Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

workpointTODAY LIVE ถอดความเห็นหลังศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมาก ให้ ‘พล.อ.ประยุทธ์’ อยู่ต่อ พูดคุยวิเคราะห์อนาคตทางการเมือง หลังจากนี้กับ 2 นักวิชาการ รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ รศ.ดร.มุนินทร์ พงศาปาน ผู้อำนวยการหลักสูตรปริญญาเอกสาขาการเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต มองว่า ในทางการเมืองนั้น นี่เป็นจุดเริ่มต้นของจุดจบสำหรับ พล.อ.ประยุทธ์ เพราะตอนนี้เรียกได้ว่า พล.อ.ประยุทธ์ เป็นบุคคลที่มีความบอบช้ำทางการเมืองมาก จากสถานการณ์ต่างๆ โดยหากดูจากการสำรวจคะแนนนิยม ทางนิด้าโพล ตอนนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ก็อยู่ 10 % เท่านั้นในความนิยม ซึ่งถือว่าเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีคะแนนนิยมต่ำที่สุดตั้งแต่เท่าที่มีการสำรวจมาก นอกจากนี้ ในแวดวงของพรรคพลังประชารัฐ ก็ไม่ได้ยอมรับ พล.อ.ประยุทธ์ เท่ากับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ จะทำให้เกิดความอิลักอิเหลื่อ ระหว่างเสือสองตัวที่อยู่ถ้ำเดียว เพราะช่วงที่ผ่านมา ก็เห็นได้ว่า พล.อ.ประวิตร มีความปรารถนามากที่จะแสดงบทบาทการเป็น นายกรัฐมนตรี และยังมีความคาดหวังว่า ตัวเองมีโอกาสเป็นนายกรัฐมนตรี ต่อไปในการเลือกตั้งครั้งหน้า

ในขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ นั้น จะนำมาขายเหมือนปี 2562 นั้น ก็ขายไม่ได้แล้ว เพราะมูลค่าตกต่ำมาก ฐานเสียงในเครือข่าย ส.ส. เองก็ไม่มี ไม่สามารถเทียบกับพล.อ.ประวิตร เรียกได้ว่า มูลค่าทางการเมืองของพล.อ.ประยุทธ์ ในปัจจุบัน หลังคำพิพากษาเรียกว่ามูลค่าเสื่อมลงมากทีเดียว แต่ปมปัญหาในทางกลับกันว่า เมื่อ พล.อ.ประยุทธ์ เสื่อมลง ก็จะส่งผลกับฝ่ายค้าน ที่จะได้คะแนนนิยมเพิ่มขึ้น เลยมีกระแสว่าฝ่ายค้านดีใจว่า พล.อ.ประยุทธ์ได้ไปต่อ เพราะมองว่า พล.อ.ประยุทธ์ จะยิ่งบริหารประเทศเป็นผลดีกับฝ่ายค้าน นั่นคือการบริหารประเทศที่ไม่สามารถแก้ปัญหาอะไรได้ของ พล.อ.ประยุทธ์  ขณะเดียวกัน พล.อ.ประยุทธ์ ก็อาจจะบอบช้ำยิ่ง เพราะประชาชนต่างๆ จะออกมาขับไล่ อย่างต่อเนื่อง ก็จะยิ่งทำให้มูลค่าทางการเมืองยิ่งตกหนักไปอีก โดยส่วนตัวจึงมองจากสถานการณ์แล้ว พล.อ.ประยุทธ์ มีทางเลือกอยู่ 3 ทาง คือ

1. ลงหลังเสือได้อย่างมีศักดิ์ศรีหน่อย คืออาจจะลาออก หลังการเป็นเจ้าภาพจัดงานเอเปค (เดือนพ.ย. 65)  แล้วพล.อ.ประวิตร รักษาการนายกฯ ต่อไป

2. ถ้าไม่ลาออก ก็อยู่ต่อไป อยู่แล้วก็ยุบสภา ในช่วงที่ใกล้ๆ ครบวาระของรัฐบาล แต่ถ้าสามารถทนแรงกดดันไหวก็อาจจะยุบสภาปลายปีนี้หรือต้นเดือน ม.ค. 66 รอให้ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับ ได้ผ่านคำวินิจิฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ จากนั้นก็ยุบสภา แล้วตัวเองก็สามารถรักษาการนายกฯ ได้

3. อยู่ต่อเพื่อมุ่งหวังจะเล่นการเมืองต่อไป ให้ถึงปี 68 ก็อาจจะลงเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคใดพรรคหนึ่ง ซึ่งแน่นอนพรรคนั้นมีความเป็นไปได้ว่า จะเป็นพรรคพลังประชารัฐ

“แต่คราวนี้ก็จะเกิดปมปัญหาว่าแล้วพล.อ.ประวิตรล่ะ ดังนั้นมีความเป็นไปได้ที่พรรคพลังประชารัฐ จะมีบัญชีรายชื่อแคนดิเดตนายกฯ ในการเลือกตั้งครั้งหน้า 2 คน  คือ พล.อ.ประยุทธ์ และ พล.อ.ประวิตร แต่มองว่า 2 คนนี้ก็คงจะไม่สามารถสร้างคะแนนนิยมให้กับพรรคพลังประชารัฐในช่วงการบริหารที่เหลืออยู่ได้ โอกาสที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีในคราวต่อไปคงจะไม่ง่ายเท่าไหร่ โอกาสคงยากกว่าปี 62 อยู่มากทีเดียว แม้ว่าจะมีเสียง ส.ว. อยู่ก็ตาม” รศ.พิชาย กล่าว

ขณะที่ รศ.ดร.มุนินทร์ พงศาปาน กล่าวว่า ตนไม่ได้สนใจอนาคตของพล.อ.ประยุทธ์ หรืออนาคตทางการเมืองมากนัก แต่ก็มองว่าการเลือกตั้งคงสร้างความเปลี่ยนแปลงในระดับหนึ่ง แต่ว่าก็ต้องยินดีกับพล.อ.ประยุทธ์ที่ได้อยู่ต่อ ก็ถือว่า ศาลรัฐธรรมนูญก็ได้วินิจฉัยในวันนี้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ปี 60 ที่ต้องการให้ พล.อ.ประยุทธ์ อยู่ในตำแหน่งยาวนานที่สุด แต่ก็ต้องบอกว่า เสียใจกับวงการนิติศาสตร์ไทยอย่างใหญ่หลวงอีกครั้งหนึ่ง หวังว่าการเลือกตั้งที่จะมาถึงจะมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงไม่เฉพาะทางการเมือง แต่เป็นทางนิติศาสตร์ การใช้การตีความกฎหมาย ตนยังมีความคาดหวังว่า อยากเห็นศาลรัฐธรรมนูญตีความกฎหมายที่สร้างความแน่นอนมากกว่านี้ อย่างน้อยที่สุด บรรทัดฐานในการตีความของศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้เราสามารถ ทำนายผลของการปรับใช้กฎหมายในคดีที่มีข้อเท็จจริงใกล้เคียงกันได้  ไม่ใช่เดาทางไม่ถูกเลย แต่กลายเป็นต้องใช้ปัจจัยทางการเมือง มาเดา ตนคิดว่าเป็นเรื่องที่น่าเศร้ามากในวงการนิติศาสตร์ไทย

คลิปสัมภาษณ์เต็ม :  

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า