1.5 ล้านบาท

วิธีปิดปากปิดเสียงประชาชนด้วยกฎหมาย อาจนำความขัดแย้งที่บานปลาย เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเสนอว่ารัฐควรฟังเสียงชาวบ้าน และรับรองแผนทรัพยากรที่ดินและชุมชน มุ่งแก้ปัญหาที่ดินด้วยนโยบาย จะสามารถยุติข้อพิพาทได้

(เมื่อวันที่  14 สิงหาคม 2562แกนนำชาวบ้านหมู่บ้านซับหวาย 13 คน ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว  11 คน โดยวางเงินประกัน เฉลี่ยวงเงินประกัน คนละ 180,000 – 500,000 บาท โดยใช้เงินช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรม ซึ่งทีมข่าวได้ไปบันทึกภาพในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยหลังจากนี้ ชาวบ้านยังต้องต่อสู้ทั้งคดีอาญาและคดีแพ่งจนถึงศาลฏีกา)

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า