SHARE

คัดลอกแล้ว

รองเท้าผ้าใบนักเรียนชายสุดคลาสสิค เอกลักษณ์พื้นยางสีเขียว กับความอึด ถึก ทนอย่างเหลือเชื่อ ที่สร้างประสบการณ์และเรื่องราวจากรุ่นสู่รุ่นมานักต่อนัก กว่า 66 ปีที่อยู่คู่คนไทย คงไม่มีใครที่จะไม่รู้จักแบรนด์ “นันยาง” แต่กว่าจะประสบความสำเร็จและคงความเก๋าได้อย่างเช่นทุกวันนี้ นันยางก็ฝ่ามรสุมมาไม่น้อยเลยทีเดียว

ปฐมบทแห่งตำนาน

ก้าวย่างของ “นันยาง” เริ่มต้นขึ้นจากเด็กหนุ่มเชื้อสายจีนวัย 15 ปี หรือที่ในวันนี้เขามีนามว่า “วิชัย ซอโสตถิกุล” เดินทางข้ามทะเลจากจีนแผ่นดินใหญ่ หอบเสื่อผืนหมอนใบสู่สยามในราว พ.ศ.2460 เริ่มแรกเขาไม่ต่างจากชาวจีนคนอื่นๆ ที่สั่งสมประสบการณ์จากลูกจ้าง เก็บเงินจนกระทั่งมาเป็นเถ้าแก่เปิดธุรกิจของตัวเองดังใจหวังในนามของบริษัท ฮั่วเซ่งจั่น จำกัด

เขาใช้เวลาราว 13 ปีไปกับธุรกิจซื้อมา-ขายไป โดยยึดฐานมั่นเป็นอาคาร 2 ชั้น แถวสะพานพุทธฯ แต่ก็มาเจอกับความท้าทายแรกจากภาวะสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่นอกจากจะทำให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างยากลำบากจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ทั้งยังส่งผลต่อความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต เนื่องจากมีการทิ้งระเบิดอยู่ตลอดเวลา

แต่หลังจากผ่านพ้นมรสุมนี้มาได้ ธุรกิจของเขายังคงมั่นคงและเติบโต จนได้ตั้งบริษัท วัฒนสินพาณิชย์ จำกัด พัฒนาไปสู่การค้าขายกับต่างประเทศ นำเข้า ส่งออกและร่วมทุน หนึ่งในสินค้านั้นคือ รองเท้าผ้าใบ รุ่น 500 ผ้าสีน้ำตาล พื้นยางสีน้ำตาล จากสิงคโปร์ ภายใต้ชื่อแบรนด์ “หนำเอี๊ย” ขายในราคาคู่ละ 12 บาท

กระแสตอบรับเป็นไปอย่างท่วมท้นด้วยคุณสมบัติความทนทานต่อการใช้งาน ทำให้กลยุทธ์การนำเข้าสินค้าหลากหลายสิ่งในช่วงแรกถูกแทนที่ด้วยรองเท้าเป็นหลัก รวมถึงมีการเปลี่ยนแปลงชื่อแบรนด์จากการผันเสียงภาษาจีนแต้จิ๋ว มาเป็น “หนันยาง” ในภาษาจีนกลาง และฮิตติดปากคนไทยเป็น “นันยาง” นั่นเอง และนี่คือจุดเริ่มต้น “รองเท้าสุดเก๋า” ที่ใครๆ ก็รู้จัก

ช่วงปี 2490 “วิชัย ซอโสตถิกุล” ตัดสินใจซื้อกิจการและกรรมวิธีการผลิตจากสิงคโปร์ สนองนโยบายเชิญชวนให้คนไทยสนับสนุนสินค้าไทย จึงก่อตั้งเป็นบริษัท ผลิตยางนันยาง (ไทย) จำกัด ปูฐานการผลิตรองเท้านันยางในไทย บนเนื้อที่กว่า 4 ไร่ ย่านถนนเพชรเกษม ภาษีเจริญ แต่ยังคงนำเข้าบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญจากสิงคโปร์มา ซึ่งราว 6 ปีให้หลัง เริ่มผลิตรองเท้าคู่แรก “นันยางตราช้างดาว” ในไทย และประทับตรา Made in Thailand

รองเท้าทุกคู่ที่ออกมาจากโรงงานผลิต ตอกย้ำคุณภาพจากความทุ่มเท ตั้งแต่กระบวนการผลิต ควบคุมคุณภาพสินค้า รวมถึงภาพรวมบริษัทด้วยน้ำมือของวิชัยและภรรยา จากนั้นราว 4-5 ปี ได้พัฒนาและปรับกระบวนการผลิต แตกไลน์ผลิตภัณฑ์ใหม่สู่ “รองเท้าแตะตราช้างดาว” รุ่น 200 เปิดทางเลือกใหม่ให้ลูกค้า 2 สี ได้แก่ สีน้ำตาล และสีน้ำเงิน ในราคาคู่ละ 15 บาท และแน่นอนว่ากระแสตอบรับดีเช่นเคย

แล้วผ้าใบพื้นยางสีเขียวที่ใส่เดินไปไหนก็ส่งเสียงเอี๊ยดอ๊าดไปกับทุกพื้นผิว เริ่มต้นขึ้นเมื่อไร? เกิดขึ้นได้อย่างไร?

กำเนิดผ้าใบพื้นเขียว

หลังจากเปิดตัวรองเท้าแตะไปได้เพียง 1 ปี ทายาทรุ่นที่ 2 “เพียรศักดิ์ ซอโสตถิกุล” คัมแบ็กจากอังกฤษ ก็สานต่อกิจการด้วยการต่อยอดพัฒนารองเท้าพื้นสีเขียวขึ้นมา เพื่อตอบโจทย์สำหรับนักแบดมินตันโดยเฉพาะ รุ่นแรกของรองเท้าผ้าใบพื้นเขียวนี้คือ 205-S

ด้วยความคร่ำหวอดในวงการแบดมินตันนี้ จึงทำให้เขาเข้าใจความต้องการของนักกีฬาชนิดนี้ได้อย่างลึกซึ้ง แม้จะสร้างความแปลกใหม่ในเรื่องของสี แต่คุณสมบัติก็ตอบโจทย์ได้อย่างตรงเป้านักกีฬา หลังจากนั้นกลุ่มลูกค้าก็ขยายวงกว้างมากขึ้น ไปสู่กลุ่มนักเรียน นักศึกษา ข้าราชการ นักกีฬาประเภทอื่นๆ การเกษตร อุตสาหกรรม อาชีพรับจ้าง รวมถึงการขนส่ง เรียกได้ว่าแทบจะทุกวงการต้องเคยได้ลองสัมผัสกันบ้างแล้ว

ขณะที่ปี 2515 นันยางก็เล็งเห็นตลาดใหม่ ซึ่งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีจำนวนมากถึง 1 ใน 4 ของประชากรไทย และแทบจะมีจำนวนคงที่ในทุกๆ ปี ก็คือกลุ่มนักเรียน และฮิตติดตลาดเรื่อยมา แถมยังได้กลุ่มกีฬาตะกร้อด้วย ที่ต้องการรองเท้าที่สามารถยึดเกาะพื้นที่ได้ดี ไม่เพียงแต่นักกีฬาตะกร้อไทยเท่านั้น แต่ยังติดใจนักกีฬาประเทศเพื่อนบ้านด้วย

แน่นอนว่าด้านของกำลังการผลิตก็ต้องขยายตัวตามดีมานด์ที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงการพยายามขยายตลาดอย่างต่อเนื่อง ทำให้บริษัทตัดสินใจตั้งศูนย์การผลิตแห่งใหม่ย่านบางแค และยังจัดตั้งบริษัทอีก 2 บริษัท ได้แก่ บริษัท นันยางอุตสาหกรรม จำกัด และบริษัท นันยางมาร์เก็ตติ้ง จำกัด ตามลำดับ อีกทั้งยังย้ายสำนักงานใหญ่มาที่ถนนสี่พระยา ย่านบางรัก

นันยางประสบความสำเร็จอย่างมากในช่วงต้น จากการเป็นเพียงร้านค้าซื้อมาขายไป สู่หนึ่งในแบรนด์รองเท้าที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในประเทศ แต่ในยุคสมัยใหม่ ที่การแข่งขันรุนแรงขึ้น พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน รวมถึงเทคโนโลยีการสื่อสารที่พลิกผันแบบที่ยากจะตามทัน นันยางมีการปรับตัวกับโลกยุคใหม่นี้อย่างไร และการก้าวเข้าสู่รุ่นที่ 3 นำความเปลี่ยนแปลงอะไรมาสู่นันยางบ้าง ติดตามได้ในตอนหน้า

อ่านต่อ  “นันยาง” ตำนานความเก๋า ที่ไม่ยอมเก่าไปเพราะยุคสมัย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า