SHARE

คัดลอกแล้ว

เพื่อปกป้องศีลธรรมและประเพณีของสังคม จากภาพยนตร์ที่ส่งเสริมการรักเพศเดียวกันและการแปลงเพศ ‘บาร์บี้’ จึงถูกแบนในคูเวตและเลบานอน

การประกาศแบนภาพยนตร์เรื่อง บาร์บี้ เพื่อปกป้องศีลธรรมและวัฒนธรรมอันดีงามของประเทศคูเวต เกิดขึ้นหลังจากรัฐมนตรีเลบานอนเพิ่งขอให้มีการห้ามฉายภาพยนตร์ดังกล่าว เนื่องจาก ‘ส่งเสริมและสนับสนุนการรักเพศเดียวกันและการแปลงเพศ’ ไม่นานนัก

จากรายงานของสำนักข่าว KUNA โฆษกกระทรวงข้อมูลข่าวสารของคูเวต กล่าวในวันพุธที่ผ่านมาว่า ภาพยนตร์โดยวอร์เนอร์ บราเทอร์ส ที่ยอดขายตั๋วบ็อกซ์ออฟฟิศทะลุหนึ่งพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั่วโลกหลังเปิดตัว “นำเสนอแนวคิดและความเชื่อที่แปลกแยกต่อสังคมคูเวต”

ซึ่งในระยะเวลาไล่เลี่ยกัน กระทรวงข้อมูลข่าวสารของคูเวตได้สั่งแบนภาพยนตร์ระทึกขวัญเรื่อง ‘Talk To Me’ ไปด้วยเหตุผลเดียวกัน

ในขณะที่ โมฮัมหมัด มอร์ตาดา รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมเลบานอน ประกาศเมื่อวันพุธว่า เขาส่งเรื่องไปยังกระทรวงมหาดไทย “ใช้มาตรการที่จำเป็นทั้งหมดเพื่อแบนการฉายภาพยนตร์เรื่อง บาร์บี้” ในประเทศ

เขายังกล่าวอีกด้วยว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้ “สนับสนุนการรักร่วมเพศและการแปลงเพศ…ส่งเสริมการปฏิเสธการดูแลของพ่อ บ่อนทำลายและเย้ยบทบาทของแม่ และตั้งคำถามถึงความจำเป็นของการแต่งงานและการมีครอบครัว”

การเรียกร้องให้แบน บาร์บี้ มีขึ้นท่ามกลางกระแสต่อต้าน LGBTQ+ ที่เพิ่มมากขึ้นในเลบานอน โดยมีกลุ่มติดอาวุธอิซบอลเลาะห์เป็นผู้นำ

เดือนที่แล้ว ฮัสซาน นาสรัลลาห์ ผู้นำกลุ่มติดอาวุธอิซบอลเลาะห์ กล่าวไว้ในตอนหนึ่งของการปราศรัยว่า การรักเพศเดียวกัน เป็นภัยอันตรายที่อยู่ใกล้ตัว และเลบานอนควรเผชิญหน้ากับอันตรายนี้

ไอมาน ฮันนา ผู้อำนวยการบริหารมูลนิธิไม่แสวงหาผลกำไรซาเมียร์ แคสซีร์ (Samir Kassir) กล่าวกับรอยเตอร์สว่า ความเคลื่อนไหวในการแบนบาร์บี้เกิดขึ้นท่ามกลาง “กระแสความคลั่งศาสนา”

ในขณะที่อีกซีกโลก ฝั่งเอเชียเอง เวียดนามก็ได้ยกเลิกการฉาย บาร์บี้ เนื่องจากฉากแผนที่โลกสมมติที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า แสดงการอ้างสิทธิของจีนในทะเลจีนใต้ที่เป็นข้อพิพาท ส่วนฟิลิปปินส์อนุญาตให้ฉายภาพยนตร์ได้ แต่ขอให้ทำการเบลอภาพแผนที่ที่ตกเป็นประเด็น

อีกทั้ง การเปิดตัวภาพยนตร์เรื่องนี้ล่าช้าในจังหวัดปัญจาบของปากีสถาน เนื่องจากมี “เนื้อหาที่ไม่เหมาะสม” ทางการของปากีสถานระบุเมื่อเดือนที่แล้ว แม้ว่าพวกเขาจะไม่ได้ชี้แจงหรือให้เหตุผลว่าเนื้อหาส่วนใดที่ “ไม่เหมาะสม”

ที่มา:

Al Jazeera, Reuters, BBC

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า