Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ย้ายที่ติด ‘ส่วยสติ๊กเกอร์’ อย่าคิดว่าจะรอด 1 มิ.ย.นี้ สมาคมขนส่งทางบกฯ นัดหารือ ‘วิโรจน์’ ปมส่วย ด้าน ตร. สั่งจเรตำรวจทั่วประเทศรวบรวมข้อมูล ดึงคนนอกร่วมตรวจสอบ

ช่องทางโซเชียลมีเดีย ทั้งเฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ ของนายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ว่าที่ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ยังคงเคลื่อนไหวโพสต์รัวๆ เกี่ยวกับเรื่อง ‘ส่วย’ ที่มาในรูปแบบของสติ๊กเกอร์ ราคาสูง แลกกับการอำนวยความสะดวก โดยเฉพาะ ‘ส่วย’ ที่เกี่ยวกับรถบรรทุก ที่วิ่งบนถนนทางหลวง

โดย โพสต์ในช่วงเกือบตี 3 ของวันนี้ (31 พ.ค. 66) นายวิโรจน์ บอกว่า “เรื่อง ส่วยทางหลวง หรือ ส่วยสติ๊กเกอร์ ตอนนี้จาก LINE ที่หลุดออกมา ผมเข้าใจว่า มีความพยายามจะปรับตัว โดยคิดที่จะย้ายจุดติดสติ๊กเกอร์จากด้านนอก มาติดด้านในตัวรถ ย้ายจากกระจกหน้า มาติดที่บังแดด บ้างก็จะเปลี่ยนมาเป็นการโชว์พวงกุญแจ หรือโชว์นามบัตรแทน พูดกันตรงๆ นะครับ การย้ายสติ๊กเกอร์จากด้านนอก มาไว้ด้านใน หรือการโชว์พวงกุญแจ โชว์นามบัตร นี่ยิ่งส่อพิรุธนะครับ”

“แต่เดิมที่สติ๊กเกอร์ติดอยู่ด้านนอก แค่เหลือบมองเห็นสติ๊กเกอร์ก็แค่แกล้งเอาหูไปนา เอาตาไปไร่ ปล่อยผ่านไป ใครก็จับพิรุธยาก แต่ถ้าย้ายสติ๊กเกอร์ ให้ไปอยู่ด้านใน นี่ลำบากเลยนะครับ เพราะต้องเสียเวลาจอดรถ ต้องเปิดประตูรถให้ดู สภาพแบบนี้ใครก็สังเกตได้ทันทีว่ามันมีอะไรแปลกๆ แล้วก็ถ่ายคลิปได้โดยง่าย แถมคลิปที่ถ่ายได้ ก็จะเห็นพฤติการณ์ต่างๆ อย่างชัดเจน และเป็นหลักฐานมัดตัวอย่างดิ้นไม่หลุดทันที แทนที่จะย้ายจุดติดสติ๊กเกอร์ ให้วุ่นวาย ชุลมุน หัวหมุนหัวซุกหัวซุน อย่างที่เป็นอยู่ ถ้าเลิกไปเลย มันจะไม่ดีกว่าหรือครับ”

 

[ตัดวงจรให้สิ้นซาก-คาดมูลค่าทุจริตเฉียด 20,000 ล้านบาทต่อปี] 

ขณะที่ นายวิโรจน์  เปิดเผยว่า ส่วยทางหลวงไม่ใช่ปัญหาใหม่ แต่เป็นปัญหาใหญ่ มีมานานหลายสิบปี มูลค่าการทุจริตคอร์รัปชันสูงในระดับหมื่นล้านบาทและกระทบกับประชาชนทั้งประเทศ เพราะเมื่อผู้ประกอบการต้องจ่ายส่วย ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น แม้ว่าจะบรรทุกสินค้าได้เพิ่มขึ้นบ้าง ก็ไม่คุ้มกับค่าซ่อมบำรุงที่แพงขึ้น อีกทั้งเมื่อเจอกับการแข่งขันที่ต้องตัดราคากันเอง ยิ่งทำให้กำไรลดลงมาก ท้ายที่สุด จึงผลักต้นทุนจากการจ่ายส่วย ไปยังค่าขนส่ง เมื่อค่าขนส่งเพิ่ม สินค้าอุปโภคบริโภคก็ต้องปรับราคาขึ้น กระทบผู้บริโภคที่ต้องแบกรับค่าครองชีพที่สูงขึ้นตาม

นอกจากนั้น รถบรรทุกที่บรรทุกน้ำหนักเกิน ทำให้ถนนหนทางชำรุดเสียหาย เป็นอันตรายต่อผู้ขับขี่ และยังสิ้นเปลืองงบประมาณในการซ่อมบำรุงรักษาถนน ถ้าประหยัดงบประมาณในส่วนนี้ลงได้ รัฐบาลจะมีงบประมาณในการดูแลสวัสดิการของประชาชนเพิ่มขึ้น

นายวิโรจน์ ระบุว่า ต้นเหตุของปัญหาส่วยทางหลวง จุดเริ่มต้นอยู่ที่ข้าราชการของกรมทางหลวง บางคน ตำรวจท้องที่ และตำรวจทางหลวงบางนาย อาศัยช่องว่างทางกฎหมายไปรังควานผู้ประกอบกิจการขนส่ง ไม่ว่าจะเป็น การตรวจควันดำ ตรวจเสียง การตั้งด่านตราชั่งลอยเพื่อชั่งน้ำหนัก การเดินตรวจรอบรถแบบจุกจิกเพื่อหาเรื่องปรับ การเรียกตรวจพนักงานขับรถ ทำให้ผู้ประกอบการขนส่งเสียเวลาทำมาหากิน จากวันหนึ่งวิ่งได้ 2-3 เที่ยว อาจเหลือแค่ 1 เที่ยวเท่านั้น

“พฤติกรรมรังควานแบบนี้ เป็นเหตุให้เกิดขาใหญ่ ซึ่งอาจเป็นผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น ทำหน้าที่เป็นโต้โผเอาส่วยแบบเหมาจ่ายไปเคลียร์กับข้าราชการบางคน ตำรวจบางนาย แล้วมาผลิตสติ๊กเกอร์ขายให้กับผู้ประกอบกิจการขนส่งรายอื่นๆ พอเจ้าหน้าที่เห็นสติ๊กเกอร์ ก็เป็นอันรู้กัน รถบรรทุกเหล่านี้เถ้าแก่ส่งส่วยเรียบร้อยแล้ว ตราชั่งก็ไม่ต้องชั่ง บรรทุกหนักแค่ไหนก็ผ่านฉลุย ในระยะหลังถึงกับกล้าเอารถบรรทุกไปใช้ขนของผิดกฎหมาย ขนแรงงานต่างชาติหลบหนีเข้าเมือง ตำรวจที่ดีได้แต่ท้อใจ ถ้าเผลอไปเรียกตรวจ ก็อาจเจอผู้บังคับบัญชาหรือมาเฟียขาใหญ่โทรมาข่มขู่” นายวิโรจน์ ระบุ

ว่าที่ ส.ส. พรรคก้าวไกล ให้รายละเอียดเพิ่มเติมอีกว่า สติ๊กเกอร์แต่ละดวง มีมูลค่าแตกต่างกัน ตั้งแต่ 3,000-5,000 บาทต่อเดือน ขึ้นอยู่กับระยะทางและจำนวนด่าน บางพื้นที่อาจแพงถึงหลักหมื่น จำนวนรถบรรทุกในประเทศไทยมีทั้งสิ้นประมาณ 1.4 ล้านคัน ถ้ามีรถบรรทุก 300,000 คัน ต้องเสียเงินซื้อสติ๊กเกอร์เดือนละ 3,000-5,000 บาท เท่ากับคิดเป็น 900-1,500 ล้านบาทต่อเดือน ในปีหนึ่งมูลค่าส่วยทางหลวงอาจสูงถึง 20,000 ล้านบาท เมื่อดูข้อมูลเรื่องทุจริตที่ร้องเรียนมายังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในแต่ละปี รวมกันเป็นมูลค่าประมาณ 200,000 ล้านบาท เฉพาะส่วยทางหลวงจึงคิดเป็นราว 10 เปอร์เซ็นต์แล้ว

เรื่องส่วยทางหลวง จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่ามีหรือไม่ เพราะคำตอบคือมีแน่และมีมานาน ดังนั้น สิ่งที่ประชาชนคาดหวังจากข้าราชการระดับบังคับบัญชา ย่อมไม่ใช่คำตอบที่บอกว่าไม่รู้หรือการปฏิเสธ ตอบแบบนั้นนอกจากประชาชนอาจหัวเราะเยาะ ยังจะตั้งข้อสังเกตด้วยว่าข้าราชการคนนั้นมีส่วนพัวพันกับส่วยทางหลวงหรือไม่ และอีกคำตอบหนึ่งที่ยอมรับไม่ได้ คือการบอกว่าจะตั้งคณะกรรมการสอบแบบแก้เกี้ยว ถ่วงเวลาให้เรื่องเงียบ สุดท้ายก็จับมือใครดมไม่ได้ ก่อนจะบอกประชาชนว่าถ้าใครมีหลักฐานให้แจ้งมา การตอบแบบนี้ ประชาชนมีสิทธิจะตั้งคำถามกลับว่าถ้ารู้อยู่แก่ใจว่ามีขยะอยู่ในบ้านตัวเอง ทำไมถึงไม่ยอมเก็บกวาด ทำไมต้องรอให้ประชาชนมาชี้ว่ากองขยะกองอยู่ตรงไหน

นายวิโรจน์ ยังระบุด้วยว่า การแก้ปัญหาส่วยทางหลวง ต้องทำควบคู่กัน 2 ด้าน ประกอบด้วย ด้านที่ 1 คือการปราบปรามวงจรการส่งส่วยให้สิ้นซาก หากหลักฐานสาวถึงข้าราชการคนใด ต้องส่ง ป.ป.ช. เอาเรื่องให้ถึงที่สุด และใช้กลไกของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.) ในการยึดทรัพย์

ด้านที่ 2 คือการทบทวนกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ต่างๆ ที่ไม่สอดคล้องในการปฏิบัติงานจริง เปิดช่องว่างให้ข้าราชการบางคน ใช้เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้ง รังควาน รีดไถหรือเรียกรับผลประโยชน์จากประชาชน ถ้าพบต้องมีการดำเนินการทั้งคดีอาญาและทางวินัย ไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่าง

เช่น กรณีน้ำหนักบรรทุกของรถพ่วง แต่เดิมกำหนดไว้ที่ 52-58 ตัน ต่อมา คสช. ปรับลดลงเหลือไม่เกิน 50.5 ตัน เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2557 มีข้อสงสัยว่าการปรับลดลงมาเพื่อบีบให้ผู้ประกอบการทำผิดกฎหมายโดยปริยายและต้องยอมจ่ายส่วยหรือไม่ เพราะตามหลักการวิศวกรรมสากล การป้องกันไม่ให้ถนนชำรุดจากน้ำหนักบรรทุก โดยทั่วไปจะไม่นำน้ำหนักบรรทุกรวมมากำหนดเป็นเกณฑ์ แต่จะนำน้ำหนักบรรทุกเฉลี่ยต่อล้อมาใช้เป็นเกณฑ์แทน เช่น น้ำหนักบรรทุกเฉลี่ยต่อล้อต้องไม่เกิน 2.5 ตัน เป็นต้น ถ้าน้ำหนักบรรทุกมาก จำนวนล้อที่มาเฉลี่ยรับน้ำหนักก็ควรต้องมากตาม

ซึ่งประเด็นนี้ ไม่ใช่เรื่องสลับซับซ้อน เพียงสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิศวกรรมโยธา ก็สามารถทบทวนแก้ไขกฎระเบียบให้มีความสมเหตุสมผล เป็นไปตามหลักวิศวกรรมสากลได้ และเมื่อเกณฑ์ได้รับการปรับปรุงแล้ว หากพบรถบรรทุกคันใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องดำเนินการจับกุมเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย ส่วนหากถนนยังชำรุดอีก ก็ต้องตรวจสอบต่อว่าการก่อสร้างเป็นไปตามสเปคหรือไม่ ดังนั้น ไม่ว่าต้นเหตุของปัญหานี้คืออะไร ตำรวจไม่สามารถใช้เป็นเหตุในการรีดไถหรือเก็บส่วยจากประชาชน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันพฤหัสดี ที่ 1 มิ.ย.นี้ จะมีตัวแทนจากสมาคมขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย ประมาณ 30 คน เข้ายื่นหนังสือและหารือกับ ว่าที่ ส.ส.วิโรจน์ ที่อาคารอนาคตใหม่ ย่านรามคำแหงด้วย

[จเรตำรวจแห่งชาติ ดึงคนนอกร่วมตรวจสอบปม ‘ส่วยทางหลวง’]  

ด้านความเคลื่อนไหวของทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.วิสนุ ปราสาททองโอสถ จเรตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยในวันที่ 30 พ.ค. 66 ว่า ตนได้สั่งการให้จเรตำรวจทั่วประเทศ ลงพื้นที่เพื่อรวบรวมข้อมูลและพยานหลักฐานต่างๆ และต้องเชิญนายวิโรจน์ และนายกสมาพันธ์รถบรรทุกแห่งประเทศไทย รวมทั้งตำรวจทางหลวงที่ถูกพาดพิงว่า มีส่วนเกี่ยวข้องในการรับส่วยเข้ามาให้ข้อมูลด้วย

กระบวนการตรวจสอบครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกที่จะมีการเชิญ คณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนเรื่องตำรวจหรือ ก.ร.ตร. ซึ่งประกอบไปด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน ผู้พิพากษา อัยการ ทนายความ ตำรวจระดับผู้บัญชาการขึ้นไป ผู้แทนระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบล และจเรตำรวจแห่งชาติ ในฐานะกรรมการและเลขานุการ รวมทั้งหมด 10 คน มาร่วมพิจารณาเรื่องร้องเรียนดังกล่าว เชื่อมั่นว่า การตรวจสอบจะมีความเข้มข้น และภายหลังจากคณะกรรมการฯ มีมติแล้ว จะมีบทลงโทษที่ชัดเจน และจะส่งเรื่องไปให้กับผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดพิจารณาลงโทษทันที คาดว่าจะทราบผลการตรวจสอบภายใน 15 วัน

มีรายงานด้วยว่า  ทางกระทรวงคมนาคม ก็มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ มาตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการติดสินบนเจ้าหน้าที่ด้วยการติดสติกเกอร์บนรถบรรทุก โดยมีรองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านทางหลวง เป็นประธาน

ส่วน กรมการขนส่งทางบก เตรียมเชิญผู้ประกอบการรถบรรทุกร่วมหารือ พร้อมตั้งคณะกรรมการสอบสวน ตั้งเป้าใน 15 วัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

เด้ง ‘ผู้การทางหลวง’ หลัง ‘วิโรจน์ ก้าวไกล’ แฉ ‘ส่วยสติ๊กเกอร์’ รถบรรทุก

‘วิโรจน์’ ตอกกลับ ‘ผู้การทางหลวง’ หลังบอกเรื่องส่วยคือปลายเหตุ

สรุปปมร้อน ‘ส่วยสติ๊กเกอร์’ ติดปุ๊บผ่านฉลุย

 


 

My Country Talks ร่วมกับสำนักข่าว TODAY ขอเชิญผู้ที่มีความสนใจ เข้าร่วมกิจกรรม World Talks ที่จะชวนคนจากหลากหลายพื้นที่ของโลกมาแลกเปลี่ยนไอเดีย เรื่องราว มุมมอง ผ่านการสนทนาแบบ 1:1

ผู้เข้าร่วมจะได้รับโอกาสพูดคุยกับผู้ที่มาจากต่างวัฒนธรรม ต่างบริบท ต่างแนวคิด โดยคัดจากการตอบคำถามในแง่มุมต่างๆ

หากท่านสนใจเข้าร่วม สามารถเริ่มต้นจากการตอบคำถามด้านล่างนี้ หรือเข้าไปที่ https://www.theworldtalks.org/invite

*คำถามและบทสนทนาเป็นภาษาอังกฤษ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า