Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

[et_pb_section fb_built=”1″ custom_padding=”0px|0px|14px|0px” _builder_version=”3.0.47″][et_pb_row custom_padding=”12px|0px|9px|0px” _builder_version=”3.0.47″ background_size=”initial” background_position=”top_left” background_repeat=”repeat”][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

ในยุคที่เกมออนไลน์เดินหน้าสู่การแข่งขันกีฬาในระดับเอเชีย บอร์ดเกม’ หรือ เกมกระดาน’ ก็ยังคงเป็นหนึ่งในเกมที่ไม่หายไปจากสังคมไทย ด้วยเสน่ห์ของเกมที่มุ่งเสริมสร้างทักษะรอบด้าน และรูปแบบการเล่นที่ผู้เล่นต้องเผชิญหน้ากัน ทำให้เนื้อหาในเกมไม่ได้จำกัดความสนุกแค่การต่อสู้ หรือการผจญภัย

หากแต่ใครจะไปคิดว่า เนื้อหาเข้าใจยากๆ ในบริบทของสังคมไทย อย่างเรื่องประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน หรือแม้แต่เรื่องของการกู้ยืมเงิน จะถูกหยิบยกมาสร้างเป็นเกมได้

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row custom_padding=”10px|0px|27px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1536309820_62592_1.jpg” align=”center” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_image][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row custom_padding=”13px|0px|10px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

รัตติกร วุฒิกร หรือ พี่ต๊อง นักออกแบบของเล่นเพื่อสังคม ผู้ริเริ่มนำประเด็นที่หลายคนมองข้าม หรือปัญหาซ้ำซากในสังคมไทยมาสร้างสรรค์เป็นเกม โดยเธอได้ก่อตั้งบริษัท club creative บริษัทผลิตและออกแบบของเล่นเพื่อสังคม ผลงานของเธอ สร้างชื่อเสียงและได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ จนสามารถกวาดรางวัลมาแล้วมากมาย เช่น Thailand Young Design Entrepreneur of the Year 2007 และ Toy Innovation Award 2006 จากประเทศเยอรมนี

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ fullwidth=”on” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1536309834_29749_4.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ custom_padding=”26px|0px|16px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row custom_padding=”13px|0px|11px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

ปัญหาความเหลื่อมล้ำของคุณภาพชีวิต คือจุดเริ่มต้นของการผันตัวมาเป็นนักออกแบบเพื่อสังคม พี่ต๊องเล่าให้เราฟังถึงจุดเปลี่ยนของชีวิตการทำงาน ที่เริ่มต้นจากการออกแบบของเล่นเด็ก จนมีโอกาสได้ไปร่วมออกแบบของเล่นเพื่อเด็กพิการทางสายตา ที่ประเทศอังกฤษ สะท้อนให้เธอเห็นถึงปัญหาของเด็กไทยที่ขาดโอกาสมากกว่า จึงเป็นการเปิดมุมมองใหม่ๆ ของการทำงาน ทำให้เธอเห็นว่า เกมเป็นได้มากกว่าธุรกิจเพื่อความบันเทิง

อยากทำงานดีไซน์ แต่อยากทำงานดีไซน์ที่ไม่ได้ทำให้อุตสาหกรรม ไม่ได้ทำให้ธุรกิจ แต่ทำให้คน ให้สังคม”

บ่อยครั้งที่การเล่นเกม มักจะถูกพูดถึงว่าเป็นเรื่องของเด็กๆ พี่ต๊องไม่คิดเช่นนั้น เธอใช้เกมเป็นเครื่องมือในการสื่อสารเรื่องยากๆ อย่างเรื่องกฎหมายที่ใครหลายคนยังขยาด หรือเรื่องภัยพิบัติ ให้เข้าใจง่ายในรูปแบบของการ์ดเกม และบอร์ดเกม เพื่อให้ผู้เล่นได้เรียนรู้อย่างสนุก และสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้กับผู้เล่นโดยไม่จำกัดอายุ ผู้เล่นแต่ละคนจะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน จากการตัดสินใจและการวางแผนในเกม เพราะการเล่นคือการเรียนรู้ และคนจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดก็เมื่อมีความสุข” เธอบอก

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ fullwidth=”on” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1536310487_67344_-11.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ custom_padding=”54px|0px|8px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row custom_padding=”27px|0px|0px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

โจทย์ใหญ่ที่สุดของพี่ต๊อง มีมากกว่าการทำให้เกมสนุก แต่เธอจะต้องทำให้ผู้เล่นเข้าใจเนื้อหาที่ต้องการจะถ่ายทอด ผ่านกลไกของเกม และวิธีการเล่น

The Choiceเกมทางเลือก-ทางรอด คือหนึ่งในผลงานที่พี่ต๊องเลือกให้เป็นที่หนึ่ง ในเรื่องของความยาก ด้วยเป็นเกมที่ต้องสอดแทรกข้อกฎหมายเกี่ยวกับปัญหาหนี้นอกระบบ จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายไม่ใช่น้อย ที่จะทำให้คนทั่วไปเข้าใจเนื้อหาที่หนักอึ้งนี้ ผ่านการเล่นเกม

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row custom_padding=”9px|0px|27px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1536309842_94790_6.jpg” align=”center” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_image][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

‘The Choice’ เกมทางเลือก-ทางรอด เป็นเกมที่พี่ต๊องทำให้กับศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้และประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม กระทรวงยุติธรรม เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ผ่านตัวละครที่เป็นหนี้ ทั้ง 8 ตัวละคร โดยมีสถานการณ์ในชีวิตที่แตกต่างกันไป

เช่น เรื่อง “ป้านิ่ม รวยทางลัด” เป็นเรื่องของแม่ค้าส้มตำที่ชอบเล่นหวย จนต้องกู้เงินนอกระบบเพื่อนำเงินไปคืนเจ้ามือหวย ทำให้กลายเป็นหนี้ลูกโซ่ และต้องถูกเจ้าหนี้ฟ้อง ซึ่งเรื่องนี้จะให้ความรู้เรื่อง หนี้นอกระบบ

หรือเรื่อง “นิ้ง ป้ายแดง” เป็นเรื่องของช่างแต่งหน้าที่ใช้ชีวิตฟุ้งเฟ้อ บ้านและที่ทำงานอยู่ใกล้รถไฟฟ้า แต่เธอกลับอยากได้รถยนต์ป้ายแดง จนผ่อนไม่ไหว โดยเรื่องนี้จะให้ความรู้เรื่อง การเช่าซื้อ เป็นต้น

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ fullwidth=”on” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1536309853_23749_11.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ custom_padding=”54px|0px|10px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row custom_padding=”0px|0px|13px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

วิธีการเล่น คือ ผู้เล่นจะต้องตอบคำถามจากสถานการณ์ของตัวละคร แต่ละตัวเลือกจะได้รับเงินและหัวใจไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับความถูกต้องของคำตอบ ผู้เล่นจะต้องบริหารเงินของตัวเอง โดยจะมีบอร์ดวางแผนการเงิน ที่มีตัวเลือกใช้เงิน 4 ช่องทาง คือ ฝากออมทรัพย์ ฝากประจำ ลงทุน และเล่นการพนัน ส่วนหัวใจที่ได้จากการตอบคำถาม สามารถนำไปแลกซื้อสิ่งของเครื่องใช้ เช่น มอเตอร์ไซค์ โทรศัพท์ รถยนต์ เพื่อนำไปใช้ในสถานการณ์ต่อๆ ไปของเกม

ระหว่างการเล่นเกม จะมีการ์ดสถานการณ์ร่วม เพื่อแสดงให้เห็นว่าสิ่งของที่ผู้เล่นเลือกซื้อมา มีประโยชน์กับชีวิตมากน้อยเพียงใด ซึ่งในบอร์ดเกมหนึ่งชุด สามารถร่วมกันเล่นได้หลายคน ตลอดทั้งเกมผู้เล่นจะต้องเลือกและตัดสินใจเอง โดยต่างประสบการณ์ ก็ย่อมต่างผลลัพธ์ ผู้เล่นจะได้ฝึกการวางแผนการเงิน ควบคู่ไปกับการเรียนรู้ข้อกฎหมายอย่างสนุก

อีกหนึ่งผลงานล่าสุดที่พี่ต๊องได้สร้างสรรค์ คือ เกมนักพัฒนาความสุข ที่เธอทำร่วมกับ AP HONDA นำแนวคิดโครงการในพระราชดำริในรัชกาลที่ 9 มาสร้างสรรค์เป็น Family game ที่มีผู้ปกครองร่วมเล่นกับลูกๆ เพื่อส่งเสริมให้เด็กร่วมแก้ปัญหา ช่วยเหลือกัน และรู้จักแบ่งปันซึ่งกันและกัน

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ fullwidth=”on” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1536309837_16708_5.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ custom_padding=”54px|0px|12px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row custom_padding=”27px|0px|5px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

เรียกได้ว่าผลงานที่ผ่านมาของเธอ ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาให้เป็นมากกว่าเกม แต่เป็นเสมือนสื่อการเรียนรู้ขนาดย่อม ด้วยเอกลักษณ์ของเกม ที่เธอมักหยิบหลากหลายเรื่องราวในสังคม มาเล่าผ่านการเล่น โดยใช้หัวใจสำคัญของเกม คือความสนุก เข้ามาเป็นฟันเฟืองในการทำหน้าที่สื่อสารเรื่องราวอย่างเป็นมิตร ในแบบฉบับที่เข้าใจง่าย จึงทำให้หลายเกมกลายเป็นที่รู้จัก และได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาครัฐมากมาย

เกมเหมือนหนังสือ แต่เป็นหนังสือที่มีชีวิต เพราะว่ามีคนเล่นด้วย คนเล่นแต่ละคนก็มีประสบการณ์ไม่เหมือนกัน เวลาเล่นเขาก็จะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การตัดสินใจก็ขึ้นอยู่กับนิสัย ประสบการณ์ต่างๆ เกมจึงเหมือนหนังสือที่มีชีวิต เพราะว่าเราไม่ได้เรียนรู้จากมันคนเดียว แต่คนอื่นก็มีส่วนในการเรียนรู้ด้วย” พี่ต๊องเปรียบเทียบให้เราฟังถึงวิธีการทำงานของเกม ที่เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ของผู้เล่น

เกมแต่ละเกมที่เธอสร้าง จึงกลายเป็นเครื่องมือที่ทำให้คนได้ลองคิด และลองทำจริง จากสถานการณ์จำลองที่ถูกสร้างขึ้นมาในเกม พี่ต๊องใช้เวลาทุ่มเทสร้างสรรค์เกมเหล่านี้ เฉลี่ยปีละ 1 เกม หรือมากกว่านั้น จากการลงพื้นที่ติดตามกลุ่มตัวอย่าง ศึกษาพูดคุยจนพบเห็นปัญหาซ้ำๆ ก่อนจะนำข้อมูลมาตกตะกอน และออกแบบให้กลายเป็นเกม

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row custom_padding=”8px|0px|27px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1536309850_99843_8.jpg” align=”center” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_image][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row custom_padding=”27px|0px|6px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

มากกว่าการออกแบบเกม พี่ต๊องสานต่อเกมของเธอ ด้วยการออกแบบวิธีการแก้ปัญหาให้กับชุมชน จากปัญหาที่เกิดขึ้นจริง โดยเริ่มต้นจากการนำเกมไปเล่นกับกลุ่มเป้าหมาย และเข้าไปให้ความรู้ ด้วยการนำผู้เชี่ยวชาญไปแนะนำแนวทาง อย่างเช่นเกม The Choice ที่พี่ต๊องมองเห็นปัญหาที่เกิดจากความไม่รู้ของชาวบ้าน ทำให้พวกเขามีการใช้จ่ายเงินผิดหลัก จนเกิดปัญหาเป็นหนี้พัวพัน

เธอจึงได้นำเกมเข้าไปเล่นกับคนในชุมชน และพานักวางแผนการเงินเข้าไปให้คำปรึกษากับกลุ่มชาวบ้าน เพื่อหวังให้เกมได้ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือกระจายความรู้ นำไปสู่การเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาในที่สุด

กว่า 15 ปี ที่เธอทำงานสร้างสรรค์ของเล่นเพื่อพัฒนาสังคม ประสบการณ์และความรู้ที่เกิดขึ้นตลอดระยะเวลาการทำงาน ทำให้ปัจจุบันเธอได้ต่อยอดเส้นทางนักออกแบบของตนเอง ด้วยการก้าวเข้ามาทำหน้าที่ ครู สอนวิธีการออกแบบของเล่นให้กับนักออกแบบรุ่นใหม่ตามมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อหวังสร้างนักออกแบบคุณภาพ ที่เธอเชื่อว่าจะสามารถทำงานแทนเธอได้

ทั้งยังมุ่งเน้นเข้าไปพัฒนากลุ่มอาชีพครู ที่ถือว่าเป็นผู้มีอิทธิพลหลักในการสื่อสารกับเด็ก ให้พวกเขาได้เข้าใจกระบวนการออกแบบเกม วิธีการเล่น เพื่อเชื่อมโยงกับวิธีการสอน ผลักดันให้แนวคิด ‘นักเรียนคือศูนย์กลางของห้องเรียน’ เกิดขึ้นในทุกโรงเรียน ผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า เกม

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ fullwidth=”on” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1536311213_39046_-13.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row custom_padding=”27px|0px|17px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

จากแนวคิด การเล่นคือการเรียนรู้’ นำมาสู่การออกแบบเกมเพื่อสังคม พี่ต๊องกลายเป็นที่รู้จักในวงกว้างถึงฝีมือ ชั้นเชิง และความสร้างสรรค์ที่เต็มไปด้วยพลังของจิตอาสา เธอได้รับการสนับสนุนจากผู้คนมากมายในโปรเจกต์ต่างๆ ทำให้ตลอดชีวิตของการทำงาน เธอได้สร้างเกมเพื่อสังคมมาแล้วมากมาย

และเมื่อถามเธอว่า ผลงานชิ้นไหนที่ภูมิใจมากที่สุด คำตอบที่ได้ กลับไม่ใช่ชื่อของเกมที่เธอเคยสร้าง แต่เป็น ตัวเธอเอง’ ที่เธอรู้สึกภูมิใจมากที่สุด

เรารู้สึกว่าเราพัฒนาขึ้น มีความคิดที่หลากหลายมากขึ้น รู้สึกว่าเราสามารถจะเอาความรู้ความคิดเหล่านี้ไปสอนคนอื่นได้ เพราะเราก็เป็นโปรดักส์หนึ่งของบริษัท”

แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องง่าย ที่ใครสักคนจะผลิตเครื่องมือสักชิ้นมาเพื่อแก้ปัญหายิบย่อยในสังคม แต่ พี่ต๊อง กลับกล้าที่จะลงมือทำ ด้วยการใช้ประโยชน์จากความถนัดของเธอ ผลิตเกมที่เปิดโลกแห่งการเรียนรู้ให้กับคนทั่วไป ไม่เฉพาะแค่เด็กเล็ก เพื่อหวังให้เกมเป็นจุดเริ่มต้นของการขับเคลื่อนความรู้สู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่า โดยเริ่มต้นจาก ผู้เล่น’

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row custom_padding=”6px|0px|27px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1536309846_15915_7.jpg” align=”center” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_image][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section]

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า