Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

วันที่ 29 มีนาคม 2565  แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล จัดงานแถลงข่าวรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนทั่วโลกประจำปี 2564/65 เสนอภาพรวมของสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในปีที่ผ่านมา (2564) ชี้ประชากรโลกยังคงได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งของสงคราม สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และแทนที่จะเป็นการแก้ไขปัญหาและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน นโยบายของรัฐบาลกลับยิ่งเป็นการซ้ำเติมให้เกิดความเหลื่อมล้ำและเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม

เอร์วิน วาน เดอบอร์ก รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก พูดถึงสถานการณ์สิทธิมนุษยชนทั่วโลกในปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเกิดจากผู้นำทางการเมืองและบรรษัทยักษ์ใหญ่ต่างเล็งเห็นผลกำไรและอำนาจของตนสำคัญกว่าประชาชน เห็นได้ชัดจากกรณีความร่วมแรงร่วมใจที่จะหยุดยั้งสภาวะสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) ระหว่างการประชุม COP26 เมื่อปีที่ผ่านมาล้มเหลว อันจะทำให้ต่อจากนี้ไปประชาชนโดยเฉพาะประชาชนในซีกโลกใต้จะประสบภัยพิบัติมากขึ้น เกิดการย้ายถิ่น ส่งผลให้ถูกสังหารหรือตกเป็นเหยื่อความรุนแรงทางเพศได้ง่ายยิ่งขึ้น และทำให้ระบบสุขภาพและเศรษฐกิจที่เปราะบางอยู่แล้วย่ำแย่ลงไปจนอาจใกล้ล่มสลายได้

แต่ในขณะเดียวกันสภาวะโควิด-19 ทำให้รัฐใช้เป็นโอกาสในการควบคุมนักปกป้องสิทธิมนุษยชน เอ็นจีโอ หน่วยงานด้านสื่อและผู้นำฝ่ายค้าน ก็เพิ่มมากขึ้น ทั้งถูกออกกฎหมายควบคุม บางรายถูกจับกุมทั้งโดยชอบและมิชอบ ซ้อมทรมานและบังคับให้สูญหาย

ส่วนแผนงานของแอมเนสตี้ในรอบปีนี้ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชันแนล เตรียมเปิดตัวโครงการรณรงค์ระดับโลก เพื่อเรียกร้องให้มีการเคารพสิทธิในเสรีภาพการแสดงออก และเพื่อทวงคืนพื้นที่ของภาคประชาสังคมกลับคืนมา

สถานการณ์เอเชียแปซิฟืก นำเสนอโดย ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล ประธานกรรมการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีปัญหาเรื่องการขาดเสรีภาพในการแสดงออกอยู่แล้ว มีสถานการณ์พิเศษเพิ่มขึ้นมาคือโควิด-19 การรัฐประหารในเมียนมา การขึ้นสู่อำนาจของตาลีบันในอัฟกานิสถาน ที่ส่งผลต่อการเกิดการโยกย้ายถิ่นฐาน และหลายครั้งถูกปฏิเสธทำให้เกิดปัญหาด้านมนุษยธรรมตามมา เป็นต้น หลายประเทศมีพัฒนาการที่ดีขึ้นอยู่บ้าง เช่น มีการออกกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการซ้อมทรมานและอุ้มหาย หรือกฎหมายการทำแท้งที่สอดคล้องกับหลักการทางการแพทย์มากขึ้น เป็นต้น

ในส่วนของรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทย แอมเนสตี้ระบุว่า 

“รัฐบาลได้เพิ่มความพยายามเพื่อจำกัดสิทธิในเสรีภาพการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบ ตำรวจใช้กำลังเกินกว่าเหตุต่อผู้ชุมนุม ทางการใช้กฎหมายโดยพลการในการคุกคามและควบคุมตัวผู้ชุมนุมที่เรียกร้องประชาธิปไตยและนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ร่างกฎหมายว่าด้วยการทรมานและการบังคับให้สูญหายที่เสนอเข้าสู่รัฐสภาเพื่อพิจารณา ยังมีเนื้อหาไม่สอดคล้องกับพันธกรณีของไทยในด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ทางการได้เพิ่มการใช้กฎหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ และดำเนินคดีอาญากับบุคคลอย่างน้อย 100 คน ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งในจำนวนดังกล่าวมีเยาวชนที่ถูกดำเนินคดีด้วย”

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า