Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

explainer เหตุการณ์สำคัญทางการแพทย์เมื่อวานนี้ คือการยืนยันว่า คนไข้ที่ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทั้งเพศชายและเพศหญิง

เรื่องราวเป็นอย่างไร และการทำให้หายขาดสามารถทำได้จริงกับคนทั่วไปหรือไม่ workpointTODAY จะอธิบายให้เข้าใจง่ายที่สุดใน 11 ข้อ

1) สิ่งที่ผู้คนในสังคมมักเข้าใจคลาดเคลื่อน คือมองว่า คนติดเชื้อ HIV กับ คนเป็นโรคเอดส์ (AIDS) มีความหมายเดียวกัน แต่ในความจริงแล้วไม่ใช่

HIV เป็นเชื้อไวรัสที่เข้ามาสู่ร่างกายของมนุษย์ ผ่านทางของเหลว เช่น น้ำอสุจิ, เลือด, น้ำนมแม่ โดยผู้ได้รับเชื้อส่วนใหญ่จะติดต่อมาจากการมีเพศสัมพันธ์ หรือใช้เข็มฉีดยาร่วมกับบุคคลอื่น นอกจากนั้นแม่ที่ติดเชื้อ HIV สามารถส่งไวรัสต่อให้ลูกในครรภ์ได้ด้วย

ตัวไวรัส HIV อย่างเดียว ไม่ได้ทำอันตรายให้ร่างกายมนุษย์ แต่ปัญหาคือ HIV จะไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวในร่างกายที่ชื่อ CD4

โดย CD4 มีหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรคที่เข้ามาสู่ร่างกาย ช่วยสร้างให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกัน ช่วยต้านทานและกำจัด เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัสประเภทอื่นๆ ดังนั้นเมื่อ CD4 มีปริมาณลดลง ร่างกายก็จะอ่อนแอ และนำมาซึ่งสารพัดโรคในที่สุด

2) อธิบายโดยง่าย ถ้าหากค่า CD4 ลดลงต่ำกว่าระดับ 200 cumm. เมื่อไหร่ จะเข้าสู่ภาวะโรคเอดส์ (AIDS) คือเมื่อร่างกายไม่เหลือ CD4 ไว้กำจัดเชื้อโรคอีกแล้ว จึงสามารถเกิดโรครุมเร้าหลายชนิดได้พร้อมกัน และมีโอกาสถึงแก่ความตายได้ในที่สุด

ดังนั้นคนติดเชื้อ HIV จึงต่างกับคนเป็นโรคเอดส์ ถ้าหากคนติดเชื้อ HIV สามารถดูแลรักษาร่างกายตัวเองให้ดี กินยาต้านไวรัสอย่างสม่ำเสมอ รักษาค่า CD4 ไว้ ให้อยู่สูงอยู่เสมอ ก็สามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนทั่วไปในสังคม

3) คนที่ติดเชื้อ HIV หากกินยาต้านไวรัสต่อเนื่อง จนกดปริมาณไวรัสให้ต่ำลงจนถึงขั้นไม่สามารถตรวจเจอไวรัสในเลือดได้พบอีกแล้ว จะมีคำเรียกว่าเข้าสู่ภาวะ U = U (ตรวจไม่เจอก็จะไม่แพร่เชื้อ) กล่าวคือมีปริมาณ HIV น้อยมาก จนไม่สามารถแพร่ต่อให้ใครได้อีก

อย่างไรก็ตาม ทางหลักการแล้ว เชื้อ HIV ก็ยังคงอยู่ในร่างกายอยู่ดี หากไม่ควบคุม หรือหยุดกินยาต้านไวรัสขึ้นมาเมื่อไหร่ ไวรัสก็มีโอกาสกลับมาเติบโตในร่างกายอีกครั้ง

4) แม้ในโลกจะยอมรับแล้วว่า คนติดเชื้อ HIV สามารถอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้อย่างไม่มีปัญหา แต่ทางการแพทย์ ก็ยังมีความพยายามที่จะ “กำจัด” เชื้อ HIV ออกจากร่างกายมนุษย์ให้ได้อย่างถาวรอยู่

5) ในปี 1995 ทิโมธี เรย์ บราวน์ ชายชาวสหรัฐฯ วัย 29 ปี ถูกตรวจพบว่าติดเชื้อ HIV และอยู่กับเชื้อไวรัสนี้มานานหลายปี อย่างไรก็ตามในปี 2006 บราวน์ถูกตรวจพบว่าเป็นโรคลูคิเมีย จึงเข้ารับรักษาด้วยการปลูกถ่ายไขกระดูก (สเต็มเซลล์)

จุดประสงค์ในตอนแรกของการปลูกถ่ายไขกระดูก คือการต่อสู้กับลูคิเมีย แต่เมื่อทำการปลูกถ่ายเรียบร้อย นอกจากจะหยุดการเติบโตของมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้แล้ว ยังมีผลพลอยได้คือ เชื้อ HIV ถูกกำจัดไปด้วย

6) เป็นความบังเอิญที่ไขกระดูกของผู้บริจาค มีคุณสมบัติต้านทาน HIV ได้ตามธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น กรณีของอักเนส มุนยีวา โสเภณีชาวไนเจีรีย ที่มีเซ็กส์กับผู้ชายแบบไม่ป้องกันมากกว่า 2,000 คน และหลายคนในนั้นติดเชื้อ HIV แต่สุดท้ายเธอไม่เป็นอะไรเลย จนได้รับการขนานนามว่าเป็นมนุษย์ที่ Immune to HIV คือมีภูมิคุ้มกันอัตโนมัติตั้งแต่เกิด

เช่นเดียวกับ สตีเฟ่น โครน ชายชาวสหรัฐฯ ที่ร่างกายมียีนพิเศษ และป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้โดยอัตโนมัติ จนเขาถูกตั้งฉายาให้ว่า “มนุษย์ที่ไม่สามารถติดเอดส์ได้”

เมื่อสเต็มเซลล์จากผู้บริจาคที่เชื่อว่ามีภูมิคุ้มกันพิเศษต่อ HIV เข้าไปทำปฏิกริยากับร่างกายของทิโมธี เรย์ บราวน์ นั่นทำให้ HIV ถูกกำจัดออกไปอย่างบังเอิญ สุดท้ายหลังการตรวจเลือด ซ้ำหลายรอบเป็นเวลา 3 ปี ไม่พบเชื้อ HIV ในร่างกายของเขาอีกแล้ว

7) นายแพทย์คีธ เจอโรม จากศูนย์วิจัยมะเร็งเฟร็ด ฮัทชินสัน กล่าวว่า “กรณีของทิโมธี คือสัญลักษณ์ของความหวัง สำหรับคนที่ใช้ชีวิตร่วมกับ HIV รวมถึงแพทย์ที่หาทางรักษาเชื้อนี้ให้หายขาดด้วย”

แม้จะกำจัด HIV ได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก แต่ในทางปฏิบัติ มีน้อยคนที่จะตัดสินใจรักษา HIV ด้วยวิธีปลูกถ่ายไขกระดูก กล่าวคือ ในยุคปัจจุบันการกินยาต้านไวรัสอย่างสม่ำเสมอก็สามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติแล้ว ไม่ได้มีความจำเป็นต้องรักษาให้หายขาดก็ได้ นอกจากนั้นการเปลี่ยนสเต็มเซลล์ยังใช้ค่ารักษาสูงมาก คนไข้ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีนี้ได้ทุกคนแน่นอน
อย่างไรก็ตาม ในมุมของนักวิจัย การได้รับรู้ว่า HIV มีวิธีกำจัดออกไปได้ ก็ถือเป็นเรื่องน่ายินดี เพราะสามารถใช้ความรู้นี้ในการต่อยอดในลำดับต่อไปได้

8 ) หลังจากเคสของทิโมธี เรย์ บราวน์ เกิดอีกหนึ่งเคสขึ้นในปี 2012 เมื่ออดัม คาสติลเยโฆ่ ชายชาวเวเนซุเอล่า ที่ติดเชื้อ HIV เข้ารับการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ เพื่อรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

อย่างไรก็ตาม สเต็มเซลล์ที่เขาได้รับบริจาคนั้น มีคุณสมบัติในการต้านทานเชื้อ HIV ได้ด้วย นั่นทำให้เขาหายจากโรคมะเร็ง และปลอดเชื้อ HIV ไปพร้อมกัน

9) เหตุการณ์ผ่านไป จากนั้น วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2022 ที่ผ่านมา มีการเปิดเผยว่า มีคนหายจากการติดเชื้อ HIV เป็นคนที่ 3 และคราวนี้สิ่งทีน่าสนใจคือ คนที่รักษาหายเป็นเพศหญิงด้วย
ในงานประชุมทางการแพทย์ที่เดนเวอร์ มีการยกเคสผู้หญิงรายหนึ่งจากสหรัฐฯ ที่เข้ารับการรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาว จึงเข้ารับกระบวนการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์จากเลือดสายสะดือ (Cord Blood) ปรากฏว่า นอกจากจะรักษามะเร็งได้แล้ว เชื้อ HIV ที่เคยมีก็หายไปด้วย โดยมีการตรวจซ้ำมาแล้ว 14 เดือน ไม่พบเชื้อในร่างกายอีกเลย

เท่ากับว่าในปัจจุบันมีถึง 3 เคส ที่แสดงให้เห็นว่าเชื้อ HIV สามารถถูกกำจัดออกไปได้ ด้วยวิธีใช้สเต็มเซลล์ ในทางการแพทย์ถือว่าเป็นความคืบหน้าของวิวัฒนาการ ซึ่งจะนำไปสู่งานวิจัยใหม่ๆ ต่อไป

10) อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติ ของคนในสังคมทั่วๆไปนั้น หากไม่มีโรคมะเร็งอยู่ก่อนแล้ว จะไม่มีคนทำการปลูกถ่ายไขกระดูกเพื่อกำจัด HIV ในร่างกายโดยเฉพาะ เพราะทั้งซับซ้อน ค่าใช้จ่ายแพง และมีผลกระทบต่อร่างกายมากเกินไป อย่างในเคสของ อดัม คาสติลเยโฆ่ คนที่ 2 ที่หายจาก HIV น้ำหนักลดถึง 31 กิโลกรัม ในช่วงที่เข้ารับการผ่าตัด

11) สำหรับการรักษา HIV ให้หาย ยังเป็นความพยายามทางการแพทย์อยู่เพื่อเอาชนะโรคภัยให้ได้อย่างเด็ดขาด อย่างไรก็ตามในแง่ของมนุษย์ทั่วไปในสังคม แม้จะมีเชื้อ HIV ในร่างกายแล้ว แต่รู้จักการดูแลรักษาตัวเองอยู่เสมอ คงระดับ CD4 ให้สูงตามเกณฑ์ ก็สามารถใช้ชีวิตได้ปกติ ไม่ต่างอะไรกับคนที่ไม่ติดเชื้อ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า