Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย (WeMove) และองค์กรเครือข่ายร่อนแถลงการณ์แสดงจุดยืนต่อประเด็นการศึกษาเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ​ โดยมีการนำเสนอข้อเสนอเชิงหลักการให้มีประเด็นผู้หญิงในรัฐธรรมนูญและเรียกร้องให้กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่าโปร่งใส ตรวจสอบได้โดยสาธารณชน ในงานรัธรรมนูญนี้ดีไซน์ เพื่พวกเรา “ทุกเพศสภาพ”  วันที่ 26 มกราคม 2563 ที่ห้องประชุมบำรุง-รวีวรรณ สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ ถนนเดชะตุงคะ ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร

“สืบเนื่องจากรัฐธรรมนูญ 2560 มีประเด็นในเชิงหลักการและสาระสําคัญหลายประการที่สร้างปัญหาและส่งผลกระทบต่อประชาชนโดยส่วนรวม ผู้หญิง และเพศหลากหลายอย่างมาก ตลอดช่วงของการร่างรัฐธรรมนูญ 2560 ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย (WeMove) และองค์กรเครือข่ายได้เสนอหลายประเด็นต่อคณะกรรมการร่าง รัฐธรรมนูญ แต่ไม่ได้รับการยอมรับที่จะบัญญัติในร่างรัฐธรรมนูญ 2560” ข้อความในแถลงการณ์ระบุ

“ดังนั้น ในการริเริ่มของสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการศึกษาและแก้ไขรัฐธรรมนูญในขณะนี้ ขบวนผู้หญิงปฏิรูป ประเทศไทย (WeMove) และองค์กรเครือข่ายจึงตระหนักถึงความจําเป็นที่จะต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ เป็นประชาธิปไตยและเป็นธรรมกับทุกเพศสภาพ โดยเริ่มการศึกษาวิเคราะห์รัฐธรรมนูญ 2560 ว่ามีข้อเด่น ข้อด้อย อะไร และในการแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระนี้ควรมีกระบวนการอย่างไรในแบบที่ผู้หญิงและทุกเพศสภาพต้องการ ”

ข้อเรียกร้องของขบวนการ “WeMove” และองค์กรเครือข่ายครอบคลุมประเด็นความเท่าเทียมทางเพศหลายประเด็นด้วยกัน ตั้งแต่เรียกร้องให้มีการจัดให้มีสัดส่วนของหญิง-ชาย (Gender Quota) โดยให้มีเพศใดเพศหนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามในองค์กรตัดสินใจทุกระดับ เรียกร้องให้ผู้หญิงและเพศหลากหลายต้องเข้าถึงและได้รับการคุ้มครองในกระบวนการยุติธรรม และพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ต้องมีสันติภาพและปลอดภัยสําหรับผู้หญิง เด็ก และผู้บริสุทธิ์ทุกศาสนา เป็นต้น

ขณะเดียวในข้อเรียกร้องหลายข้อก็ครอบคลุมไปถึงประเด็นสิทธิมนุษยชนที่กระทบต่อพลเมืองทุกคน เช่น เรียกร้องให้มีการบัญญัติเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ สิทธิชุมชน ความเสมอภาคอย่างเป็นรูปธรรม ให้เพิ่มกลไกและประสิทธิภาพของภาคประชาชนในการตรวจสอบนักการเมือง เจ้าหน้าที่รัฐ และองค์กรอิสระ  ส่งเสริมการกระจายอํานาจสู่ท้องถิ่น และให้หลักการข้อเสนอกฎหมาย เอื้ออํานวยต่อประชาชนมากกว่าปัจจุบัน ยืนยันการจัดสวัสดิการสังคมถ้วนหน้า โดยเฉพาะเด็กเล็ก คนพิการ ผู้สูงอายุ และสุขภาพ เป็นต้น

“ไม่ได้มีข้อเสนอเพื่อเฉพาะผู้หญิงเท่านั้น จะเห็นได้ว่าข้อเสนอของเราเป้นข้อเสนอที่พูดถึงสิทธิทั่วไป (Universal Rights) อยู่แล้ว คือผู้หญิงนี่เรามองปัญหาสังคมทั้งองค์รวม ทั้งภาพรวม ข้อเสนอของเราไม่ใช่เป็นข้อเสนอเฉพาะเพื่อผู้หญิง แต่เป็นข้อเสนอสำหรับประชาชนไทยทั้งหมดด้วย” จิระพา หนูชัย ผู้เข้าร่วมกการแถลงกล่าว

“ขอให้มีการแก้ไขทั้งฉบับแล้วก็ขอให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่แค่ส.ส.-ส.ว.เป็นผู้แก้ไข เพื่อเป็นหลักประกันของเนื้อหา แล้วก็ต้องมีกระบวนการการรับฟังความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง มีสภาร่างทุกเพศ ทุกอาชีพ ทุกสัดส่วน อันนี้จะเป็นหลักประกันพื้นฐาน” สุนี ไชยรส ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมความเสมอภาคและความเป็นธรรม วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม .รังสิต ระบุ

แถลงการณ์ ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย (WeMove) และองค์กรเครือข่าย

สืบเนื่องจากรัฐธรรมนูญ 2560 มีประเด็นในเชิงหลักการและสาระสําคัญหลายประการที่สร้างปัญหาและส่งผลกระทบต่อประชาชนโดยส่วนรวม ผู้หญิง และเพศหลากหลายอย่างมาก ตลอดช่วงของการร่างรัฐธรรมนูญ 2560 ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย (WeMove) และองค์กรเครือข่ายได้เสนอหลายประเด็นต่อคณะกรรมการร่าง รัฐธรรมนูญ แต่ไม่ได้รับการยอมรับที่จะบัญญัติในร่างรัฐธรรมนูญ 2560 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงการร่างรัฐธรรมนูญปี 2560 นั้น ไม่มีบรรยากาศประชาธิปไตย ขาดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างเพียงพอและกว้างขวาง นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญ 2560 ยังได้บัญญัติเรื่องใหม่ๆ ที่ขัดแย้งต่อหลักการประชาธิปไตย จึงทําให้เกิดปัญหานานัปการตั้งแต่ ประกาศใช้จนถึงปัจจุบัน

ดังนั้น ในการริเริ่มของสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการศึกษาและแก้ไขรัฐธรรมนูญในขณะนี้ ขบวนผู้หญิงปฏิรูป ประเทศไทย (WeMove) และองค์กรเครือข่ายจึงตระหนักถึงความจําเป็นที่จะต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ เป็นประชาธิปไตยและเป็นธรรมกับทุกเพศสภาพ โดยเริ่มการศึกษาวิเคราะห์รัฐธรรมนูญ 2560 ว่ามีข้อเด่น ข้อด้อย อะไร และในการแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระนี้ควรมีกระบวนการอย่างไรในแบบที่ผู้หญิงและทุกเพศสภาพต้องการ

ข้อเสนอเชิงหลักการที่ WeMove ห่วงกังวลและต้องการผลักดันเป็นพิเศษ คือ 

1) ต้องประกันและบัญญัติเรื่อง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ สิทธิชุมชน ความเสมอภาค และความเสมอ

ภาคระหว่างเพศ อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม

2) WeMove ยืนยันหลักความเสมอภาคระหว่างเพศ โดยใช้มาตรการพิเศษเพื่อสร้างความเป็นธรรมทางโอกาส เช่น การจัดให้มีสัดส่วนของหญิง-ชาย (Gender Quota) โดยให้มีเพศใดเพศหนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามใน องค์กรตัดสินใจทุกระดับ รวมทั้งในการเลือกตั้งส.ส. ส.ว. และกรรมการในองค์กรอิสระต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ อีกทั้งขอยืนยันการทํานโยบายและงบประมาณของรัฐทุกหน่วยงานที่ต้องคํานึงถึงเพศสภาพ วัยและสภาพของบุคคล (Gender Responsive Budgeting-GRB) ตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 71 วรรค 4

3) ผู้หญิงและเพศหลากหลายต้องเข้าถึงและได้รับการคุ้มครองในกระบวนการยุติธรรม ปกป้องคุ้มครองนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน และพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ต้องมีสันติภาพและปลอดภัยสําหรับผู้หญิง เด็ก และผู้บริสุทธิ์ทุกศาสนา

4) เพิ่มกลไกและประสิทธิภาพของภาคประชาชนในการตรวจสอบนักการเมือง เจ้าหน้าที่รัฐ และองค์กรอิสระ

5) ส่งเสริมการกระจายอํานาจสู่ท้องถิ่น และให้หลักการข้อเสนอกฎหมาย เอื้ออํานวยต่อประชาชนมากกว่าปัจจุบัน

6) ยืนยันการจัดสวัสดิการสังคมถ้วนหน้า โดยเฉพาะเด็กเล็ก คนพิการ ผู้สูงอายุ และสุขภาพ

7) เพิ่มอํานาจการตัดสินใจของผู้หญิงในการจัดการฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

8) ให้บัญญัติสิทธิแรงงานในหมวดสิทธิเสรีภาพ “บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับหลักประกันด้านความปลอดภัยและสวัสดิ

ภาพในการทํางาน สิทธิด้านหลักประกันในการดํารงชีพทั้งระหว่างการทํางานและเมื่อพ้นภาวะการทํางาน มี ระบบแรงงานสัมพันธ์และระบบไตรภาคีที่ผู้ทํางานมีสิทธิเลือกผู้แทนของตน รวมทั้งระบบประกันสังคมที่เป็นอิสระ” และรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87, 98 และ 183

ข้อเสนอของ WeMove และองค์กรเครือข่ายต่อกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 

1) ให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ประกอบด้วยประชาชนทุกเพศสภาพและทุกภาคส่วน คล้ายคลึงกับสภาร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540

2) มีกลไกรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างกว้างขวางตลอดกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญทุกขั้นตอนนับตั้งแต่ก่อนร่างรัฐธรรมนูญ ระหว่างร่างรัฐธรรมนูญ และหลังจากร่างเสร็จแล้ว

3) ให้ทําประชามติ โดยต้องเผยแพร่อย่างทั่วถึง และให้ประชาชนมีเวลาศึกษาร่างรัฐธรรมนูญ แถลง วันที่ 26 มกราคม 2563 ณ สถาบันวิจัยบทบาทหญิงชายและการพัฒนา

เครือข่ายที่เข้าร่วมแถลงการณ์ฉบับนี้ได้แก่

ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย(WeMove) 

มูลนิธิธีรนาถ กาญจนอักษร

กลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี

มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ กลุ่มผู้หญิงปากมูน

มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

กลุ่มคนงานหญิงเพื่อความยุติธรรม

มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ (Homenet)

กลุ่มเพื่อนหญิงอํานาจเจริญ

มูลนิธิพิทักษ์สตรีและเด็ก คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.)

สถาบันวิจัยบทบาทหญิงชายและการพัฒนา (GDRI) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย

สมาคมผู้หญิงเพื่อสันติภาพ (WePeace)

เครือข่ายสตรีชนเผ่าแห่งประเทศไทย

สมาคมเครือข่ายแรงงานนอกระบบแห่งประเทศไทย

เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย

สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย เครือข่ายสตรีพิการ

สมาคมส่งเสริมสิทธิและความเสมอภาค

เครือข่ายผู้หญิงภาคใต้ตอนบน

สมาพันธ์ศูนย์ประสานแรงงานนอกระบบแห่งประเทศไทย

เครือข่ายเยาวชนศูนย์ฟ้าใส

สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.)

เครือข่ายสตรีชายแดนใต้

ศูนย์พหุวัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เครือข่ายผู้หญิงอีสาน

ศูนย์ส่งเสริมความเสมอภาคและความเป็นธรรม วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

มูลนิธิผู้หญิง

มูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า