Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กว่า 30 ปีที่แล้ว แนวคิดการยกเลิกโทษประหารชีวิตเคยเป็นความคิดใหม่สำหรับทั่วโลก แต่ยิ่งนานวันเข้าประเทศต่าง ๆ ก็เริ่มนำแนวคิดนี้มาใช้มากขึ้น และทยอยประกาศยกเลิกโทษประหาร ทั้งทางพฤตินัยและทางนิตินัย 

จากปี ค.. 1994 ที่มีประเทศยกเลิกโทษประหารเพียง 55 ประเทศ สามทศวรรษผ่านไป เมื่อปี ค.. 2021 โลกพลิกเหลือแค่ประเทศส่วนน้อย 56 ประเทศเท่านั้นที่ยังมีการประหารชีวิตอยู่

จำนวนประเทศที่ยุติโทษประหารเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ / ที่มาข้อมูล Amnesty International

55 ประเทศยังคงมีการประหารชีวิตในปี ค.ศ. 2021 ขณะที่ประเทศอื่น ๆ มีการยุติไม่ทางพฤตินัยก็นิตินัย / ที่มาข้อมูล Amnesty International

ในสังคมไทย เราอาจจะยังไม่ค่อยคุ้นชินกับแนวคิดการยกเลิกโทษประหารชีวิตนัก WorkpointTODAY ชวนมาพูดคุยกัน ว่าทำไมโลกถึงกำลังหมุนไปในทางยุติโทษประหารชีวิตมากขึ้นและคนเรียกร้องให้ยกเลิกโทษประหารกำลังคิดอะไรอยู่? 

กลไกระหว่างประเทศ กับการยุติโทษประหารชีวิตทั่วโลก

กติการะหว่างประเทศฉบับแรกที่วางแนวทางการยกเลิกโทษประหารชีวิตได้รับการเห็นชอบจากองค์การสหประชาชาติครั้งแรกในปี ค.. 1989 ชื่อว่าพิธีสารเลือกรับของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ฉบับที่ 2 เพื่อการกำจัดการประหารชีวิต (Second Optional Protocol to the ICCPR, aiming at the abolition of death penalty ) 

ต่อมาในปี ค.. 2007 ที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้ออกมติการหยุดพักการใช้บทลงโทษประหารชีวิต จากการเสนอมติของสหภาพยุโรปและประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปอีกแปดประเทศ  

วันที่ 18 ธันวาคม ค.. 2007 ประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลก ตัดสินใจว่าต่อจากนี้จะจำกัดการใช้โทษประหารชีวิตไว้สำหรับอาชญากรรมที่ร้ายแรงที่สุดเท่านั้นเพื่อมุ่งไปสู่การยุติการประหารชีวิตโดยสมบูรณ์  

ข้อมตินี้เขียนเหตุผลว่า โทษประหารเป็นการลบหลู่ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การหยุดพักการใช้บทลงโทษประหารชีวิตจะช่วยให้สิทธิมนุษยชนก้าวหน้ายิ่งขึ้น ไม่มีหลักฐานใดพิสูจน์ได้ว่าโทษประหารสร้างประโยชน์อะไรได้อย่างชัดเจน  และหากดำเนินการประหารไป ในกรณีที่เกิดการตัดสินหรือกระบวนการยุติธรรมผิดพลาด ก็ไม่อาจย้อนให้ชีวิตคนบริสุทธิ์ที่ถูกประหารไปแล้วกลับมาได้ ตอนนั้นมีประเทศที่เห็นด้วย 104 ประเทศ ไม่เห็นด้วย 54 ประเทศ ไม่ออกเสียง 29 ประเทศ

ก่อนที่สหภาพยุโรปจะเป็นผู้นำในการเสนอมตินี้ต่อที่ประชุมสหประชาชาติ ในปี ค.. 1982 สภายุโรปได้ออกพิธีสารข้อที่ 6 ในอนุสัญญายุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน มาก่อนแล้ว บังคับใช้ให้ประเทศสมาชิกห้ามใช้โทษประหารในช่วงเวลาที่ไม่มีศึกสงคราม

ต่อมาเมื่อมีการก่อตั้งสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการแล้ว หนึ่งในเงื่อนไขของการเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป คือทุกประเทศต้องยอมรับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนแบบเดียวกัน  โดยประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรปต้องเห็นตรงกันว่าต่อจากนี้ไปจะไม่ตัดสินใครให้ได้รับโทษประหารชีวิต และจะไม่มีการประหารชีวิตอีกแล้ว เพื่อเคารพสิทธิในการมีชีวิตของพลเมืองยุโรปและรักษาไว้ซึ่งหลักสิทธิมนุษยชน และหากสหภาพยุโรปจะรับสมาชิกใหม่ สมาชิกก็ต้องสัญญาว่าจะรับเงื่อนไขนี้ และจัดการยุติโทษประหารในประเทศตนเองก่อน จึงค่อยเข้าเป็นสมาชิกได้ 

แต่เรื่องนี้เป็นแนวคิดของชาติตะวันตกเท่านั้นหรือไม่? 

เราลองมาดูสถานการณ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นหนึ่งประเทศที่ตัดสินใจออกกฎหมายยุติโทษประหารชีวิตตั้งแต่ปี ค.. 2006

ตอนนั้นฟิลิปปินส์ผ่านกฎหมายออกมาฉบับหนึ่ง คือ พ...ห้ามกำหนดโทษประหารชีวิตของฟิลิปปินส์ (Republic Act No.9346, An Act on Prohibiting the Imposition of Death Penalty in the Philippines) ซึ่งต่อมากลายเป็นรากฐานสำคัญให้รัฐบาลฟิลิปปินส์ให้สัตยาบันในพิธีสารเลือกรับของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ฉบับที่ 2 เพื่อการกำจัดการประหารชีวิต พอให้สัตยาบันในพิธีสารเลือกรับฯ สำเร็จก็ไม่มีช่องว่างให้เจรจาต่อรองเกี่ยวกับเรื่องโทษประหารได้อีกต่อไปแล้ว ถือเป็นการตกลงยกเลิกโทษประหารของฟิลิปปินส์ไปโดยปริยาย

ทีมข่าวเวิร์คพอยท์ทูเดย์ สัมภาษณ์ คาเรน โกเมซ ดุมปิต สมาชิกคณะกรรมการบริหาร เครือข่ายต่อต้านโทษประหารแห่งเอเชีย  (Anti-Death Penalty Asia Network – ADPAN) และอดีตคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งฟิลิปปินส์ เธอชี้ว่าเจตจำนงทางการเมืองสำคัญมากในการยกเลิกโทษประหาร 

คาเรน โกเมซ ดุมปิต สมาชิกคณะกรรมการบริหาร เครือข่ายต่อต้านโทษประหารแห่งเอเชีย  (Anti-Death Penalty Asia Network – ADPAN) และอดีตคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งฟิลิปปินส์

คาเรนกล่าวว่า ท้ายที่สุดสิ่งที่จำเป็นในการยกเลิกโทษประหารคือการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดีของเราในตอนนั้น คือ นางกลอเรีย มาคาปากัล อาร์โรโย ผู้มีจุดยืนชัดเจนว่าเธอไม่สนับสนุนโทษประหาร เธอสนับสนุนสิทธิในการมีชีวิต และเธอก็ทำงานอย่างสุดความสามารถเพื่อให้เกิดการรับรองกฎหมายนี้และโน้มน้าวฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติได้กำหนดวาระทางกฎหมายร่วมกัน จนทำให้ผ่านกฎหมายฉบับนี้ออกมาได้

นอกเหนือจากข้อความในกฎหมายและแนวคิดด้านสิทธิมนุษยชน เรามาไล่เรียงทีละข้อว่า หากว่ากันจากพื้นฐานข้อมูลที่มีอยู่ คนถกเถียงเรื่องการยกเลิกโทษประหารอย่างไรบ้าง

1.คืนความเป็นธรรมให้เหยื่อและครอบครัว?

บ่อเกิดที่เก่าแก่ที่สุดของกฎหมายและการลงโทษคือการแก้แค้นเพื่อคืนความรู้สึกเป็นธรรมแก่เหยื่อ เรียกได้ว่า ตาต่อตา ฟันต่อฟัน  แต่ถามว่าจุดประสงค์ของการลงโทษคือการทำให้ผู้กระทำผิดชดใช้อย่างสาสมอย่างเดียวหรือไม่?

ทีมข่าว WorkpoinTODAY พูดคุยกับดร.ขัตติยา รัตนดิลก ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนากระบวนการยุติธรรม สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม ถึงแนวคิดในการเยียวยาเหยื่อในปัจจุบัน 

ถามว่าเอาผู้กระทําความผิดมาลงโทษให้หนัก เป็นการเยียวยาหรือเปล่า หรือการเยียวยาคือการพาผู้เสียหายไปหาหมอ ถ้าเขาพิการไร้อาชีพ ให้เขาได้มีเงินเดือนใช้ไปตลอดชีวิต หรือเมื่อเขาเครียดให้เขาได้รับโอกาสในการพูดคุยกับนักจิตวิทยา และเยียวยาด้วยค่าเสียหายที่เกิดขึ้น พอเราบอกว่าการที่ผู้เสียหายเห็นผู้กระทําความผิดที่ทําต่อตัวเองแล้วเขาต้องทุกข์ทรมาน ทําให้เขารู้สึกดีขึ้น มันก็ไม่ใช่ทุกคนเหมือนกันนะคะดร.ขัตติยา กล่าว

ดร.ขัตติยา กล่าวถึงงานศึกษาที่ชี้ว่าผู้เสียหายบางรายต้องการมีส่วนร่วมในการกำหนดโทษผู้กระทำความผิด แต่ไม่ใช่ทั้งหมดผู้เสียหายบางรายก็บอกว่าอยากให้อภัย อยากอโหสิกรรม แค่อยากให้เขาไม่มาทํากับเราอีก หรืออย่ามาเจอกันอีกเลย อยู่ห่าง ๆ กันไว้ แต่สุดท้ายถามว่าเขาอยากที่จะเห็นใครถูกประหารชีวิตไหม ประชาชนก็คงแค่อยากรู้สึกว่าเขาปลอดภัยเท่านั้นเอง ไม่อยากให้มีอาชญากรเกิดขึ้น 

ดร.ขัตติยา รัตนดิลก ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนากระบวนการยุติธรรม สำนักงานกิจการ​ยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม

ดร.ขัตติยากล่าวถึงทางเลือกในการสร้างความเป็นธรรมแก่ผู้เสียหายโดยหลีกเลี่ยงโทษประหารชีวิต อ้างอิงร่างพ... ป้องกันการกระทำความผิดซ้ำคดีเกี่ยวกับเพศความรุนแรง พ.. … ที่เพิ่งผ่านรัฐสภาช่วงกลางปีที่ผ่านมา และกำลังรอการบังคับใช้ โดยพ...นี้มุ่งเน้นใช้กับผู้ที่มีการกระทำความผิดร้ายแรงรุนแรงและมีความเสี่ยงในการกระทำผิดซ้ำ ซึ่งหนึ่งในวิธีการคือมาตราการในการติดตามตัวผู้กระทำความผิดเพื่อป้องกันไม่ให้เข้าใกล้ผู้เสียหาย

เรามีผู้เสียหาย มีผู้กระทำความผิดเกิดขึ้น แยกส่วนว่า คนกระทําความผิดใครเป็นคนดูแล ผู้เสียหายใครต้องรับมาดูแลต่อ ในระยะสั้นและระยะยาว อันนี้ก็เป็นสิ่งที่หวังว่าคงจะช่วยให้รัฐได้ทําหน้าที่ในการคุ้มครองประชาชนทั้งสองฝ่ายให้ดีที่สุด เพราะสุดท้ายการออกกฎหมาย มันก็คือเพื่อประชาชนนั่นแหละ เพื่อความปลอดภัยเพื่อความมั่นคง รู้สึกว่าเขาจะไม่ถูกรังแก เพราะฉะนั้นเราบางทีต้องกลับมามองให้ทรัพยากรในส่วนของผู้เสียหายให้มากขึ้นด้วยผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนากระบวนการยุติธรรมแนะแนวทางที่อาจเป็นไปได้ในอนาคต

2. การประหารชีวิต ช่วยยับยั้งการกระทำความผิด? 

จากการฆ่าเพื่อล้างแค้น ต่อมาเมื่อสังคมมีวิวัฒนาการ การประหารชีวิตถูกจัดขึ้นในที่แจ้ง

 และเปิดต่อสาธารณะเพื่อเป็นแนวคิดในการสร้างตัวอย่าง ป้องปรามไม่ให้คนในสังคมกระทำตาม คำถามคือ โทษประหารชีวิตยังมีประโยชน์แค่ไหน ในแง่ใช้เพื่อป้องปรามไม่ให้มีการกระทำผิดตาม? 

งานวิจัยของ เดวิด ที จอห์นสันในปี ค.. 2010 ซึ่งเก็บข้อมูลเป็นเวลาสามทศวรรษด้วยกัน พบว่า ในช่วงทศวรรษ 1950 ที่ญี่ปุ่นมีการใช้โทษประหารชีวิตสูงถึงปีละ 25 ราย ก่อนที่ช่วงทศวรรษ 1980 จะลดลงมาเหลือเพียง 1.5 รายต่อปี  ในช่วงสามทศวรรษนี้จำนวนคดีฆาตกรรมกลับลดลงอย่างต่อเนื่อง หมายความว่าการบังคับใช้โทษประหารอย่างสม่ำเสมออาจไม่ส่งผลอะไรกับการลดลงของอาชญากรรมในญี่ปุ่น

สถิติการประหารชีวิตนักโทษในญี่ปุ่น และอัตราคนถูกฆ่าตายในญี่ปุ่น ในทศวรรษ 1950 – 1980 / ข้อมูล DAVID T. JOHNSON, Asia’s Declining Death Penalty (2010)

ขณะที่เกาหลี จุดแบ่งระหว่างการใช้โทษประหารคือการประหารชีวิตนักโทษ 23 รายในรอบหลายปีในปี ค.. 1997 ผลปรากฎว่าก่อนและหลังการประหารชีวิตครั้งนั้น ไม่มีผลใดต่อตัวเลขการฆาตกรรมที่เกิดขึ้น สองตัวอย่างนี้แม้จะมีคำถามอยู่บ้าง เช่น การที่ตัวเลขฆาตกรรมที่ญี่ปุ่นน้อยลงอาจมาจากปัจจัยอื่น เป็นต้น แต่ก็แสดงให้เห็นได้ดีว่าการใช้โทษประหารชีวิตไม่ได้การันตีว่าอาชญากรรมจะลดลงแต่อย่างใด 

เกาหลีใต้มีการประหารชีวิตครั้งแรกในรอบหลายทศวรรษในปี ค.ศ. 1997 แต่ไม่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่ออัตราการถูกฆ่าตายภายในเกาหลีใต้ในช่วงเวลาก่อนและหลังแต่อย่างใด / ข้อมูล DAVID T. JOHNSON, Asia’s Declining Death Penalty (2010)

นอกจากนี้ ยังเคยมีงานวิจัยในปี ค.. 1996 สอบถามความเห็นของนักอาชญวิทยา ของสหรัฐอเมริกา ว่ามองผลของโทษประหารได้ผลหรือไม่ นักอาชญวิทยาในงานวิจัยนี้ให้ความเห็นสรุปได้ว่า ผลของโทษประหารไม่ต่างอะไรกับผลของการลงโทษสูงสุดอื่น ๆ  และนักอาชญวิทยาส่วนใหญ่ มองว่าโทษประหารเป็นวาทกรรมที่ถูกทำให้เป็นสินค้า นำมาใช้หาเสียงเรียกคะแนนนิยมเท่านั้น

หลากหลายงานวิจัยทางวิชาการที่สั่งสมมาหลายสิบปีไม่สามารถพิสูจน์ประโยชน์ที่แท้จริงของโทษประหารในเชิงประจักษ์ได้แต่อย่างใด 

3. กำจัดคนชั่วออกจากสังคม? 

จากการทบทวนสถิติตัวเลขในหลายปีที่ผ่านมาพบว่านักโทษในแดนประหารส่วนใหญ่ ไม่ได้เป็นแบบภาพจำที่หลายคนมีในหัว โดยนักโทษประหารหญิงในไทยกว่า 90% เป็นนักโทษจากคดียาเสพติด ซึ่งเป็นผลของสังคมที่บีบรัดและสภาพความเป็นอยู่ที่ยากจน แนวคิดในการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุแทนที่การใช้โทษประหารจึงถูกทดลองใช้ในหลายพื้นที่ 

นักโทษประหารหญิงในไทยกว่า 90% มาจากคดียาเสพติด / ที่มาข้อมูล กรมราชทัณฑ์

ชลธิช ชื่นอุระ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมข้อกำหนดกรุงเทพและการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย เล่าให้ทีมข่าว WorkpointTODAY ฟังว่าผู้หญิงส่วนใหญ่ที่มาอยู่ในเรือนจํา มักจะมาจากฐานะทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างจํากัดและมักอยู่ภายใต้สภาวะความรุนแรงภายในครอบครัว หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ผู้หญิงเหล่านี้อยู่ใต้การควบคุมของสมาชิกในครอบครัวซึ่งเป็นผู้ชาย 

ที่ TIJ (สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย) เราเคยศึกษาวิจัย เกี่ยวกับผู้ต้องขังหญิงคดีนํายาเสพติดเข้าออกข้ามประเทศที่ถูกขังในประเทศเพื่อนบ้าน ผู้หญิงบางคนตกเป็นเหยื่อของกระบวนการอาชญากรที่ส่งยาเสพติดข้ามประเทศ ในมิติที่ว่าเขาเองมีความรู้ค่อนข้างจํากัดเกี่ยวกับอาชญากรรมที่เกิดขึ้นชลธิชกล่าวต่อว่าหลายกรณีผู้หญิงถูกหลอกให้ถือกระเป๋าโดยไม่ทราบรายละเอียดของที่บรรจุอยู่หรือบางรายถูกข่มขู่ทางวาจาและร่างกายเพื่อให้ยอมขนย้ายยาเสพติด

ชลธิช ชื่นอุระ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมข้อกำหนดกรุงเทพและการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย

อีกกลุ่มหนึ่งที่เราเห็นค่อนข้างเยอะก็คือว่ากลุ่มที่ผู้หญิงที่มีภาระการเลี้ยงดูลูก หรือว่าภาระการเลี้ยงดูครอบครัว มีหนี้สินเงินทองมหาศาล ซึ่งเขาเองในฐานะแม่เลี้ยงเดี่ยวต้องพยายามจะทําให้สถานะของครอบครัวดีขึ้นเพื่อให้ทุกคนในครอบครัวยังรอด นี่ทําให้คนก้าวเข้าไปสู่การทําความผิดในรูปแบบที่เขาเองไม่รู้เลยว่าโทษทางกฎหมายมันจะรุนแรงขนาดไหน 

ชลธิชขมวดตอนท้ายว่า โทษประหารชีวิตอาจไม่ได้เป็นโทษที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการแก้ปัญหาของคนเหล่านี้ ซึ่งรากฐานของปัญหายาเสพติดจะต้องกลับมาดูเรื่องสวัสดิการทางสังคมว่าดีและพร้อมเพียงใดนั่นคือต้นตอของการป้องกันที่ยั่งยืนเธอยืนยัน

สามข้อโต้แย้งนี้ แม้จะมีงานศึกษาวิจัยทางวิชาการพิสูจน์ชัด แต่ก็อาจจะยังเป็นเรื่องใหม่ทางวัฒนธรรมสำหรับใครหลาย ๆ คน  จนอดตั้งคำถามไม่ได้ว่า แนวคิดเหล่านี้จะเป็นจริงได้อย่างไร โดยที่สังคมไม่วุ่นวาย

ประเทศส่วนใหญ่ของโลกยกเลิกโทษประหารทั้งทางพฤตินัยและนิตินัยแล้วมาร์ตา ซังตูส ไปส์ กรรมาธิการคณะกรรมการสากลเพื่อการต่อต้านโทษประหารเริ่มหากเรามองปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นไม่นานมานี้ ก็มีหลายอย่างที่น่านำมาพูดคุยและถอดบทเรียน 

เธอยกตัวอย่างกรณีของ ซาคีอากีง เอลเปกตอร์ช อดีตประธานาธิบดีมองโกเลียที่สนับสนุนสิทธิในการมีชีวิตและตัดสินใจว่าจะยกเลิกโทษประหารชีวิตในปี ค.. 2005 เมื่อผู้นำตัดสินใจก็ส่งผลให้เกิดการทบทวนการกำหนดโทษทางอาญาขึ้นในประเทศ เพื่อให้คนเข้าใจเรื่องการยุติโทษประหารอย่างถ่องแท้ และเขาก็ย้ำต่อสาธารณชนเสมอว่า หลังจากที่ประเทศให้สัตยาบันในพิธีสารเลือกรับของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ฉบับที่ 2 เพื่อการกำจัดการประหารชีวิตแล้ว อัตราอาชญากรรมในประเทศจะไม่สูงขึ้นแต่อย่างใด 

ฉันอยากจะเน้นว่าความร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งของหลากหลายภาคส่วนมีความสำคัญมาก เราต้องการเจตจำนงทางการเมืองของผู้กำหนดนโยบาย รัฐสภา และรัฐบาล แต่เราก็ต้องการการมีส่วนร่วมของสภาวิชาชีพต่าง ๆ ด้วย  เริ่มจากวิชาชีพนักกฎหมายและฝ่ายตุลาการ นักสังคมสงเคราะห์ที่ติดต่อกับผู้ต้องโทษประหารและครอบครัวอย่างสม่ำเสมอก็สำคัญ เรารู้ว่าบทบาทของสื่อมวลชนและนักข่าวจะสามารถสร้างความตระหนักและก้าวพ้นแนวคิดเดิม ๆ ของคนได้ และเราก็เห็นชัดว่าในหลาย ๆ สังคม ผู้นำทางศาลและผู้นำชุมชนมีบทบาทสำคัญมาก ทั้งในพุทธศาสนา และไม่นานมานี้เราก็ได้เห็นพระสันตะปาปาฟรานซิสพูดเรื่องนี้ด้วยเหมือนกัน เมื่อหลากหลายกลยุทธ์เหล่านี้มารวมกันก็จะช่วยเราสร้างความกระจ่างในข้อสงสัยที่รัฐอาจจะยังมีอยู่ และสนับสนุนให้เกิดกระบวนการการเปลี่ยนแปลงในทุก ๆ ที่ในโลกมาร์ตา ผู้ซึ่งมีบทบาทในการร่วมร่างกฎหมายระหว่างประเทศชิ้นสำคัญอย่างพิธีสารเลือกรับของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ฉบับที่ 2 กล่าว

มาร์ตา ซังตูส ไปส์ กรรมาธิการคณะกรรมการสากลเพื่อการต่อต้านโทษประหาร

ทีมข่าว WorkpointTODAY ถามมาร์ตาต่อว่า เช่นนั้นแล้วสังคมจะได้อะไรจากการร่วมแรงร่วมใจยุติโทษประหารชีวิต เธอตอบว่า แม้บางประเทศจะเชื่อว่าการประหารชีวิตจะช่วยประหยัดภาระทางค่าใช้จ่ายในการดูแลนักโทษ แต่ความจริงไม่ได้เป็นไปตามนั้นงานศึกษาวิจัยหลายงาน เช่น ในสหรัฐอเมริกาพิสูจน์จนสิ้นข้อสงสัยแล้วว่าการยุติโทษประหารทำให้เราประหยัดเงินได้ต่างหาก

เธอแจกแจงค่าผู้เชี่ยวชาญและค่าทนายความที่ต้องจ้างให้มีส่วนร่วมในการพิจารณาประหารชีวิตคนเรารู้ว่าค่าใช้จ่ายทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประหารชีวิตแพงกว่าการไม่ประหารนอกจากนี้เธอยังชี้ว่าหลายครั้งนักโทษที่ถูกตัดสินประหารชีวิตต้องถูกขังถึง 10-20 ปี หรือมากกว่านั้น โดยไม่รู้ว่าวันประหารจะมาถึงเมื่อไหร่ การยุติการประหารชีวิตเสียตั้งแต่แรกก็ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายพิเศษ เช่น ห้องขังเดี่ยวสำหรับนักโทษประหารซึ่งทำให้พวกเขาสูญเสียอิสรภาพอย่างยิ่งไปได้อีก 

ผลทางด้านสังคมขยายออกไปเหนือตัวนักโทษประหาร เนื่องจากขณะที่เขาถูกคุมขังรอวันประหารที่ไม่รู้จะมาเมื่อไร ความหวาดหวั่นและความกลัวนี้ก็สร้างบาดแผลให้กับครอบครัวและชุมชนที่อยู่รอบตัวนักโทษรายนั้นด้วย  หลายครั้งเราก็เห็นได้ชัดว่าคนที่ต้องเผชิญกับโทษประหารมักเป็นคนที่มาจากภูมิหลังที่เสียเปรียบทางโอกาสที่สุดในสังคม ดังนั้นผลกระทบทางสังคมจึงกว้างมากเธอกล่าว  

นี่ไม่ใช่เรื่องของชะตากรรมมาร์ตาพูดขึ้นมาในตอนท้ายในเมื่อเรารู้ว่าเราจะป้องกันได้อย่างไร เราสามารถหาแรงบันดาลใจจากประสบการณ์ของประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตมาแล้วหลายปี หรือหาจากประสบการณ์ของประเทศที่เพิ่งยกเลิกไม่นานมานี้ ซึ่งก็เห็นชัดว่าอัตราอาชญากรรมไม่ได้เพิ่มขึ้นหลังจากนั้น หาจากพื้นที่ที่คนในสังคมเริ่มเปลี่ยนความคิด จากพื้นที่ที่มีการปฏิรูปกฎหมาย การบังคับใช้ และการมีส่วนร่วมของฝ่ายตุลาการซึ่งเป็นประโยชน์ในการสร้างสังคมที่มีความยึดมั่นร่วมกัน เป็นธรรม และเท่าเทียม เพื่อรับประกันว่าจะไม่มีใครต้องถูกพรากสิทธิขึ้นพื้นฐานไปอีก ดังนั้นเราจึงยังคงมีความหวังและเชื่อมั่นว่าการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่นี้จะนำไปสู่การยุติโทษประหารชีวิตอย่างสมบูรณ์ทั่วโลกเธอสรุป 


ผลงานชิ้นนี้ถูกผลิตขึ้นโดยการสนับสนุนของคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย เนื้อหาที่ปรากฏเป็นการทำงานอย่างอิสระของกองบรรณาธิการ Workpoint Today และไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสหภาพยุโรป

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า