Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ไทยเป็นหนึ่งใน 35 ชาติทั่วโลก และเป็น 1 ใน 3 ชาติอาเซียน ที่ลงมติงดออกเสียง กรณีประณามรัสเซียผนวกดินแดนของยูเครน ขณะที่ชาติอาเซียนที่เหลือ 7 ประเทศ ลงมติเหมือนกับชาติส่วนใหญ่ในโลกรวม 143 ประเทศเห็นด้วยกับการประณามรัสเซีย
.
รายละเอียดของมติดังกล่าวเป็นอย่างไร รวมถึงที่ผ่านมาไทยเคยมีท่าทีอย่างไรในเวทีสหประชาชาติ วันนี้ workpointTODAY จะสรุปมาให้ได้อ่านกันในโพสต์เดียว

การประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเมื่อวานนี้ (12 ต.ค.) มีการลงมติต่อกรณีรัสเซียพยายามผนวก 4 ดินแดนยูเครนอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งผลการลงมติปรากฎว่า ชาติสมาชิก 143 ประเทศลงมติเห็นด้วยกับการประณามรัสเซียที่พยายามผนวกดินแดนในยูเครนอย่างผิดกฎหมาย และเรียกร้องทุกประเทศให้ไม่รับรองความเคลื่อนไหวดังกล่าว
.
อย่างไรก็ตาม มี 5 ชาติที่ลงมติไม่เห็นด้วย ได้แก่ รัสเซีย นิการากัว ซีเรีย เกาหลีเหนือและเบลารุส และมี 35 ชาติงดออกเสียง เช่น จีน อินเดีย รวมถึงไทยก็ลงมติงดออกเสียงต่อกรณีนี้
.
โดยในชาติอาเซียนด้วยกัน ไทยลงมติงดออกเสียงเหมือนกับเวียดนามและลาว ขณะที่ชาติอาเซียนอื่นๆ ได้แก่ กัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และบรูไน ลงมติเห็นด้วยต่อการประณามรัสเซีย โดยกรณีเมียนมา ผู้ลงมติเป็นผู้แทนที่ได้รับแต่งตั้งจากรัฐบาลก่อนการรัฐประหาร
.
เอกสารที่เผยแพร่โดยกระทรวงการต่างประเทศ ระบุถึงคำอธิบายของนายสุริยา จินดาวงษ์ เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ต่อการลงมติงดออกเสียงในครั้งนี้ ตอนหนึ่งระบุว่า ประเทศไทยเลือกที่จะงดออกเสียงในการลงมติดังกล่าว เพราะมันเกิดขึ้นในช่วงที่สถานการณ์เปลี่ยนแปลงได้เร็ว และเต็มไปด้วยอารมณ์ การไม่ให้ความสำคัญกับโอกาสที่จะเกิดวิกฤติทางการทูต ที่จะนำไปสู่สันติและการเจรจาที่ทำได้จริง จะผลักไสให้โลกเดินหน้าสู่สงครามนิวเคลียร์และภาวะเศรษฐกิจโลกล่มสลาย

ขณะที่ผู้แทนจากชาติมหาอำนาจของโลกอย่างสหรัฐฯ จีนและรัสเซีย ซึ่งลงมติไม่เหมือนกัน ต่างก็นำเสนอเหตุผลของตัวเองที่แตกต่างออกไป โดยผู้แทนสหรัฐฯ ประจำสหประชาชาติ ซึ่งลงมติเห็นด้วยกับการประณามรัสเซียให้เหตุผลว่า วันนี้รัสเซียบุกยูเครน แต่ในวันพรุ่งนี้ อาจเป็นประเทศอื่นที่พรมแดนถูกละเมิดก็ได้
.
อย่างไรก็ตาม ผู้แทนรัสเซียประจำสหประชาชาติระบุถึงการลงมติในครั้งนี้ว่า การประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติกลายเป็นการเมืองที่ปฏิเสธข้อเท็จจริงทั้งปวง ส่วนผู้แทนจีนประจำยูเอ็นที่ลงมติงดออกเสียงมองว่า ความเคลื่อนไหวในการลงมติครั้งนี้ไม่ได้ช่วยให้เกิดการเจรจาหรือแก้ปัญหาใดๆ
.
ที่ผ่านมา หลายฝ่ายมองว่า การลงมติในการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติมีส่วนทำให้เห็นจุดยืนของแต่ละประเทศได้อย่างชัดเจนที่สุด โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ก็มีการลงมติในประเด็นสำคัญหลายครั้ง ซึ่งไทยก็มีจุดยืนที่แตกต่างกันออกไป
.
เช่นเมื่อวันที่ 2 มี.ค. ที่ผ่านมา สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติจัดประชุมเร่งด่วน พร้อมลงมติเห็นด้วยกับการประณามรัสเซียที่รุกรานยูเครนอย่างท้วมท้น ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วยกับการประณาม 141 เสียง ไม่เห็นด้วย 5 เสียง และงดออกเสียง 193 เสียง ซึ่งในตอนนั้น ไทยลงมติเห็นด้วยกับการประณาม
.
ในตอนนั้น นายสุริยา จินดาวงษ์ ผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ แถลงต่อที่ประชุมว่า ไทยได้พิจารณาร่างมติอย่างถี่ถ้วน เนื่องจากให้ความสำคัญกับหลักการตามกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการเคารพในบูรณภาพแห่งดินแดน และการไม่ใช้กำลังต่อรัฐ
.
นอกจากนี้สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ยังเคยให้มีการลงมติคว่ำบาตรการขายอาวุธให้เมียนมา หลังกองทัพเมียนมาก่อรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 ก.พ. ปีที่แล้ว โดยผลการลงมติปรากฎว่า เสียงส่วนใหญ่จำนวน 119 เสียง สนับสนุนการห้ามขายอาวุธให้เมียนมา และมีเพียง 1 ประเทศคือเบลารุส ที่ลงมติไม่เห็นด้วยกับการคว่ำบาตร ส่วนอีก 36 ประเทศ รวมทั้งจีน รัสเซีย และไทย งดออกเสียงในกรณีนี้

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า