Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

พบคำตอบสาเหตุปรากฏการณ์ท้องฟ้าสีแดง ชี้คำทำนายพื้นบ้านระบุ ถ้าท้องฟ้าสีแดงยามเย็นแสดงว่า วันรุ่งขึ้นจะอากาศดี แต่ถ้าท้องฟ้าสีแดงก่ำยามเช้าหมายถึงพายุกำลังจะมา

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) อธิบายปรากฏการณ์ท้องฟ้าสีแดง ที่เห็นในหลายจังหวัดภาคใต้ และกรุงเทพฯ ช่วงก่อนที่พายุโซนร้อนปาบึกเคลื่อนตัวลงอ่าวไทย และใกล้จะขึ้นฝั่ง จ.นครศรีธรรมราช ในวันนี้ (4 ม.ค. 62) ว่า “ปรากฏการณ์ท้องฟ้าสีแดง หากใครได้เห็นท้องฟ้ายามเช้าหรือเย็น อาจจะเห็นว่า ท้องฟ้ามีสีแดงกว่าปกติ เพราะอะไรท้องฟ้ายามเช้าหรือเย็นถึงเป็นสีแดง และการที่มันมีสีแดงกว่าปกตินี้มันเกิดจากอะไรกันแน่?

การที่ท้องฟ้ายามเช้าหรือเย็นเป็นสีแดงนั้น เกิดจากการกระเจิงของแสง (scattering) เนื่องจากการกระเจิงของแสงนั้น จะเกิดขึ้นได้ดีกว่าในแสงที่มีความยาวคลื่นสั้น แสงที่มีสีฟ้าจึงจะสามารถกระเจิงได้ง่ายกว่าสีแดงเป็นอย่างมาก การกระเจิงของแสงสีฟ้านี้เอง ที่ทำให้เราเห็นท้องฟ้าในเวลากลางวันเป็นสีฟ้า

แต่ในเวลาเช้าหรือเย็นนั้น แสงอาทิตย์ต้องเดินทางเฉียดผิวโลกมากขึ้น ทำให้ต้องผ่านชั้นบรรยากาศที่หนาขึ้น จึงมีการกระเจิงเพิ่มขึ้น เมื่อแสงความยาวคลื่นสั้นอื่นๆ ถูกกระเจิงไปหมดแล้ว เราจึงสังเกตเห็นแสงสีแดงที่กระเจิงได้น้อยกว่า ในปริมาณที่มากกว่าแสงความยาวคลื่นอื่นๆ ด้วยเหตุนี้เองเราจึงสังเกตเห็นท้องฟ้าในยามเช้าหรือเย็นเป็นสีส้มแดง เราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า Atmospheric Extinction หรือ Reddening

เนื่องจาก การกระเจิงของแสงนั้นขึ้นอยู่กับฝุ่นในชั้นบรรยากาศของโลก ในบางครั้งที่มีฝุ่นเยอะเป็นพิเศษ เช่นในบริเวณที่มีเถ้าภูเขาไฟหรือไฟป่าลอยมา เราอาจจะพบว่า แสงสนธยามีความแดงเป็นพิเศษ

ความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าจะมีฝุ่นมากหรือไม่ แต่แสงอาทิตย์สนธยานั้นก็แดงอยู่ทุกวัน แต่เราอาจจะไม่เห็นเมฆเป็นสีแดงทุกวัน เพราะว่า ถ้าหากวันไหนฟ้าใสไม่มีเมฆเลย เราก็จะไม่สามารถเห็นแสงสีแดงของอาทิตย์ที่ลับขอบฟ้าไปแล้วสะท้อนอยู่บนฟ้า ในทางตรงกันข้าม ถ้าวันไหนเต็มไปด้วยเมฆทั้งหมด ก็อาจจะบดบังดวงอาทิตย์ทำให้ไม่สามารถมองเห็นแสงอาทิตย์ได้เช่นกัน ดังนั้นการที่จะเห็นเมฆสีแดงตอนอาทิตย์ตกได้ เราจำเป็นต้องมีเมฆอยู่เบื้องบน แต่ไม่มีเมฆระหว่างทางที่จะมาบดบังแสงอาทิตย์

มีคำกล่าวของทางกะลาสีฝรั่ง ที่กล่าวเอาไว้ว่า Red sun at night, sailors’ delight. Red sun at morning, sailors take warning

ซึ่งเป็นวิธีการพยากรณ์อากาศแบบพื้นบ้าน โดยกล่าวเอาไว้ว่า แสงสนธยาแดงในยามเย็น จะบอกถึงอากาศที่ดีในวันรุ่งขึ้น แต่แสงสนธยาแดงก่ำในตอนเช้านั้น จะหมายถึงพายุฝนฟ้าคะนองที่กำลังจะมา และเรือเล็กไม่ควรออกจากฝั่ง

ซึ่งถ้าหากเราอิงตามคำทำนายนี้ เราจะทำนายได้ว่า วันพรุ่งนี้จะต้องอากาศดีอย่างแน่นอน เพราะถ้าหากเราสามารถเห็นแสงสีแดงของดวงอาทิตย์ฉายไปยังบนเมฆได้ ก็แสดงว่า ท้องฟ้าทางทิศตะวันตกที่ลับขอบฟ้าไปนั้นจะต้องเป็นฟ้าใสที่ปราศจากเมฆอย่างแน่นอน และนั่นหมายความว่า ลมจากทิศตะวันตกจะต้องกำลังพัดเอาฟ้าใสมาในวันรุ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม คำทำนายพื้นบ้านนี้สามารถใช้ได้เฉพาะกับทางประเทศแถบเขตอบอุ่นเพียงเท่านั้น เนื่องจากในแถบอบอุ่นนั้น ลมจะมีทิศทางในการพัดจากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออกเป็นส่วนมาก (เนื่องจากการหมุนของโลก) แต่สำหรับประเทศเขตร้อนอย่างบ้านเรานั้น ทิศทางของลมนั้นไม่ได้มีทิศทางที่แน่ชัดตายตัวเช่นในแถบเขตอบอุ่น และพยากรณ์อากาศของกทม. ก็ดูเหมือนจะทำนายว่าวันรุ่งขึ้นน่าจะมีพายุฝนฟ้าคะนอง

ซึ่งหากเราสงสัยว่า ระหว่างคำทำนายของกรมอุตุกับสีเมฆนั้น อันไหนแม่นกว่ากัน วิธีที่สามารถพิสูจน์ได้ไม่ยาก ก็คือรอดูวันพรุ่งนี้ และหากเราทำการสังเกตและจดบันทึกอย่างสม่ำเสมอเพื่อเปรียบเทียบ เราก็จะสามารถยืนยันได้อย่างชัดเจนว่าวิธีใดมีความแม่นยำมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

นอกจากนี้ ในทางดาราศาสตร์นั้น กระบวนการ Extinction นี้ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่ที่เฉพาะชั้นบรรยากาศของโลกเพียงอย่างเดียว แต่เมื่อเราสังเกตดาวฤกษ์ผ่านกลุ่มเนบิวลาหรือแถบฝุ่นของกาแล็กซีทางช้างเผือก เราก็จะพบว่าดาวฤกษ์เบื้องหลังนั้นสี “แดง” กว่าอย่างเห็นได้ชัด เราเรียกว่า Interstellar Extinction นอกไปจากนี้บริเวณที่ฝุ่นหนามากๆ เราอาจจะไม่สามารถสังเกตเห็นดาวฤกษ์ในช่วงความยาวคลื่นแสงปรกติได้เลย แต่เรายังสามารถสังเกตเห็นได้ผ่านทางความยาวคลื่นอินฟราเรดหรือวิทยุ ที่มีความยาวคลื่นสูงกว่าเป็นอย่างมาก

ข้อมูลมติพล ตั้งมติธรรม

ขอบคุณภาพ @thip4265

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชาวชุมพรแห่แชร์ภาพฟ้าสีแดงส้ม ก่อนพายุ “ปาบึก” กำลังจะมา

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า