Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

จากกรณีแหม่มโพธิ์ดำ เพจดังที่ออกมาเปิดโปงกรณีกักตุนหน้ากากเพื่อส่งออกไปขายยังต่างประเทศ ซึ่งนำมาสู่การร้องให้ถูกตรวจสอบ ทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับการปกป้องผู้เปิดโปง ให้เบาะแสสำคัญกับสาธารณะ

หลายครั้งที่ผู้ซึ่งอยู่ในฐานะ “ผู้ให้เบาะแส” หรือ “วิสเซิลโบลว์เออร์” (Whistleblower) ที่กล้าที่จะเปิดเผยความจริงที่ถูกปิดบัง กลับกลายเป็นฝ่ายที่ถูกข่มขู่ คุกคาม และถูกลงโทษ จากผู้ที่มีอำนาจ ที่ต้องการปกปิดการกระทำที่ไม่ถูกต้องของตน

Whistleblower มาจากคำว่า Whistle ซึ่งแปลว่านกหวีด และคำว่า Blower ที่แปลว่าผู้เป่า เมื่อรวมกัน จึงอาจแปลได้ว่า “ผู้เป่านกหวีด” หรือในอีกความหมายหนึ่ง จึงอาจหมายถึงผู้ที่เตือนภัยว่ากำลังเกิดสิ่งที่ไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้นกับองค์กร หน่วยงาน หรือประเทศ

ตัวอย่างของ “ผู้เปิดเผยข้อมูล” ในต่างประเทศ ที่เราอาจจะคุ้นเคยกันดีเมื่อเร็วๆ นี้ จากประเด็น 1MDB ก็คือ “แคลร์ ริวคาสเซิล-บราวน์” นักข่าวอิสระสัญชาติอังกฤษ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ซาราวัก รีพอร์ต ที่เปิดโปงเรื่องอื้อฉาว การทุจริตในโครงการกองทุนพัฒนาประเทศของมาเลเซีย หรือ 1MDB ที่นายนาจิบ ราซัก อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานยักยอกเงินโครงการจำนวนมหาศาล

ซาราวัก รีพอร์ต เป็นเว็บไซต์ที่เน้นการรายงานข่าวเชิงลึก ข่าวสืบสวนสอบสวน ที่เน้นเรื่องการเปิดโปงการทุจริต สิทธิชนพื้นเมือง และสิ่งแวดล้อม

เธอให้สัมภาษณ์กับนิตยสารไทม์ ตอนหนึ่งว่า “เมื่อใดก็ตามที่รัฐบาลใดๆ ปฏิบัติต่อคุณเหมือนคุณเป็นภัยร้ายแรง นั่นแหละที่คุณจะรู้ได้แล้วว่าคุณทำหน้าที่ของคุณได้ดีแล้ว” เมื่อคนเหล่านั้นตกอยู่ใต้ความกดดัน ปฏิบัติการทางการเงินที่ดูเหมือนจะเรียบร้อยดีได้กลายเป็นอาชญากรรมที่แท้จริง เพราะจู่ๆ ก็มีคนถูกสังหาร ถูกจับกุม โดยที่ไม่มีความผิด ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือความพยายามกดดันเธอและคนที่ทำงานร่วมกับเธอ และท้ายที่สุดมันทำให้เราได้มองเห็นด้านที่อัปลักษณ์ของคนที่สวมชุดสูท

ริวคาสเซิล-บราวน์ เคยให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ฮัฟฟิงตัน โพสต์ว่า การเปิดโปงการทุจริต 1MDB ต้องใช้เวลาถึง 3 ปี ในการเปิดโปงความจริง เธอต้องเผชิญทั้งกับการถูกแฮคระบบคอมพิวเตอร์โดยฝีมือของรัฐบาล เธอและครอบครัวถูกสะกดรอยตาม และบ้านของเธอถูกสอดส่อง

นอกจากนั้น เธอยังถูกข่มขู่เอาชีวิต ถูกตั้งข้อหาคดีอาญา ถูกสร้างแคมเปญทางออนไลน์เพื่อต่อต้านเธอ และยังห้ามเธอเข้าประเทศ ไปจนถึงการที่รัฐบาลมาเลเซียในขณะนั้น ร้องขอให้ตำรวจสากลจับกุมและเนรเทศเธอ เพื่อดำเนินคดีในข้อหาเป็นภัยต่อประชาธปไตย แต่ไม่สำเร็จ

ย้อนกลับไปในอดีต ก็มีกรณีที่ผู้เปิดเผยข้อมูลลับของรัฐบาลออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน เช่น แดเนียล เอลส์เบิร์ก ผู้เปิดเผยข้อมูลของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เรื่องสงครามเวียดนาม หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ “เพนทากอน เปเปอร์ส” (Pentagon Papers) หรือ “เอกสารเพนตากอน”

 

 

เอกสารเพนตากอน เป็นบันทึกการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการทหารของสหรัฐฯ ในเวียดนามระหว่างปี 1945-1967 ที่จัดทำโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ จำนวนกว่า 7,000 หน้า เอกสารลับนี้ถูกพบโดยนายเอลส์เบิร์ก ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ ผู้ทำงานให้กับ สถาบันแลนด์ (Rand Corporation) และถูกเผยแพร่ต่อสาธารณะเป็นครั้งแรกบนหน้า 1 ของหนังสือพิมพ์ นิวยอร์กไทม์ส เมื่อเดือน มิ.ย. 1971

เอกสารแสดงให้เห็นว่า รัฐบาลของอดีตประธานาธิบดี ลินดอน บี.จอห์นสัน ให้ข้อมูลที่เป็นเท็จเกี่ยวกับเหตุและผลของความขัดแย้งในเวียดนามอย่างเป็นระบบต่อทั้งสังคมและสภาคองเกรส เอกสารยังระบุว่า สหรัฐฯ แอบขยายขอบเขตของสงครามเวียดนามด้วยการทิ้งระเบิดในกัมพูชาและลาว รวมทั้งบุกโจมตีชายฝั่งทางเหนือของเวียดนามและใช้นาวิกโยธินในการโจมตี ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ได้รับการเปิดเผยในสื่อกระแสหลัก

นายเอลส์เบิร์กถูกดำเนินคดีในปี 1973 โดยศาลตัดสินให้ถอนคำฟ้องในปีเดียวกัน

ผู้เปิดเผยข้อมูล ที่มีชื่อเสียงอีกคนหนึ่งคือ เชลซี แมนนิ่ง ผู้เปิดโปงข้อมูลที่คาดว่าเป็นหลักฐานการละเมิดสิทธิมนุษยชนของกองทัพสหรัฐฯ และนำไปมอบให้แก่นายจูเลียน อัสซานจ์ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์วิกิลีกส์ นำไปเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต

 

 

เชลซี หรือชื่อเดิม แบรดลีย์ แมนนิ่ง เคยเป็นทหารฝ่ายวิเคราะห์ข่าวกรอง ที่มอบเอกสารข้อมูลลับทั้งจากรัฐบาลและกองทัพ เผยแพร่ทางวิกิลีกส์ มากกว่า 7 แสนหน้า เมื่อปี 2553 เผยให้เห็นด้านลบของปฏิบัติการของสหรัฐฯ ในสงครามอิรักและสงครามอัฟนิสถาน ที่มีความไม่ชอบธรรมและความผิดพลาดที่ทำให้เกิดความสูญเสียชีวิตรวมอยู่ด้วย จึงถูกจับดำเนินคดี และรับโทษจำคุกเป็นเวลา 35 ปี เมื่อปี 2015 แต่ได้รับการลดโทษจากนายบารัก โอบามา สมัยดำรงตำแหน่งผู้นำสหรัฐฯ และได้รับการปล่อยตัวเมื่อเดือนพ.ค. 2017

ด้านนายจูเลียน อัสซานจ์ ได้นำเอกสารลับของของกระทรวงต่างประเทศและกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ หลายแสนชิ้น ที่ไม่มีการตัดทอนใดข้อมูลใด ๆ ที่มีการระบุชื่อบุคคลอย่างชัดเจน ไปเผยแพร่ตามสื่อต่างๆ ซึ่งสร้างแรงสั่นสะเทือนให้รัฐบาล นักการเมือง และบริษัทต่างๆ ทั่วโลกอย่างรุนแรง ทำให้อัสซานจ์ ถูกรัฐบาลอังกฤษ และสหรัฐฯ หมายหัว

อัสซานจ์ได้เข้าไปลี้ภัยอยู่ในสถานทูตเอกวาดอร์ในกรุงลอนดอน ตั้งแต่ปี 2012 หลังได้รับสถานะผู้ลี้ภัยจากเอกวาดอร์ เพื่อไม่ให้ถูกส่งตัวกลับไปดำเนินคดีข้อหาล่วงละเมิดทางเพศผู้หญิง 2 คน ต่อมาคดีดังกล่าวถูกยกฟ้อง แต่เนื่องจากยังกังวลว่าจะถูกส่งตัวไปสหรัฐฯ เพื่อดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์วิกิลีกส์อีก จึงยังคงอยู่ในสถานทูตต่อไป

ต่อมาเมื่อเดือนเม.ย. ปีที่แล้ว เขาถูกตำรวจอังกฤษจับกุมตัวภายในสถานทูตฯ  ที่ใช้เป็นสถานที่ลี้ภัยถึง 7 ปี ตามคำร้องขอของเจ้าหน้าที่สถานทูต  หลังจากรัฐบาลเอกวาดอร์ถอนสถานะผู้ลี้ภัยของเขา เนื่องจากมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ต่อมาเมื่อเดือนพ.ย อัยการสูงสุดสวีเดน ประกาศยุติการสืบสวนข้อหาข่มขืนของนายอัสซานจ์

ปัจจุบัน นายอัสซานจ์กำลังถูกคุมขังอยู่ในอังกฤษ ในข้อหาหนีการประกันตัว และกำลังอยู่ระหว่างการรอพิพากษาว่า จะส่งตัวเขาไปดำเนินคดีในสหรัฐฯหรือไม่ ในข้อหาอาชญากรรม 18 กระทง รวมถึงการสมคบคิดเจาะระบบคอมพิวเตอร์รัฐบาล และละเมิดกฎหมายการจารกรรมข้อมูล ซึ่งหากถูกตัดสินว่ามีความผิดจริง เขาอาจถูกลงโทษด้วยการจำคุกสูงสุดเป็นเวลา 175 ปี 

 

นอกจากนั้น ยังมีกรณีของ แคธารีน กัน เจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองอังกฤษ  ซึ่งเปิดเผยข้อมูลที่สหรัฐฯ ส่งอีเมลขอให้หน่วยข่าวกรองของอังกฤษกระทำการผิดกฎหมาย นั่นคือให้ขุดคุ้ยเรื่องส่วนตัวของสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ที่ไม่เห็นด้วยกับการทำสงครามกับอิรัก เพื่อใช้ในการบีบบังคับให้เปลี่ยนท่าที ในปี 2546

 

ภาพ: David Sillitoe/The Guardian

แคธารีน ได้ส่งข้อมูลดังกล่าวให้แก่หนังสือพิมพ์ ดิ ออบเซิร์ฟเวอร์ ต่อมาเรื่องนี้จึงปรากฏเป็นหัวข่าวพาดในหนังสือพิมพ์ในอีก 1 เดือนต่อมา หรือ 2 สัปดาห์ก่อนการบุกโจมตีอิรักว่า “Revealed: US dirty tricks to win vote on Iraq war” หรือ “สหรัฐฯ ใช้กลอุบายสกปรกเพื่อประกาศสงครามกับอิรัก” พร้อมตีพิมพ์เนื้อหาของอีเมลโดยละเอียดขณะที่ทางการสหรัฐฯ และอังกฤษ ออกมาปฏิเสธ

ในระหว่างการสอบสวน แคธารีนถูกตั้งข้อหาล่วงละเมิดกฎหมายความลับราชการ ซึ่งถือเป็นภัยร้ายแรงต่อความมั่นคงของประเทศ เธอถูกบีบคั้นอย่างหนัก รวมถึงการข่มขู่ที่จะเนรเทศสามีของเธอ ซึ่งเป็นชาวเคิร์ด กลับตุรกี

แคธารีนยอมรับว่า สิ่งที่เธอทำมีผลต่อครอบครัวอย่างมาก เธอต้องเผชิญความกลัวหวาดระแวง และหลังจากศาลยกฟ้องข้อกล่าวหาทั้งหมด เธอตัดสินใจย้ายครอบครัวไปอยู่ที่ตุรกีบ้านเกิดของสามี

เธอเคยให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์เดอะ การ์เดียน เมื่อปีที่แล้วว่า “ไม่ว่าคุณจะทำงานอะไร ทำในสิ่งที่คุณควรต้องทำ หากคุณคือสื่อมวลชน หน้าที่คือการตรวจสอบแหล่งข่าวซ้ำแล้วซ้ำอีก ไม่ใช่แค่ “กลืน” ในสิ่งที่นักการเมืองบอกคุณ หากคุณทำงานในรัฐบาล ขอให้แน่ใจว่าคุณได้ให้ข้อมูลในสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นจริงๆ และคิดอย่างรอบคอบว่า ความรับผิดชอบของคุณอยู่ที่ไหน”

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า