Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

การลงทุนมีความเสี่ยง แต่ไม่ลงทุนเสี่ยงกว่า” สมัยก่อนที่ธนาคารยังให้ดอกเบี้ยเงินฝากสูง คนทั่วไปอาจไม่สนใจเรื่องการลงทุนเท่าไหร่นัก เพราะคิดว่าฝากเงินไว้กับธนาคารเพื่อกินดอกเบี้ยอย่างเดียวก็พอแล้ว แต่ปัจจุบันในยุคที่ดอกเบี้ยเงินฝากต่ำเตี้ยเรี่ยดิน การฝากเงินไว้กับธนาคารเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพออีกต่อไป

หลายคนจึงพยายามศึกษาหาความรู้เรื่องการลงทุนในสินทรัพย์ลงทุนต่าง มากขึ้น ซึ่งหุ้นกู้เป็นหนึ่งในสินทรัพย์ลงทุนที่น่าสนใจ เพราะเป็นตราสารทางการเงินที่มีความซับซ้อนน้อย ทำความเข้าใจได้ไม่ยาก แต่ช่วง 2 – 3 ปีนี้ เริ่มมีการออกหุ้นกู้ที่มีเงื่อนไขแปลก  ผลตอบแทนสูง  มาเสนอขายให้กับประชาชนมากขึ้น ดังนั้น ผมจึงขออาสาพาผู้อ่านทุกท่านไปรู้จักและทำความเข้าใจกับการลงทุนใน “หุ้นกู้” ก่อนจะตัดสินใจลงทุนกันครับ

1. หุ้นกู้ หุ้น

หนึ่งในความเข้าใจผิดของหลายคน คือเข้าใจว่าการซื้อ หุ้น กับการซื้อ หุ้นกู้ เป็นการลงทุนแบบเดียวกัน แต่ความจริงแล้วคนละเรื่องเลยครับ การซื้อหุ้น คือการที่เราเข้าไป ร่วมลงทุน และมีสถานะเป็นเจ้าของกิจการแต่ การซื้อหุ้นกู้ เปรียบเสมือนเราให้กิจการนั้น ยืมเงิน ของเราไปดำเนินธุรกิจ เราจึงมีสถานะเป็นเจ้าหนี้

การเป็น เจ้าหนี้ ต่างจากการเป็น เจ้าของ เพราะเจ้าหนี้จะได้เงินคืนพร้อมผลตอบแทนตามระยะเวลาที่กำหนด ส่วนการเป็นเจ้าของจะได้ผลตอบแทนก็ต่อเมื่อบริษัทมีกำไรและจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้น และในทางตรงข้าม หากกิจการนั้นล้มละลายหรือต้องปิดตัวลง คนที่เป็น เจ้าหนี้ จะได้รับเงินคืนก่อนคนที่เป็น เจ้าของ เสมอ

ดังนั้น การลงทุนในหุ้นกู้จึงมีความเสี่ยงน้อยกว่าการลงทุนในหุ้น และผลตอบแทนของการลงทุนในหุ้นกู้จะค่อนข้างแน่นอนตามที่ระบุไว้ในสัญญา ต่างจากการซื้อหุ้นที่ผลตอบแทนไม่แน่ไม่นอน คืออาจได้รับผลตอบแทนสูงถ้ากิจการนั้นเติบโตดีมีกำไร หรืออาจไม่ได้รับผลตอบแทนเลยหากกิจการนั้นขาดทุน

2. การจ่ายผลตอบแทนของหุ้นกู้ 

หลัก มีอยู่สองแบบ คือ

1) ดอกเบี้ย คล้ายการฝากเงินกับธนาคาร ผู้ซื้อหุ้นกู้จะได้รับดอกเบี้ยตามงวดที่กำหนด เช่น ทุก ๆ 3 เดือน ทุก ๆ 6 เดือน โดยดอกเบี้ยที่จ่ายนั้นมีทั้งแบบอัตราดอกเบี้ยคงที่ (Fixed Rate) คือกำหนดไว้ตายตัวเลยว่าจะจ่ายเท่าไหร่ เช่น 2.8% 3.5% 5% พอถึงเวลาก็จะจ่ายดอกเบี้ยตามที่ตกลงไว้ ส่วนอีกแบบคืออัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว (Floating Rate) จะคล้ายกับเวลาที่เราไปกู้บ้าน แล้วธนาคารบอกว่าจะคิดอัตราดอกเบี้ยลอยตัว MRR – xx% แปลว่าถ้าดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น เราก็จะมีโอกาสได้ดอกเบี้ยมากขึ้นด้วย แต่ถ้าอัตราดอกเบี้ยเป็นขาลง เราก็จะได้ดอกเบี้ยน้อยลงด้วยเช่นกัน

2) ส่วนลด (Zero-coupon) ผู้ซื้อทุนกู้จะไม่ได้รับดอกเบี้ยแต่จะได้ส่วนลดจากราคาหน้าตั๋วแทน เช่น หุ้นกู้บริษัท A เขียนราคาหน้าตั๋ว 1,000 บาท มีกำหนดระยะเวลาไถ่ถอน 4 ปี แต่เวลาบริษัท A นำหุ้นกู้นี้มาขายให้เรา เขาอาจขายให้เราในราคาเพียง 800 บาทเท่านั้น เท่ากับเราได้ส่วนลด 200 บาท เป็นผลตอบแทน ถ้าเราถือจนครบกำหนดแล้วนำหุ้นกู้นี้ไปขึ้นเงิน เราจะได้เงินเต็มจำนวนที่เขียนไว้บนหน้าตั๋วคือ 1,000 บาทนั่นเอง

3. หุ้นกู้แต่ละประเภทจะได้รับชำระหนี้ก่อนหลังแตกต่างกัน

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า การลงทุนในหุ้นกู้เปรียบเสมือนว่าเราเป็น “เจ้าหนี้” ของกิจการนั้น และจะได้รับเงินคืนก่อน “เจ้าของ” หากกิจการล้มละลายหรือต้องปิดตัวลง 

อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าเจ้าหนี้ทุกรายจะได้รับชำระหนี้เท่าเทียมกัน เพราะเจ้าหนี้แต่ละรายจะมีลำดับการได้รับชำระหนี้ก่อนหลังแตกต่างกันออกไป ไม่ต่างจากประเภทของหุ้นกู้ที่หุ้นกู้แต่ละประเภทจะได้รับชำระหนี้ก่อนหลังแตกต่างกันออกไป เช่นหุ้นกู้มีหลักประกันจะได้รับชำระหนี้ก่อนหุ้นกู้ไม่มีหลักประกันหรือหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิก็จะได้รับชำระหนี้ก่อนหุ้นกู้ด้อยสิทธิเป็นต้น

หุ้นกู้ที่ได้รับการชำระหนี้ทีหลัง แปลว่า หุ้นกู้ประเภทนั้นมีความเสี่ยงสูง ซึ่งการที่บริษัทจะจูงใจให้คนมาลงทุนในหุ้นกู้ที่มีความเสี่ยงสูงได้นั้น ก็จะต้องเสนอผลตอบแทนที่สูงกว่าหุ้นกู้ที่มีความเสี่ยงต่ำกว่านั่นเอง ดังนั้น เวลาที่เราจะลงทุนหุ้นกู้ เราต้องพิจารณาด้วยว่าหุ้นกู้ดังกล่าวมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนหลังอย่างไร ไม่ใช่พิจารณาแต่ผลตอบแทนของหุ้นกู้เพียงอย่างเดียว

4. หุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน หรือ หุ้นกู้ชั่วนิรันดร์ คืออะไร

ช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา ในวงการหุ้นกู้ก็มีนวัตกรรมใหม่ ออกมาเพื่อดึงดูดนักลงทุน หนึ่งในนั้นคือหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน” (Perpetual Subordinated Bond) หรือหลายคนอาจเรียกมันว่าเป็นหุ้นกู้ชั่วนิรันดร์” เพราะว่าบริษัทที่ออกหุ้นกู้ดังกล่าวจะไม่กำหนดวันไถ่ถอนไว้ หรือพูดง่าย คือ เราไม่สามารถรู้ว่าเงินต้นที่เราลงทุนไปจะได้คืนเมื่อไหร่ แปลว่าเราอาจจะต้องถือหุ้นกู้ตัวนี้ไปจนถึงวันที่บริษัทเลิกกิจการ แถมบริษัทอาจเลื่อนการจ่ายดอกเบี้ยไปได้เรื่อย โดยไม่ถือว่าผิดสัญญาแต่อย่างใด

อ่านถึงตรงนี้ หลายคนอาจคิดในใจว่า แล้วใครจะไปลงทุนในหุ้นกู้ประเภทนี้ แต่จากข้อมูลล่าสุดของสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) พบว่า ปัจจุบันมียอด “หุ้นกู้ชั่วนิรันดร์” ที่ยังไม่ไถ่ถอนรวมในตลาดมูลค่าประมาณ 1.01 แสนล้านบาท จาก 11 บริษัท

สาเหตุที่ยังคงมีผู้สนใจลงทุนในหุ้นกู้ประเภทนี้เป็นเพราะ “หุ้นกู้ชั่วนิรันดร์” มักจะเสนอผลตอบแทนที่สูงกว่าหุ้นกู้ปกติ และบริษัทที่ออกหุ้นกู้ประเภทนี้ก็มักจะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และเป็นชื่อที่คุ้นหูประชาชน ทำให้หลายคนคิดว่าบริษัทเหล่านี้คงจะไม่เจ๊งง่าย ๆ ดังนั้น คนที่สนใจลงทุนในหุ้นกู้ประเภทนี้อย่ามองแต่เพียงผลตอบแทนเพียงอย่างเดียว แต่ต้องเข้าใจและยอมรับความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุนด้วย

5. อันดับความน่าเชื่อถือ

สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่เราต้องพิจารณาก่อนตัดสินใจลงทุนในหุ้นกู้ คือ อันดับความน่าเชื่อถือ โดยหลักการง่าย ให้เราคิดเสมือนว่าเรากำลังจะให้ใครยืมเงิน ก็ต้องพิจารณาก่อนว่าคนที่มายืมนั้น เป็นใคร ทำงานอะไร ดูโหงวเฮ้งแล้วจะคืนเงินเราได้หรือไม่

สำหรับการเลือกหุ้นกู้ เราก็ต้องดูอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) ทั้งของบริษัท (Company Rating) และตัวหุ้นกู้นั้น (Issue Rating) เพราะแม้ว่าจะเป็นหุ้นกู้ของบริษัทเดียวกัน แต่อันดับความน่าเชื่อถืออาจต่างกันก็ได้ ก็เพราะว่าหุ้นกู้มีหลายประเภท ทั้งมีประกัน ไม่มีประกัน ด้อยสิทธิ ไม่ด้อยสิทธิ ดังนั้น หุ้นกู้ของบริษัทเดียวกันจึงไม่มีความจำเป็นต้องอันดับความน่าเชื่อถือเท่ากัน

อันดับความน่าเชื่อถือจะจัดเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

1) กลุ่มที่น่าลงทุน (Investment Grade) หมายถึง เรทติ้งตั้งแต่ระดับ AAA ลงมาถึง BBB-

2) กลุ่มที่มีความไม่แน่นอน (Speculative) หมายถึง เรทติ้งตั้งแต่ BB+ ลงมาจนถึง D และตราสารที่ไม่ได้รับการจัดอันดับเครดิต (Unrated Bond) ด้วย 

โดยบริษัทหรือตราสารที่ได้เรทติ้งดี หมายความ บริษัทนั้นมีความเสี่ยงที่จะเบี้ยวหนี้ต่ำ ส่วนบริษัทไหนที่ได้เรทติ้งต่ำ ก็หมายความว่าบริษัทนั้นมีโอกาสที่จะเบี้ยวหนี้สูงกว่า

ทั้งนี้ อันดับความน่าเชื่อถือสามารถเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาได้ตลอด ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ของบริษัท เช่นก่อนหน้านี้ การบินไทย ก็ได้เรทติ้งระดับ AA- แต่พอบริษัทขาดทุนติดต่อกันหลายปี และมีข่าวว่ารัฐบาลจะไม่อุ้ม เรทติ้งก็ร่วงเหลือ BB และเมื่อบริษัทเข้าสู่สถานะพักหนี้ตามกระบวนการฟื้นฟูกิจการ เรทติ้งก็จะถูกปรับลงสู่ระดับ D หรือ Default นั่นเอง

ที่มา www.thaibma.or.th

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า