Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

มูลนิธิผสานวัฒนธรรม องค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชนออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลและเจ้าหน้าที่ตำรวจทบทวนการดำเนินการเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยพื้นที่สามเหลี่ยมดินแดงโดยด่วน

“นับตั้งแต่วันที่ 7 สิงหาคม 2564 จนบัดนี้ เป็นเวลาเกือบสองเดือนเต็มที่การชุมนุมของเยาวชนบางกลุ่มเพื่อประท้วงการบริหารที่ผิดพลาดของรัฐบาล พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และการปราบปรามการชุมนุมโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดควบคุมฝูงชน (คฝ.) ทำให้บริเวณสามเหลี่ยมดินแดงกลายเป็น “สมรภูมิของการสู้รบ” ระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจ คฝ. กับผู้ชุมนุม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเยาวชนและบางส่วนเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี” แถลงการณ์ระบุ

ส่วนหนึ่งของแถลงการณ์เรียกการปะทะกันระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมเยาวชนกับเจ้าหน้าที่ คฝ.  ว่า “การสู้รบ” และชี้ว่านอกจากจะก่อให้เกิดการบาดเจ็บทั้งทางร่างกาย จิตใจ และความเสียหายต่อทรัพย์สินของทั้งสองฝ่ายแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อ “ปกติสุข” และความเสียหายทางทรัพย์สินต่อประชาชนในบริเวณดังกล่าว โดยเฉพาะชุมชนชาวแฟลตดินแดงที่อยู่บริเวณใกล้เคียงอีกด้วย”

มูลนิธิผสานวัฒนธรรมอ้างอิงข้อมูลจากภาพและคลิปวิดีโอที่ถูกบันทึกเหตุการณ์โดยสื่อออนไลน์และสื่ออิสระระบุว่าพบว่าสถานการณ์เกิดขึ้นจากฝ่ายหนึ่งที่เป็นเจ้าหน้าที่อ้างว่า ปฏิบัติตามหน้าที่ ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา อีกทั้งมีอำนาจตามกฎหมาย โดยการนำกองกำลังเจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบติดอาวุธสงครามเป็นอาวุธประจำกายพร้อมเกราะป้องกันตัว จำนวนไม่น้อยกว่า 100 คน ในแต่ละวัน มีการใช้แก๊สน้ำตาเป็นการทั่วไป ยิงเข้าใส่ผู้คนโดยไม่จำแนก การติดตามผู้ชุมนุมที่สลายตัวและเข้าถึงหลบยังห้องพักบริเวณแฟลตดินแดง ไปจนถึงการปิดถนน การใช้ตัวหรือรถกีดขวางเส้นทางการขับขี่จักรยานยนตร์ผู้ชุมนุมและการยึดรถจักรยานยนต์ การใช้ปืนหรืออาวุธสงครามจ่อยิง (โดยไม่ได้ลั่นกระสุน) ต่อผู้ชุมนุม การใช้อาวุธปืนยิงด้วยกระสุนยาง การจับกุมดำเนินคดีบุคคลที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ชุมนุมที่ใช้ความรุนแรงโดยไม่จำแนก การจับกุมเด็กและเยาวชนในสถานที่ชุมนุม การจับกุมบุคคลที่เดินทางผ่านไปมาโดยผิดหลง โดยอีกฝ่ายหนึ่งเป็นเพียงพลเมืองที่ประสบกับความยากลำบากทางเศรษฐกิจ คับแค้นทางด้านจิตใจ โดยเห็นว่า ตนมีสิทธิเสรีภาพที่จะชุมนุม ส่งเสียงเรียกร้อง หรือประท้วงรัฐบาล โดยในระยะแรกก็เริ่มจากสองมือเปล่า แต่เมื่อถูกปราบปรามอย่างหนัก จนต้องหาอุปกรณ์เท่าที่ประดิษฐ์คิดขึ้นได้เพื่อตอบโต้ ไม่ว่าจะเป็นระเบิดปิงปอง ระเบิดขวด หนังสติ๊ก เป็นต้น

“กลายเป็นสถานการณ์ที่วิ่งไล่จับกันอย่างไม่มีวันจบสิ้น หากปล่อยให้สถานการณ์เช่นนี้ดำเนินต่อไป ความเสียหายจะเกิดขึ้นกับสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้” แถลงการณ์ระบุ

มูลนิธิผสานวัฒนธรรมจึงเสนอข้อเสนอ 4 ข้อดังนี้

1. ขอให้รัฐบาลและสำนักงานตำรวจแห่งชาติทบทวนนโยบายในการปราบปรามการชุมนุม โดยขอให้เคารพสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการชุมนุมโยสงบและสันติ อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของสังคมประชาธิปไตย

2. ขอให้รัฐบาลและสำนักงานตำรวจแห่งชาติตระหนักว่า การใช้กำลังเข้าปราบปรามการชุมนุมโดยสงบของประชาชน เป็นการยั่วยุให้มีการตอบโต้ การปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ที่ใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมจะนำไปสู่ความรุนแรงในที่สุด ดังที่เคยเกิดขึ้นในอดีต และในการชุมนุมที่สามเหลี่ยมดินแดงนี้ด้วย

3. การแก้ปัญหาการชุมนุม เจ้าหน้าที่จะต้องบริหารจัดการการใช้พื้นที่สาธารณะเพื่อให้เกิดความสดวกแก่ประชาชนที่ใช้พื้นที่สาธารณะ รวมทั้งผู้ที่ใช้สิทธิในการชุมนุมตามรัฐรรมนูญด้วย เพื่อไม่ให้เกิดการกระทบกระทั่งกันระหว่างประชาชน โดยที่เจ้าหน้าที่จะต้องเป็นเครื่องมือทางการเมื่องของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง รวมทั้งฝ่ายรัฐบาล แต่จะต้องเป็นเครื่องมือของกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐธรรมนูญ

4. สำหรับรัฐบาล ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารประเทศเพื่อประชาชนทุกคน ต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โดยเฉพาะผุ้ชุมนุม ถึงแม้จะเป็นกลุ่มผู้ที่มีความเห็นแตกต่าง วิพากษ์วิจารณ์ หรือประท้วงรัฐบาล จึงต้องเปิดพื้นที่ให้มีการเจรจาหรือรับฟังความคิดเห็นของผู้ชุมนุมอย่างตรงไปตรงมา

5. สำหรับผลกระทบที่เกิดความเสียหายต่อทุกฝ่ายจากการชุมนุมและการใช้กำลังสลายการชุมนุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อประชาชนพื้นที่บริเวณสามเหลี่ยมดินแดง รัฐจะต้องชดใช้ เยียวยาอย่างเหมาะสมโดยเร็ว ทั้งนี้เพราะประชาชนเหล่านี้ได้รับผลกระทบจากมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ของรัฐบาลมาแล้ว ยังถูกซ้ำเติมด้วยสถานการณ์ความขัดแย้งดังกล่าวอีก

6. ยุติการดำเนินคดีต่อผู้ชุมนุม โดยเฉพาะผู้ที่เป็นเด็กและเยาวชน โดยทันทีโดยต้องยอมรับและเคารพว่า คนเหล่านั้นเป็นผู้ที่ประสบกับปัญหาเดือดร้อนทางเศรษฐกิจ มีความคับแค้นจากการกดทับของโครงสร้างและมาตรการที่เอารัดเอาเปรียบ ที่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพ และได้ใช้สิทธิอย่างชอบธรรมในการส่งเสียงเรียกร้องและชุมนุมดังที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญและกฎหมายระหว่างประเทศ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า