Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ผู้นำชาติสมาชิก G7 ประชุมออนไลน์พร้อมคุยผู้นำยูเครน ก่อนออกแถลงการณ์แสดงจุดยืนจะหนุนยูเครนต้านทานรัสเซียตราบนานเท่านาน ขณะที่เยอรมนีจะส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศช่วยยูเครน หลังรัสเซียยิงขีปนาวุธถล่มกรุงเคียฟและเมืองอื่นๆ ของยูเครน
.
การประชุมออนไลน์ของผู้นำชาติสมาชิก G7 เมื่อวานนี้ (11 ต.ค.) ได้ข้อสรุปหลังจากที่ประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครนร้องขอให้ชาติ G7 เพิ่มกำลังความช่วยเหลือแก่ยูเครนในทุกด้าน รวมทั้งความช่วยเหลือเกี่ยวกับการป้องกันภัยทางอากาศ
.
โดยแถลงการณ์หลังการประชุมของชาติสมาชิก G7 ซึ่งประกอบไปด้วยสหรัฐฯ, เยอรมนี, ฝรั่งเศส, ญี่ปุ่น, สหราชอาณาจักร, อิตาลี และแคนาดา ยืนยันจะให้ความช่วยเหลือแก่ยูเครน ทั้งด้านการเงิน มนุษยธรรม การทหาร การทูต และการสนับสนุนทางกฎหมายตราบนานเท่านาน

ชาติสมาชิก G7 ยังแสดงจุดยืนด้วยว่า การโจมตีของรัสเซียที่พุ่งเป้าพลเรือน เป็นการกระทำที่ไม่ต่างจากอาชญากรสงคราม และประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย ต้องรับผิดชอบในเรื่องนี้
.
บรรดาชาติสมาชิก G7 ยังมีความกังวลถึงการใช้อาวุธเคมี อาวุธชีวภาพ รวมถึงอาวุธนิวเคลียร์ของฝ่ายยูเครน โดยนายฟุมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ได้ย้ำถึงความพยายามหยุดใช้อาวุธนิวเคลียร์ ในฐานะที่ญี่ปุ่นเคยตกเป็นเหยื่อการโจมตีในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2
.
แม้ผู้นำชาติ G7 จะไม่ได้ให้คำมั่นโดยตรงถึงความช่วยเหลือเกี่ยวกับระบบป้องกันภัยทางอากาศ ผ่านการประชุมออนไลน์ครั้งนี้ แต่ก่อนหน้านี้นายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ยืนยันว่า จะให้ความช่วยเหลือที่เกี่ยวข้องกับระบบป้องกันภัยทางอากาศแก่ยูเครน เพื่อป้องกันการโจมตีด้วยขีปนาวุธไปยังเมืองต่างๆ ของรัสเซีย
.
ขณะที่ล่าสุด ยูครินฟอร์ม (Ukrinform) สำนักข่าวของรัฐบาลยูเครน อ้างอิงกระทรวงกลาโหมของเยอรมนีรายงานว่า เยอรมนีกำลังจัดส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศ ‘ไอริส-ที เอสแอลเอ็ม’ (IRIS-T SLM) ระบบแรก จากทั้งหมด 4 ระบบ ให้แก่ยูเครน
.
กระทรวงกลาโหมเยอรมนีทวีตข้อความว่า กรณีรัสเซียส่งขีปนาวุธโจมตีกรุงเคียฟและเมืองอื่นๆ เมื่อไม่นานนี้ สะท้อนว่าศักยภาพการป้องกันภัยทางอากาศนั้นสำคัญต่อยูเครนมากเพียงใด แต่ไม่ได้ระบุเวลาแน่ชัดว่าระบบดังกล่าวจะถูกส่งถึงยูเครนเมื่อใด
.
‘ไอริส-ที เอสแอลเอ็ม’ เป็นระบบป้องกันภัยทางอากาศบนบกที่สามารถโจมตีเครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์ ขีปนาวุธร่อน ปืนใหญ่บนอากาศยาน โดรน ขีปนาวุธต่อต้านคลื่นเรดาร์ และระเบิด
.
ความเคลื่อนไหวจากทุกฝ่ายในตอนนี้ เกิดขึ้นหลังรัสเซียยิงขีปนาวุธกว่า 80 ลูกใส่กรุงเคียฟ และเมืองต่างๆ ในยูเครนเมื่อวันจันทร์ (10 ต.ค.) โดยมีเป้าหมายทำลายสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานและพุ่งเป้าพลเรือน จนทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 19 คน
.
ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย ยอมรับหลังการโจมตีว่า นี่เป็นการแก้แค้นหลังรัสเซียถูกโจมตีสะพานเชื่อมไครเมียเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (8 ต.ค.)
.
ที่มา Al Jazeera, Xinhua

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า