Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

รัฐบาลเดินหน้าแก้ปัญหาปากท้องประชาชนในโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ นายกฯ ยันไม่ใช่การแยกชนชั้น แต่เป็นการจัดกลุ่มให้ความช่วยเหลือเพื่อยกระดับสู่ผู้มีรายได้เพิ่มขึ้น

วันที่ 12 ก.ย. 2561 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงการทำบัตรสวัสดิการแห่งรัฐว่า ปีแรกประชาชนมาลงทะเบียนน้อยมาก พอปีที่สองมีงบประมาณลงไปช่วยเหลือมากขึ้น ประชาชนก็มาสมัครเพิ่มขึ้นคาดว่าน่าจะเพิ่มขึ้นไปอีกเรื่อยๆ แต่หลายคนยังเคยชินกับการไม่ต้องทำอะไรเลยแล้วได้เงินออกไป ซึ่งรัฐบาลจะต้องแก้จุดนี้ ไม่ใช่แยกชนชั้น แต่เป็นการแยกให้เห็นว่าเราจะช่วยคนแต่ละกลุ่มแต่ละฝ่ายอย่างไร วันหน้าจะได้พัฒนาไปสู่ระดับที่สูงขึ้น รายได้ที่ดีขึ้น ความพอเพียงรัฐบาลมองว่าถ้าทุกคนเข้ามาอยู่ในระบบฐานภาษี เช่น มีรายรับปีละ 3 แสนบาทก็เริ่มจะพอเพียงแล้ว อย่าไปมองว่ารัฐจะเติมตรงนี้ให้อย่างเดียวให้ทุกคนเท่ากันหมดก็ไม่ได้อีกงบประมาณมีจำกัด

สำหรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือที่เรียกติดปากว่า ‘บัตรคนจน’ คือบัตรที่รัฐบาลมอบสิทธิให้ประชาชนคนไทยผู้มีรายได้น้อย เพื่อช่วยเหลือแบ่งเบาค่าครองชีพ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาทต่อปี จะได้รับเงินจำนวน 300 บาทต่อเดือน (หรือ 3,600 บาทต่อปี)
กลุ่มที่มีรายได้ตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป แต่ไม่กิน 100,000 บาท จะได้รับเงินจำนวน 200 บาทต่อเดือน (หรือ 2,400 บาทต่อปี)

เงินในส่วนนี้มาสารถนำไปซื้อสินค้าต่างๆ ใน 3 หมวด
1. สินค้าอุปโภค-บริโภค เช่น อาหาร เครื่องดื่ม ของใช้ประจำวันจำพวก สบู่ ผงซักฟอก และพวกยารักษาโรค ฯลฯ
2. สินค้าเพื่อการศึกษา เช่น อุปกรณ์การเรียน เครื่องแบบนักเรียน
3. สินค้าเพื่อเกษตรกรรม เช่น เมล็ดพันธุ์พืช ปุ๋ย

นอกจากนี้ ยังมีเงินสำหรับซื้อก๊าซหุงต้มจากร้านค้าที่กระทรวงพลังงานกำหนดอีกคนละ 45 บาท ต่อ 3 เดือน มีเงินช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ทั้งค่าโดยสารรถเมล์ รถไฟฟ้า จำนวน 500 บาทต่อเดือน (ใช้ชำระค่าโดยสารด้วยระบบ e-Ticket), ค่าโดยสารรถ บขส. วงเงินไม่เกิน 500 บาทต่อเดือน, ค่าโดยสารรถไฟ วงเงินไม่เกิน 500 บาทต่อเดือน

การใช้เงินในส่วนการดำรงชีพ สามารถใช้ชำระค่าสินค้าได้ที่ร้านธงฟ้าประชารัฐ และร้านค้าอื่นๆที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด การใช้เงินในส่วนค่าเดินทาง ใช้กับเครื่อง e-Ticket ที่ติดตั้งไว้ภายในรถโดยสารประจำทาง และรถไฟฟ้า โดยการแตะบัตรกับเครื่อง เงินในบัตรก็จะถูกหักออกไปอัตโนมัติ ใช้ซื้อตั๋วรถโดยสาร บขส.และรถไฟทุกสถานี ที่จุดจำหน่ายตั๋วโดยสาร ในการใช้จ่ายหากเงินในบัตรมีไม่เพียงพอ ผู้ใช้งานสามารถเติมเงินผ่านบริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Money ของธนาคารกรุงไทยได้ เงินที่มีอยู่ในบัตร ไม่สามารถถอนออกมาเป็นเงินสดได้ และไม่สามารถสะสมเงินสวัสดิการแห่งรัฐในบ้ตรได้ หมายถึง ถ้าไม่ใช้หรือใช้ไม่หมดในแต่ละเดือน จะถูกตัดเงินออกแล้วรับเงินของเดือนถัดไป ไม่มีการทบเป็นเงินสะสม

บัตรสวัสดิการแห่งรัฐใช้ได้เฉพาะบุคคลที่เป็นเจ้าของบัตร ยกเว้นผู้พิการ ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถเดินทางได้ จะให้ผู้ดูแลเป็นผู้ใช้สิทธิแทน หากฝ่าฝืนเงื่อนไข เจ้าของบัตรจะถูกตัดสิทธิในบัตร และผู้อื่นที่นำไปใช้จะมีความผิดต้องชดในเงินคืนแก่ราชการ

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า