Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ก่อนหน้านี้อายุ 30 ดูจะเป็นจุดในชีวิตที่ถูกพูดถึงบ่อย ๆ ในภาพยนตร์หรือซีรีส์ แต่ดูเหมือนทุกวันนี้ “40 is the new 30” หรือ อายุ 40 ก็เหมือนกับ 30 ในสมัยก่อน เพราะในช่วงปีสองปีนี้เราได้พบกับซีรีส์หลายเรื่องที่พูดถึงช่วงวัยปลาย 30 หรือ อายุ 40 มากขึ้น อย่างเช่น ‘Now We are Breaking Up’ ที่จบไปก่อนหน้านี้ และ ‘Thirty-Nine’ ซีรีส์ที่มีชื่อไทยง่าย ๆ ว่า ‘สามสิบเก้า’ ก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วยเรื่องราวที่มีพล็อตคล้ายคลึงกัน

แต่มีรายละเอียดที่ต่างออกไปด้วยการเน้นความรักระหว่างเพื่อนอย่างจริงจังกว่าและการตีความวัย 39 เหมือนเป็นจุดเปลี่ยนในชีวิตไม่แพ้กับการรับปริญญา สะท้อนผ่านภาพ poster ที่ทั้งสามใส่มงกุฏดอกไม้ ถ่ายรูปด้วยกัน

‘Thirty-Nine’ บอกเล่าเรื่องราวของเพื่อนรักสาวโสดสามคนในวัย 39 ปี ‘ชามีโจ’ (รับบทโดย ซนเยจิน) หมอผิวผู้อำนวยการสถาบันเสริมความงาม จองชานยอง (รับบทโดย จอนมีโด) ครูสอนการแสดง และ จางจูฮี (รับบทโดย คิมจีฮยอน) ผู้จัดการร้านในห้างสรรพสินค้า ทั้งสามต้องเผชิญความเปลี่ยนแปลงในชีวิตที่มาพร้อมกับช่วงวัยปลายสามสิบ ทั้งเรื่องความรักที่มีทั้งรักรุ่นเดียวกัน รักรุ่นน้อง รักคนมีเจ้าของ และเรื่องร้ายที่พร้อมจะเข้ามาโถมชีวิตของพวกเขาได้ทุกเมื่อ ทำให้วัย 39 ปีเป็นช่วงชีวิตที่มีทั้งรอยยิ้มและน้ำตา

นอกจากเรื่องราวความรักของเพื่อนทั้งสามในเรื่อง สิ่งหนึ่งที่ชวนอินคือชีวิตของผู้หญิงวัยปลาย 30 ที่ทำออกมาได้น่ารักและมีเค้าความจริงอยู่มาก ตั้งแต่เปิดฉากเรื่องด้วยเรื่องใกล้ตัวที่ผู้ชมก็อินได้ไม่ยากอย่างอาการปวดหลัง อาชีพการงานที่หลากหลายทั้งเจ้าของกิจการ พนักงานประจำ และฟรีแลนซ์ ไล่ไปจนชีวิตรักที่สะท้อนความจริงของผู้หญิงส่วนใหญ่ในเกาหลีใต้และทั่วโลกคือมีแนวโน้มที่จะแต่งงานช้า ไม่มีลูก และอัตราหญิงโสดในวัย 30 ที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ

ในปี 2020 มีรายงานว่า 42.5% ของคนในวัย 30 ที่เกาหลีใต้นั้นอยู่เป็นโสดมากกว่าปี 2015 ถึง 6.2% และมีผู้หญิงที่ไม่แต่งงานอยู่ถึง 33.6% หลายที่กล่าวว่าเป็นเพราะสถานการณ์โควิดที่ทำให้คนแต่งงานน้อยลงด้วย แต่เมื่อดูสถิติไปเรื่อย ๆ ก็ยิ่งเห็นได้ว่าการไม่มีคู่ของผู้หญิงเกาหลีใต้นั้นอาจจะเป็นด้วยความสมัครใจ เพราะมีจากรายของ Statista ในปี 2021 ที่เผยว่ามีผู้หญิงแค่ 33% ที่คิดว่าต้องแต่งงาน เมื่อเทียบกับผู้ชาย 57% ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการแต่งงงานสำหรับผู้หญิงในสมัยนี้ดูจะเป็นทางเลือกมากกว่าสิ่งที่ต้องทำ ประเด็นนี้ยืนยันได้ในรายงานอีกฉบับที่เผยสาเหตุว่าทำไมผู้หญิงเกาหลีถึงไม่อยากแต่งงาน เพราะเหตุผลที่มาแรงอันดับหนึ่งในหมู่ผู้หญิงคือไม่รู้สึกว่าการแต่งงานเป็นเรื่องจำเป็น

ยังไม่รวมอุปสรรคแรกก่อนการแต่งงานคือการหาคู่ เพราะความกดดันจากสังคมและพ่อแม่ที่ต้องการให้เลือกคู่ชีวิตที่เพียบพร้อม ซึ่งสะท้อนผ่านฉากที่ชามีโจไปพบพ่อของคุณหมอคิมซอนอู ซึ่งแม้ชามีโจจะเป็นหมอและผู้อำนวยการ แต่เมื่อคุณพ่อของซอนอูรู้ว่าเธอเป็นเด็กกำพร้าที่ได้รับการอุปการะความชื่นชมนั้นก็เปลี่ยนไป ความต้องการของพ่อแม่และค่านิยมของสังคมอาจจะเป็นสาเหตุว่าทำไมเซอร์เวย์ของ Statista ถึงได้มีผลว่าคน 65.6% ระบุว่าถ้าเป็นไปได้พวกเขาจะเลือกคู่ที่มีฐานะการเงินและสังคมใกล้เคียงกันที่สุด และมีจำนวนมากในนั้นที่ระบุว่าอาจจะพิจารณาเรื่องหย่าถ้าพบว่ามีความแตกต่างกันเรื่องนี้หลังแต่งงาน ความยากในการหาแฟนทำให้หลายคนยอมแพ้กับการมีคู่ไปเลยตั้งแต่แรก

สถานการณ์ที่เกาหลีกำลังเผชิญนั้นไม่ต่างจากในประเทศไทยและชาติอื่น ๆ ในเอเชียเท่าไรนัก เพราะจากงานวิจัยโดย ดร. ศศิวิมล วรุณศิริ ปวีณวัฒน์ และ ลูซี่ เหลา ที่กล่าวถึงปรากฏการณ์ Marriage Strike ทั่วเอเชียที่คนไม่แต่งงาน เผยว่าร้อยละ 50–60 ของผู้หญิงไทยรุ่นใหม่หรือที่เกิดในช่วง 1980s ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปนั้นครองตัวเป็นโสด และนอกจากนี้ยังพบแนวโน้มของการที่มี Gold Miss เพิ่มจำนวนมากขึ้นที่ผู้หญิงซึ่งมีฐานะดีและการศึกษาสูง ไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องแต่งงาน หรือไม่ได้เร่งรีบที่จะต้องมีคู่ ด้วยความกดดันว่าถ้าแต่งงานไปจะต้องรับผิดชอบงานทั้งนอกและในบ้าน ไม่ต่างกับเกาหลีใต้และประเทศในแถบเอเซียอื่น ๆ

ความกดดันของการดูแลครอบครัวของฝ่ายชายทำให้ผู้หญิงในสมัยนี้ที่ให้ความสำคัญกับความก้าวหน้าในอาชีพ เลือกที่จะตัดภาระนี้ออกไป เพราะชีวิตโสดก็ดูจะแสนสุขได้ไม่แพ้การมีคู่ บทความจาก The Guardian ที่เพิ่งตีพิมพ์ไปเมื่อเดือนที่แล้ว นำเสนอวัฒนธรรมของการอยู่เป็นโสดและตั้งปฏิญาณว่าจะไม่แต่งงานของคนเกาหลีอย่าง 비혼 (บีฮน) มีมากขึ้นทุกที ในบทความมีบทสัมภาษณ์ของ อีเยอึน หญิงสาวคนหนึ่งที่แสดงความคิดเห็นว่าการที่เธอตั้งใจจะไม่มีแฟนหรือไม่แต่งงาน ไม่ใช่เพราะว่าเธอไม่เจอผู้ชายดี ๆ แต่เป็นเพราะว่าสังคมทำให้ผู้หญิงอยู่ในตำแหน่งที่โดนเอาเปรียบทันทีที่เริ่มความสัมพันธ์ ซึ่งแน่นอนว่าไม่มีผู้หญิงคนไหนอยากเผชิญสถานการณ์นี้  โดยเฉพาะในเกาหลีใต้ซึ่งเป็นประเทศที่มีปัญหาเรื่องความไม่เท่าเทียมทางเพศมากที่สุดประเทศหนึ่งในกลุ่ม OCED อยู่แล้ว ด้วยตำแหน่งท้ายสุดของการจัดอันดับ Glass-Celing Index ในปี 2021 ที่วัดองค์ประกอบแวดล้อมการทำงานที่จะช่วยให้ผู้หญิงไม่ติดอยู่ใต้เพดานกระจก ซึ่งขวางไม่ให้พวกเธอก้าวหน้าในอาชีพไปทัดเทียมผู้ชายได้ เช่น การศึกษา รายได้ สวัสดิการ ฯลฯ นอกจากนี้ อีเยอึน ยังเผยอีกว่าการอยู่เป็นโสดทำให้เธอมีเวลาทำอย่างอื่นที่เธออยากทำ และทำให้รู้ว่าการใช้เวลากับเพื่อนช่างมีค่า

Thirty-Nine สะท้อนประเด็นเหล่านี้ได้อย่างชัดเจน แม้ว่าเรื่องจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการมีความรักในวัย 39 แต่ก็ยังเน้นไปที่เรื่องความสัมพันธ์ของเพื่อนมากกว่าอย่างชัดเจน และตัวละครเองก็แสดงให้เห็นอยู่เสมอว่าสำหรับเธอมิตรภาพและความสุขในชีวิตเป็นสิ่งที่เธอเลือกเป็นอันดับหนึ่ง เหนือความรักแบบชายหญิง หรือความต้องการของพ่อแม่ และการที่ทั้งสามไม่มีแฟน ไม่ใช่เพราะเป็นเจ้าหญิงน้ำแข็งมีปมด้านความรักเหมือนตัวละครจากซีรีส์ในยุคก่อน แต่เป็นเพราะชีวิตสามารถถูกเติมเต็มได้ในรูปแบบอื่น

แต่ Thirty-Nine เองก็ไม่ได้เป็นซีรีส์เน้นความเพื่อนหญิงพลังหญิงที่ต่อต้านการมีคู่ เพราะหากมองลึกลงไปให้ดีจะเห็นว่าตัวซีรีส์เองก็รวมเอาทางเลือกใหม่ของการมีครอบครัว ไว้อย่างแนบเนียน

  • ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ของสองคุณหมอที่แสดงให้เห็นว่า ถึงจะให้ความสำคัญกับเรื่องอื่นในชีวิตมากกว่า ก็ยังมีครอบครัวของตัวเองได้ ด้วยการเอาความสัมพันธ์แบบคู่รักมาเป็นตัวซัพพอร์ท เป็นพื้นที่ปลอดภัยที่เรามาพักใจได้เวลาเผชิญปัญหาอื่น ๆ โดยที่ไม่ได้ไปเบียดบังเวลาที่ให้กับงาน เพื่อน หรือครอบครัว
  • การรับอุปการะเด็กมาเป็นสมาชิกครอบครัวอาจจะเป็นทางเลือกที่ดี ที่มาเติมเต็มครอบครัวได้เช่นเดียวกับครอบครัวของนางเอก
  • ความสัมพันธ์ระหว่างจองชานยองและจินซอก ที่นำเสนอให้เห็นว่าการแต่งงานครั้งที่สอง หรือมีความรักใหม่หลังจากหย่าร้าง (ถ้าหากไม่ได้ทำผิดต่อใคร) ก็เป็นเรื่องที่ควรให้ความเข้าใจและสนับสนุน ซึ่งก็สอดคล้องกับ อัตราการแต่งงานใหม่ครั้งที่สองที่ดูจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยจากปี 1982 – 2012 สถิติการแต่งงานใหม่ของผู้ชายเกาหลีนั้นเพิ่มขึ้น5% และของผู้หญิงเพิ่มมากถึง 227.6%
  • รักต่างวัยของจางจูฮีและคุณเชฟ ก็เป็นหนึ่งในรูปแบบความสัมพันธ์ที่ค่อย ๆ เพิ่มสูงขึ้น หลังจากที่ซีรีส์เกาหลีที่นำเสนอภาพลักษณ์ของความรักต่างวัยแบบที่ฝ่ายหญิงอายุมากกว่าฝ่ายชายให้ดูน่ารัก โดยในปี 2017 มีรายงานว่ามีคู่แต่งงานที่ฝ่ายหญิงอายุมากกว่าอยู่ 16.9% จากการแต่งงานครั้งแรกทั้งหมดในปีนั้น ซึ่งสูงขึ้นกว่าปีก่อนหน้า

เหมือนกับที่บทความวิจัยเรื่อง ‘การปฏิวัติเงียบในครอบครัวเกาหลี’ ที่เขียนโดย พัคซังยอบ ว่าไว้ว่าในอนาคตจะมีคนแก่อยู่บ้านคนเดียวมากขึ้นและรูปแบบครอบครัวอาจจะกลายเป็นครอบครัวที่ขยายโดยการรวมครอบครัวผ่านทางการแต่งงานครั้งที่สอง หรือมีคู่แต่งงานต่างวัย Thirty-Nine จึงอาจจะเหมือนการสะท้อนภาพครอบครัวของเกาหลีใต้และในเอเซียอื่น ๆ ที่กำลังจะเปลี่ยนไปในอนาคต เมื่อการแต่งงานตามขนบธรรมดากลายเป็นแค่ทางเลือกหนึ่งของการมีชีวิตที่สมบูรณ์

 

อ้างอิง

 https://www.koreatimes.co.kr/www/culture/2021/10/703_316067.html

https://www.statista.com/statistics/1248697/south-korea-opinion-on-marriage-by-gender/

https://www.statista.com/statistics/1248707/south-korea-reasons-for-not-getting-married-by-gender/#:~:text=According%20to%20a%20survey%20conducted,lack%20of%20need%20for%20it.

https://www.statista.com/statistics/1271080/south-korea-opinions-on-marriage/

https://www.pier.or.th/abridged/2020/04/

https://www.theguardian.com/world/2022/feb/05/happy-alone-the-young-south-koreans-embracing-single-life

https://www.prnewswire.com/news-releases/scandinavia-is-the-best-place-to-be-a-working-woman-according-to-the-economists-2021-glass-ceiling-index-301240651.html

http://kostat.go.kr/portal/eng/pressReleases/8/11/index.board?bmode=read&bSeq=&aSeq=311954&pageNo=1&rowNum=10&navCount=10&currPg=&searchInfo=&sTarget=title&sTxt=

https://www.koreatimes.co.kr/www/culture/2020/08/703_258991.html#:~:text=But%20there%20were%20about%2034%2C800,increase%20on%20the%20previous%20year.

https://journals.sagepub.com/doi/pdf/10.1177/1536504215585785

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า