Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

22 มี.ค. 2566 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชันแนล ประเทศไทย เดินทางยื่นข้อเรียกร้องและรายชื่อนักกิจกรรมร่วมกับประชาชนกว่า 8,517 รายชื่อถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรงกลาโหม เรียกร้องให้ภาครัฐยกเลิกข้อกล่าว ปล่อยตัวนักกิจกรรมทางการเมือง และขอให้ภาครัฐปฏิบัติตามพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศในการแสดงออก การสมาคม และการชุมนุมอย่างสงบ โดยมี สมพาศ นิลพันธ์ ที่ปรึกษาสำนักนายกรัฐมนตรีมารับหนังสือ

ปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ระว่าเหตุการเดินทางมายื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีว่า สำนักงานใหญ่แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เชิญชวนสมาชิก นักกิจกรรม และผู้สนับสนุนร่วมกันส่งจดหมายถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เรียกร้องภาครัฐปล่อยตัวและยกเลิกข้อกล่าวหานักกิจกรรมทางการเมืองทั้งหมด โดยรัฐต้องประกันว่านักกิจกรรมที่อดอาหารประท้วงจะได้รับการคุ้มครองจากการทรมานและการปฏิบัติที่รุนแรงใดๆ รวมทั้งได้รับการดูแลสุขภาพตามจริยธรรมทางการแพทย์ พร้อมเน้นย้ำให้ทางการไทยปฏิบัติตามพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ซึ่งกำหนดให้รัฐบาลไทยต้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชน ทั้งสิทธิในเสรีภาพการแสดงออก การสมาคม และการชุมนุมโดยสงบ ซึ่งการรณรงค์นี้มีถึงวันที่ 10 มีนาคมที่ผ่านมา

โดยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล มีข้อเรียกร้องมายังรัฐบาลไทย ดังนี้

  1. ปล่อยตัว ยกเลิกข้อกล่าวหา และยุติการกำหนดเงื่อนไขการประกันตัวที่เข้มงวดเกินกว่าเหตุโดยทันทีและอย่างไม่มีเงื่อนไขต่อบุคคลที่ตกเป็นเป้าหมายเพียงเพราะการใช้สิทธิของตน ตลอดจนยกเลิกการดำเนินคดีอาญาทั้งหมด
  2. ประกันว่านักกิจกรรมที่อดอาหารประท้วงจะได้รับการคุ้มครองจากการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายอื่นๆ อย่างเร่งด่วน และได้รับการดูแลสุขภาพที่สอดคล้องตามจริยธรรมทางการแพทย์ รวมทั้งหลักการของการเก็บข้อมูลเป็นความลับ การตัดสินใจด้วยตนเอง และการให้ความยินยอมที่ได้รับการบอกกล่าว
  3. แจ้งต่อเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติตามพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศของไทย รวมทั้งสิทธิที่จะได้รับการประกันตัว สิทธิในเสรีภาพการแสดงออก การสมาคม และการชุมนุมโดยสงบ

รายงานแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ระบุว่า นับตั้งแต่ปี 2563 รัฐบาลไทยปราบปรามผู้ที่ออกมาใช้สิทธิเสรีภาพการแสดงออกทางการเมือง การชุมนุมประท้วงอย่างสงบ และผู้เห็นต่างทางการเมือง โดยจำนวนผู้ถูกดำเนินคดีอย่างน้อย 1,895 คน ใน 1,180 คดี ทางการไทยปฏิเสธสิทธิการประกันตัวระหว่างต่อสู้คดีถึง 21 คน ซึ่งปัจจุบันยังคงมีผู้ถูกคุมขังทางการเมืองอย่างน้อย 5 คน

รายงานระบุว่า ตั้งแต่ปี 2563 ทางการไทยมักตอบโต้ขบวนการเรียกร้องการปฏิรูป เเละการชุมนุมประท้วงอย่างสงบที่นำโดยเยาวชนด้วยการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทางการยังคงใช้วิธีการคุกคามด้วยกฎหมาย มีการสอดแนมข้อมูล และคุกคามความคิดเห็นต่างในที่ชุมนุม หรือในโลกออนไลน์ ทั้งนี้ทางการไทยปฏิเสธสิทธิการประกะนตัวของผู้ชุมนุม มีการควบคุมตัวโดยพลการ และกำหนดเงื่อนไขการประกันตัวที่เกินขอบเขต ซึ่งรวมถึงการกักขังในบ้าน และให้นักกิจกรรมร้องต่อศาลเพื่อขออนุญาตออกจากบ้านของตนเอง ทั้งยังปิดกั้นพื้นที่ในการแสดงสิทธิเสรีภาพอย่างสงบ 

ปิยนุช โคตรสาร ระบุเพิ่มเติมว่า สิทธิการปล่อยตัวชั่วคราวสอดคล้องหลักการที่ว่า “ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญาเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด” แต่คดีของผู้ถูกกล่าวหาทางการเมืองกลับถูกละเว้นสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม ด้วยดุลพินิจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ซึ่งขัดแย้งต่อพันธกรณีระหว่างประเทศที่รัฐไทยให้สัตยาบันตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองที่รับรองสิทธิในการปล่อยตัว หากจะไม่มีการปล่อยตัวชั่วคราวต้องเป็นไปตามหลักความจำเป็น 

“ตามพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศของไทย กำหนดให้รัฐบาลต้องคุ้มครองสิทธิในเสรีภาพการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบอย่างมีประสิทธิภาพ คณะทำงานสหประชาชาติว่าด้วยการควบคุมตัวโดยพลการเคยให้ความเห็นไว้ว่า ในทางปฏิบัติทางการไทยยังคงใช้การดำเนินคดีและการควบคุมตัวโดยพลการต่อผู้ต้องสงสัยในข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์ทั้งที่เป็นการละเมิดต่อพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนสากล” รายงาน แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชันแนล ระบุ 

ด้านนายสมพาศ นิลพันธ์ ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีที่มารับรายชื่อแทนนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชน และรับรองว่าจะเสนอข้อเรียกร้องนี้ไปยังนายกรัฐมนตรีและเตรียมไว้เสนอรัฐบาลชุดใหม่แน่นอน

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า