Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

‘การท่องเที่ยว’ เป็นฮีโร่ที่ช่วยพยุงเศรษฐกิจ และขับเคลื่อนธุรกิจต่างๆ สร้างรายได้หลักให้ประเทศไทย มาต่อเนื่องนับสิบปี แต่ในช่วงวิกฤตโรคโควิด-19 มีการล็อกดาวน์ประเทศ เบรคการเดินทาง เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรค ก็ทำเอาทุกธุรกิจที่พึ่งพิงนักท่องเที่ยวต่างได้รับบทเรียนครั้งใหญ่ workpointTODAY ชวน ‘ขัตติยา อินทรวิชัย’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย มาร่วมพูดคุยในหัวข้อ “เดินหน้าท่องเที่ยวไทย พ้นวิกฤติโควิด-19” งาน THAILAND TOMORROW by workpointTODAY ทอล์คความรู้ฉีดวัคซีนเศรษฐกิจไทย เตรียมพร้อมเทคออฟเศรษฐกิจอย่างเข้มแข็ง

‘ขัตติยา’ ซีอีโอหญิงคนแรกของธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ในช่วงกว่าทศวรรษที่ผ่านมา (2551-2563) เศรษฐกิจไทยเติบโตต่ำกว่าภูมิภาคอาเซียน โดยรายได้จากธุรกิจการท่องเที่ยวเป็น ‘ฮีโร่’ ที่ช่วยพยุงเศรษฐกิจประเทศไทยมาโดยตลอด ในปี 2562 ธุรกิจท่องเที่ยวสร้างรายได้ให้กับประเทศ 3 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนถึง 18% ของจีดีพีประเทศ ในจำนวนนี้เป็นรายได้ที่มาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ 2 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 12% ของจีดีพี และรายได้จากนักท่องเที่ยวไทย 1 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 6% ของจีดีพี

นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย

โควิด-19 ทำธุรกิจท่องเที่ยวทั่วโลก ทรุดตัวต่ำสุดในรอบ 33 ปี

วิกฤตโควิด-19 ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ธันวาคม 2562 เป็นต้นมา ทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวทั่วโลกทรุดตัวต่ำสุดในรอบ 33 ปี ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวทั้งระบบตั้งแต่ โรงแรมที่พัก ร้านอาหาร ร้านขายของฝาก ธุรกิจรถเช่า ที่อยู่ในจังหวัดท่องเที่ยว โดยในปี 2563 รายได้ธุรกิจท่องเที่ยวของไทยหายไปจากระบบเป็นมูลค่ากว่า 2.1 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 13% ของจีดีพี และเมื่อโควิด-19 ระลอกใหม่มา ทำให้การฟื้นตัวของธุรกิจช้ากว่าเดิม โดยในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2564 ธุรกิจท่องเที่ยวของไทยสูญเสียรายได้ไปแล้วคิดเป็นมูลค่ากว่า 5.5 หมื่นล้านบาท

ธุรกิจท่องเที่ยวไทย คาดใช้เวลากว่า 3 ปี จะฟื้นตัวกลับมาใกล้เคียงปี 2562 

แน่นอนว่าธุรกิจการท่องเที่ยวของไทย ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 มากกว่าธุรกิจอื่น จึงฟื้นตัวช้ากว่าธุรกิจอื่น คาดว่าอาจจะต้องใช้เวลากว่า 3 ปี หรือประมาณปี 2567 ในการจะฟื้นตัวกลับมามีรายได้ที่ประมาณ 2.7 ล้านล้านบาท ใกล้เคียงกับที่เคยทำได้ในปี 2562 ที่ 3 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นระดับก่อนเกิดวิกฤติโควิด-19 ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับนโยบายการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติของไทย นโยบายการให้ออกมาเที่ยวนอกประเทศของแต่ละประเทศ และความคืบหน้าของการฉีดวัคซีน

“การท่องเที่ยวไม่ได้มีแค่โรงแรม แต่รวมถึงการขนส่ง สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ของที่ระลึก ร้านอาหาร ฯลฯ มีผู้ประกอบการกว่า 400,000 ราย หรือเท่ากับ 12% ของผู้ประกอบการทั้งหมด และมีการจ้างงานกว่า 4,000,000 ราย หรือเท่ากับ 10% ของการจ้างงานทั้งหมด เมื่อเกิดโควิด-19 รายได้จากการท่องเที่ยวลดลงเหลือไม่ถึง 1 ล้านล้านบาท ส่วนธุรกิจที่เกี่ยวข้องรายได้หายไปเฉลี่ย 70%”

“คำถามก็คือว่า หลังจากโควิดแล้วเมื่อไหร่เศรษฐกิจถึงจะกลับคืนมาเหมือนเดิม ? และการท่องเที่ยวจะใช้เวลาเท่าไหร่ถึงจะกลับมาดีเหมือนก่อนโควิดได้ คำตอบคือใช้เวลา 3 ปีค่ะ เพราะฉะนั้นเป็นเวลาที่ค่อนข้างยาวเลยนะคะ”

 

แผนฟื้นฟูของภาคการท่องเที่ยวอย่างไร ในช่วง 3 ปี ให้กลับมาเหมือนเดิม

ช่วงระหว่าง 3 ปีนี้ ‘ขัตติยา’ มองว่าเป็นโอกาสที่ภาคการท่องเที่ยวจะต้องมาถอดบทเรียนร่วมกัน เพื่อปรับตัวให้พร้อมในวันที่นักท่องเที่ยวพร้อมออกเดินทางอีกครั้ง โดยแบ่งระยะเวลาในการฟื้นตัวของธุรกิจท่องเที่ยวไทย แบ่งออกเป็น 3 เฟส

  1. Domestic travelling ไทยเที่ยวไทย คนไทยต้องเที่ยวไทยก่อน แม้ว่าภาพรวมรายได้จากการท่องเที่ยวจะเกิดจากคนไทยแค่ 1 ล้านล้านบาท แต่ก็ยังดีกว่าไม่มีอะไรเลย
  2. Regional travelling การเดินทางเพื่อธุรกิจในภูมิภาค หมายความว่าเป็นการเดินทางที่ใช้เวลาไม่เกิน 3-5 ชั่วโมง เดินทางมาแล้ว ก็มาพักที่ประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นนักท่องเที่ยวในกลุ่มธุรกิจ
  3. Global travelling การท่องเที่ยวทั่วโลก ใช้เวลาเดินทางนานกว่า ซึ่งเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวเป้าหมาย ที่ต้องการให้พักในไทยนานๆ ใช้จ่ายเงินเยอะๆ ด้วย

และปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่จะเป็นตัวช่วยให้การท่องเที่ยวฟื้น คือ วัคซีนพาสปอร์ต (Vaccine Passport) แต่อาจจะต้องใช้เวลา ขึ้นอยู่กับการฉีดวัคซีนของคนทั่วโลก การยอมรับในประสิทธิผลของวัคซีน และกระบวนการของประเทศไทยในรองรับการเข้ามาของนักท่องเที่ยว

“การท่องเที่ยวเคยเป็น ฮีโร่ของเรากำลังเจอศึกหนัก เพราะฉะนั้นในโจทย์ที่อยากจะชวนคิด เราต้องมีโจทย์ทั้งในการมองใกล้ และมองไกล มองใกล้ก็คือว่าจะทำยังไงที่เราจะอยู่รอดได้ การจ้างงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะยังคงมี มองไกลก็คือว่าถ้าเราพ้นโควิดไปแล้ว สถานการณ์โควิดดีขึ้นแล้ว เราจะต้องทำอย่างไรที่จะแก้ปัญหา ในเชิงเป้าหมายแห่งความยั่งยืน”  

หากผู้ประกอบการสามารถประเมินตนเองได้ด้วยแนวทางเบื้องต้น ดังต่อไปนี้ ก็เชื่อมั่นว่าจะสามารถอยู่รอดไปได้

  • “รายได้” ควรลดลงไม่เกิน 70% และมีแหล่งรายได้ที่หลากหลาย สร้างรายได้จากช่องทางอื่นได้
  • “รายจ่าย” บริหารค่าใช้จ่ายให้สอดคล้องกับรายได้ โดยมีค่าใช้จ่ายต่อเดือนน้อยกว่า 65% ของรายได้
  • “สภาพคล่อง” มีเงินทุนหมุนเวียนขั้นต่ำ 6 เดือน
  • “คืนทุนแล้ว” โดยเป็นกิจการที่ดำเนินธุรกิจมาจนคืนทุน หรือมีภาระดอกเบี้ยจ่ายต่ำ

Sustainable Tourism โจทย์ระยะไกลที่ต้องให้ความสำคัญ ให้ท่องเที่ยวเป็น ฮีโร่ที่ยั่งยืน

ที่สำคัญภาคธุรกิจท่องเที่ยวไทยยังมี “โจทย์ระยะไกล” คือ สร้างธุรกิจการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน (Sustainable Tourism) แก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างและทรัพยากรต่าง ๆ ที่กระทบขีดความสามารถทางการแข่งขัน กระจายรายได้สู่ชุมชน ธรรมชาติและมรดกทางวัฒนธรรมไม่ถูกทำลาย นับเป็นโจทย์ที่ต้องปรับตัวทั้งในนโยบายระดับประเทศ และภาคธุรกิจต้องร่วมมือกัน ในการสร้างความสมดุล ระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

“โจทย์การท่องเที่ยวที่จะเกิดความยั่งยืนขึ้นมาได้ เราต้องการให้เกิดการท่องเที่ยวและสร้างประสบการณ์ที่ดี ในแบบที่นักท่องเที่ยวมีคุณภาพมากขึ้น ใช้เวลาอยู่ในประเทศไทยนานมากขึ้น ใช้จ่ายมากขึ้น ไปจังหวัดที่เป็นเมืองรองมากขึ้น กระจายรายได้ไปสู่ทุกๆ คนมากขึ้น และสุดท้ายคือเรื่องขีดความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น” 

คอนเซ็ปต์เพื่อให้มีการเติบโตด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือที่เรียกว่า Sustainable Tourism มี 3 ประเด็นด้วยกัน

1) สร้าง New Travel Culture ย้ายจาก Red Ocean ที่แข่งขันกันด้วยราคา เน้นปริมาณนักท่องเที่ยว เปลี่ยนเป็น Blue Ocean เน้นสร้างประสบการณ์ดีๆ แก่นักท่องเที่ยว และเพิ่มอีก 2 Oceans คือ Green Ocean การท่องเที่ยวแบบอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และ White Ocean การท่องเที่ยวที่ชุมชนมีส่วนร่วม

2) Collaboration การร่วมมือระหว่างรัฐบาล เอกชน และชุมชน ดึงเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่นขึ้นมานำเสนอ ทำให้นักท่องเที่ยวได้ประสบการณ์ที่แตกต่างและไปเที่ยวหลายๆ ที่

3) Digitalization แบ่งเป็น 5 Steps คือ

– Smart Information จัดทำข้อมูลที่ถูกต้อง สำคัญ นักท่องเที่ยวต้องการรู้

– Smart Sharing ทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงและนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้

– Smart Planning นำข้อมูลไปวางแผน-ทำการตลาดเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว

– Smart Community ทำให้นักท่องเที่ยวสามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์และข้อมูลกันได้

– Smart Experience มีแพลตฟอร์มที่ทำให้นักท่องเที่ยวสามารถวางแผน เดินทาง ใช้จ่าย ได้ตั้งแต่ต้นจนจบ และได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด

“Luck Is What Happens When Preparation Meets Opportunity” แปลว่าโชคดีจริงๆ มันไม่มีหรอก จริงๆ แล้วมันเกิดขึ้นจากการเตรียมตัว เตรียมพร้อม และเมื่อโอกาสเกิดขึ้น เราสามารถคว้ามันไว้ได้ เพราะถ้าเราไม่พร้อม โอกาสผ่านไป เราจะคว้าไว้ไม่ได้”

สุดท้าย ‘ขัตติยา’ มองว่าไทยต้องปรับปรุงพัฒนาการท่องเที่ยวตั้งแต่ตอนนี้ เพราะเมื่อประเทศเปิด นักท่องเที่ยวกลับมา ไทยจะได้พร้อมสำหรับโอกาสการท่องเที่ยวจะกลับมาเป็น ‘ฮีโร่’ ที่แข็งแกร่งอีกครั้ง แต่เศรษฐกิจไทยพึ่งพาการท่องเที่ยวอย่างเดียวไม่ได้ ไทยต้องการ ‘ฮีโร่’ เพิ่มขึ้น จึงจะต้องมีการปรับปรุงเชิงโครงสร้าง ขณะที่อุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ไทยมีศักยภาพ เช่น Healthcare รถยนต์ไฟฟ้า อาหารเพื่อสุขภาพ เป็นต้น สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างยั่งยืน เติบโตได้ดี และไม่แพ้ประเทศเพื่อนบ้าน

“ในเรื่องของเศรษฐกิจ เราควรจะต้องปรับปรุงในเชิงโครงสร้าง เราต้องมี Structural change หมายความว่าเราต้องการฮีโร่ ในหลายๆ อุตสาหกรรม มากกว่าการท่องเที่ยว เพราะฉะนั้นในเรื่องของฮีโร่ เราต้องการฮีโร่เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศไทยเติบโตไปได้อย่างยั่งยืน” ขัตติยา กล่าวทิ้งท้าย

 

รับชม ‘ขัตติยา อินทรวิชัย’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย ในงาน THAILAND TOMORROW by workpointTODAY ทอล์คความรู้ฉีดวัคซีนเศรษฐกิจไทย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า