Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

แม่น้ำโขงตอนล่างบริเวณที่ไหลผ่านประเทศลาวและกัมพูชา ในอนาคตอันใกล้จะมีเขื่อนมากถึง 11 แห่ง โดยเขื่อนไซยะบุรีถือเป็นเขื่อนแห่งแรกที่ทำการก่อสร้างแล้วเสร็จ และยังจะมีเขื่อนอีก 10 แห่งที่ทั้งกำลังก่อสร้างอยู่หรือมีแผนจะก่อสร้างในอนาคต ทั้งนี้ ผู้จะดำเนินการก่อสร้างเขื่อนเหล่านี้มีทั้งบริษัทจากไทย จีน เวียดนาม และมาเลเซียเขื่อนไซยะบุรีเพิ่งจะก่อสร้างเสร็จอย่างเป็นทางการในช่วงกลางปีที่ผ่านมานี้ และเริ่มดำเนินการผลิตไฟฟ้าอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 29 ต.ค. ที่ผ่านมา ผู้ลงทุนก่อสร้างหลักคือ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) มูลค่าการก่อสร้างรวมประมาณ 1.5 แสนล้านบาท และได้รับเงินกู้จากธนาคารไทย 6 แห่ง ทั้งนี้ ไฟฟ้ากว่า 95% ที่ผลิตได้จากเขื่อนแห่งนี้จะขายให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ทำสัญญาซื้อขายกันนาน 29 ปี

อย่างไรก็ตาม เขื่อนไซยะบุรีไม่ใช่เขื่อนแห่งเดียวที่จะตั้งขวางลำน้ำโขงช่วงที่ไหลผ่านประเทศลาวและกัมพูชา เพราะในขณะนี้ เขื่อนดอนสะโฮงกำลังถูกก่อสร้างอยู่บนลำน้ำโขงที่แขวงจำปาสัก ประเทศลาว โดยผู้ดำเนินการก่อสร้างหลักคือ บริษัท Mega First Corporation Berhad (MFCB) จากประเทศมาเลเซีย

สำหรับโครงการสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายหลัก (ไม่นับส่วนที่ไหลผ่านประเทศจีน) ที่มีการวางแผนว่าจะสร้างในอนาคต แต่ยังไม่ได้เริ่มก่อสร้าง มีอีกทั้งสิ้น 9 แห่งด้วยกัน ไล่จากเหนือลงใต้ ได้ดังนี้

1. เขื่อนปากแบง ที่จะสร้างในเขตเมืองปากแบง แขวงอุดมไซ ทางภาคเหนือของลาว โดยผู้พัฒนาโครงการคือ บริษัท China Datang Oversea Investment จำกัด จากประเทศจีน

2. เขื่อนหลวงพระบาง ที่จะสร้างที่เมืองหลวงพระบาง ทางเหนือของลาว โดยบริษัท ปิโตรเวียดนาม จากประเทศเวียดนาม จะเป็นผู้ลงทุนหลัก

3. เขื่อนปากลาย ซึ่งตั้งอยู่ท้ายน้ำจากเขื่อนไซยะบุรี และอยู่ห่างจากชายแดนไทยที่ อ.ท่าลี่ จ.เลย ประมาณ 60 กิโลเมตร ผู้ลงทุนหลักในการสร้างจะเป็น บริษัท Power China Resources จำกัด จากประเทศจีน

4. เขื่อนสะนะคาม หรือ ชนะคราม จะสร้างที่แขวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว อยู่ห่างจากชายแดนที่ อ.เชียงคาน จ.เลย เพียง 2 กิโลเมตร ผู้ลงทุนก่อสร้างหลักจะเป็น บริษัท China Datang Oversea Investment จำกัด จากประเทศจีน

5. เขื่อนปากชม ซึ่งอยู่บริเวณพรมแดนไทย-ลาว บริเวณ อ.ปากชม จ.เลย เขื่อนแห่งนี้ได้รับการผลักดันโครงการโดย กรมพัฒนาพลังงานทดแทน กระทรวงพลังงาน ประเทศไทย

6. เขื่อนบ้านกุ่ม จะตั้งอยู่บริเวณพรมแดนไทย-ลาว บริเวณ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี โดยบริษัท อิตาเลียนไทย และบริษัท เอเชียคอร์ป จากจีน จะเป็นผู้ดำเนินการสร้างหลักหากมีการก่อสร้างเขื่อนแห่งนี้ขึ้น

7. เขื่อนภูงอย หรือ เขื่อนลาดเสือ จะอยู่ที่แขวงจำปาสัก ประเทศลาว บริษัท เจริญเอ็นเนอยี่ แอนด์ วอเทอร์ จากประเทศไทยจะเป็นผู้ดำเนินการหลัก โดยได้มีการเซ็น MoU เพื่อศึกษาความเป็นไปได้แล้วตั้งแต่ปี 2551

8. เขื่อนสตึงเตร็ง จะอยู่ที่จังหวัดสตึงเตร็ง ในประเทศกัมพูชา บริษัท เออร์เบิลแอนด์อันดัสเทรียล แอนด์ดีเวลอปเมนท์คอป จากประเทศเวียดนาม จะเป็นผู้ลงทุนหลัก

9. เขื่อนซำบอ จะอยู่ที่เมืองซำบอ จ.กระแจ๊ะ ประเทศกัมพูชา บริษัท Sinohydro จากประเทศจีน จะเป็นผู้ลงทุนหลักในเขื่อนแห่งนี้

ดังนั้นโดยรวมแล้ว เฉพาะบนแม่น้ำโขงสายหลักที่ไหลผ่านประเทศลาวและกัมพูชา ในอนาคตอันใกล้สายน้ำหลักของชาวไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม แห่งนี้ อาจจะต้องไหลผ่านเขื่อนถึง 11 แห่ง จึงจะไหลออกไปสู่ทะเลที่ปลายทางประเทศเวียดนามได้

และหากมองย้อนขึ้นไปทางเหนือสู่ต้นลำน้ำโขงที่ประเทศจีนด้วย ก็อาจแปลว่าสายน้ำแห่งนี้อาจต้องไหลผ่านเขื่อนไม่น้อยกว่า 20 แห่ง จึงจะไหลออกสู่ทะเลปลายทางตามธรรมชาติได้

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า