Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

แอฟริกาใต้เปิดข้อมูลผู้ป่วยโควิดอาการหนักช่วงเริ่มต้นการระบาดของโควิดสายพันธุ์โอไมครอน พบสัดส่วนผู้ป่วยอาการหนักน้อยกว่าการระบาดของโควิด-19 ในช่วงสองระลอกแรก

นี่อาจเป็นข่าวดีที่สะท้อนว่า โควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน อาจรุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้า ทั้งนี้อาจมีปัจจัยการฉีดวัคซีนโควิด-19 มาเกี่ยวข้องด้วย รายละเอียดทั้งหมดเป็นอย่างไร workpointTODAY สรุปมาให้อ่านกัน

1.) สถาบันโรคติดต่อแห่งชาติแอฟริกาใต้ (NICD) เผยแพร่จำนวนผู้ป่วยอาการหนักจากโรคโควิด-19 โดยเน้นไปที่เขตเมือง Tshwane ในแอฟริกาใต้ ซึ่งเป็นเมืองแรกๆ ที่พบการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน

2.) สถาบันโรคติดต่อแห่งชาติแอฟริกาใต้ เลือกใช้ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 14 พ.ย.-8 ธ.ค. ซึ่งคาดว่าเป็นช่วงเวลาที่สายพันธุ์โอไมครอนเริ่มระบาดในเมืองนี้ พบจำนวนผู้ป่วยโควิดในโรงพยาบาลทั้งสิ้น 1,633 คน ในจำนวนนี้มี 31% ที่เป็นผู้ป่วยอาการหนักในระดับที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ

3.) หากนำสัดส่วนผู้ป่วยอาการหนัก 31% ไปเปรียบเทียบกับจำนวนผู้ป่วยหนักในช่วงต้นการระบาดระลอกแรกของแอฟริกาใต้ซึ่งอยู่ที่ 67% และช่วงต้นการระบาดระลอกสองที่มีผู้ป่วยหนัก 66% จะเห็นได้ว่า สัดส่วนผู้ป่วยโควิดอาการหนักในตอนนี้น้อยกว่าอย่างเห็นได้ชัด

4.) แม้ว่าสถาบันโรคติดต่อแห่งชาติแอฟริกาใต้จะย้ำว่า นี่เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้น พร้อมเตือนว่าในช่วงไม่กี่สัปดาห์หลังจากนี้ อาจมีจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 อาการหนักมากขึ้น แต่สัดส่วนดังกล่าวก็สะท้อนสัญญาณบวกว่า โควิดสายพันธุ์โอไมครอนอาจมีฤทธิ์ทำให้ผู้ป่วยอาการไม่หนักเท่าการระบาดก่อนหน้า

5.) รัฐมนตรีสาธารณสุขแอฟริกาใต้ชี้ว่า แม้ตัวเลขผู้ป่วยโควิดเข้าโรงพยาบาลในช่วงหลังจะมากขึ้น ซึ่งอาจเป็นผลจากโควิดสายพันธุ์โอไมครอน แต่ดูเหมือนสายพันธุ์นี้อาจส่งผลเฉพาะกับตัวเลขผู้ป่วยเท่านั้น ไม่ส่งผลต่ออัตราความรุนแรงของโรค

6.) อย่างไรก็ตาม รายงานดังกล่าวไม่ได้ระบุถึงประวัติการรับวัคซีนของผู้ป่วยแต่ละคน ทำให้ไม่สามารถวัดได้ถึงประสิทธิภาพของวัคซีนต่อการป้องกันโควิด

7.) ในตอนนี้ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเริ่มตั้งข้อสังเกตตรงกันว่า ไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนอาจทำให้อาการป่วยรุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้า เช่น ดร.มาร์โค คาวาเลรี หัวหน้าฝ่ายภัยคุกคามสาธารณสุขด้านชีววิทยาและยุทธศาสตร์วัคซีน องค์การยาแห่งสหภาพยุโรป (EMA) ที่ชี้ว่า อาการป่วยรุนแรงจากโควิดสายพันธุ์โอไมครอน อาจแตกต่างกับโควิดสายพันธุ์ที่ผ่านมา

8.) ดร.คาวาเลรียังชี้ปัจจัยบวกอีกว่า แม้โควิดสายพันธุ์โอไมครอนจะมีแนวโน้มแพร่เชื้อเร็วกว่าสายพันธุ์เดลตา แต่ต้องไม่ลืมว่าสถานการณ์ในตอนนี้ดีกว่าในช่วงปีที่แล้วมาก ถึงแม้จะยังตอบไม่ได้ถึงประสิทธิภาพของวัคซีนโควิดต่อสายพันธุ์โอไมครอนก็ตาม

9.) เช่นเดียวกับ ดร.แอนโทนี ฟาวชี ที่ปรึกษารัฐบาลสหรัฐฯ ที่ฟันธงก่อนหน้านี้ว่า เกือบจะเป็นที่แน่นอนแล้วว่า ไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนไม่ทำให้อาการป่วยรุนแรงไปกว่าสายพันธุ์เดลตา ส่วนข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องอื่นๆ รวมถึงประสิทธิภาพของวัคซีนต่อสายพันธุ์นี้ น่าจะทราบผลที่ชัดเจนภายในไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า