Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

วัคซีนโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) ตกเป็นเป้าถูกวิจารณ์อีกครั้ง หลังจากที่ผลการวิจัยล่าสุดพบว่า วัคซีนชนิดนี้มีประสิทธิภาพต้านเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์แอฟริกาใต้เพียง 10.4% ซึ่งถือว่าต่ำมาก และดูเหมือนจะต่ำกว่าวัคซีนยี่ห้ออื่นที่เคยมีการทดลองก่อนหน้านี้

วันนี้ workpointTODAY จะสรุปข้อมูลทั้งหมดมาให้ได้อ่านกันในโพสต์นี้

1.) วันที่ 16 มีนาคม 2564 วารสาร The New England Journal of Medicine เผยแพร่งานวิจัยล่าสุดที่ทำการทดลองประสิทธิภาพวัคซีนโควิด-19 ที่พัฒนาโดยบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) ร่วมกับมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด (Oxford University) ต่อการต้านเชื้อไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์ สายพันธุ์แอฟริกาใต้ (B.1.351)

การวิจัยครั้งนี้ทดลองกับอาสาสมัครอายุ 18-64 ปี ซึ่งนักวิจัยพบอาสาสมัครที่ได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์แอฟริกาใต้ 2.5% น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับวัคซีนหลอก ที่มีอัตราการติดเชื้อสายพันธุ์แอฟริกาใต้ 3.2% เพียงเล็กน้อย

ผลการทดลองสรุปว่า วัคซีนโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า มีประสิทธิภาพต้านเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์แอฟริกาใต้เพียง 10.4% ต่อผู้ติดเชื้อที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง ซึ่งในบทสรุปการวิจัย ทีมนักวิทยาศาสตร์ชี้ว่า วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ไม่ได้แสดงให้เห็นว่า สามารถต้านเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์แอฟริกาใต้ได้

2.) งานวิจัยชิ้นนี้ สอดคล้องกับเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา รัฐบาลแอฟริกาใต้ตัดสินใจระงับการฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า หลังพบว่า วัคซีนชนิดนี้มีประสิทธิภาพต่ำในการต้านเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์แอฟริกาใต้

โดยรัฐบาลแอฟริกาใต้ทำการทดลองลักษณะคล้ายๆ กับงานวิจัยล่าสุด คือใช้อาสาสมัครราว 2,000 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าของแท้ กับอีกกลุ่มได้รับวัคซีนหลอก และผลที่ออกมาก็ปรากฎว่า ใกล้เคียงกับงานวิจัยล่าสุดที่ชี้ว่า วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้ามีประสิทธิภาพแค่ประมาณ 10% ต่อการต้านไวรัสสายพันธุ์แอฟริกาใต้

3.) ผลการวิจัยที่ชี้ว่า วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าไม่มีประสิทธิภาพต้านไวรัสสายพันธุ์แอฟริกาใต้ ทำให้เกิดความกังวลในหลายประเทศที่เลือกใช้วัคซีนชนิดนี้ทันที เช่นในฟิลิปปินส์ ซึ่งเมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีการยืนยันว่า พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์แอฟริกาใต้ในประเทศแล้ว

ก่อนหน้านี้ผู้เชี่ยวชาญในฟิลิปปินส์ออกมาเตือนว่า หากรัฐบาลไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์แอฟริกาใต้ไม่ให้ลุกลามได้ การฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าก็ไร้ประโยชน์ ไม่ต่างจากการฉีดน้ำเปล่าเข้าร่างกาย

4.) ไวรัสโควิด-19 ที่กลายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ที่พบในอังกฤษ บราซิล หรือสายพันธุ์แอฟริกาใต้ ส่งผลต่อประสิทธิภาพวัคซีนที่มีอยู่ทั้งสิ้น ซึ่งจุดนี้กำลังเป็นสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขกังวลว่า หากไวรัสกลายพันธุ์แพร่ระบาดเป็นวงกว้าง วัคซีนโควิด-19 เดิมอาจใช้ไม่ได้

โดยถ้าพูดถึงเฉพาะไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์ สายพันธุ์แอฟริกาใต้ เท่าที่มีงานวิจัยในตอนนี้พบว่า ส่งผลต่อวัคซีนทุกยี่ห้อในระดับที่แตกต่างกัน

5.) วัคซีนกลุ่มแรกคือวัคซีนของบริษัทไฟเซอร์ (Pfizer) ที่พัฒนาร่วมกับไบโอเอ็นเทค (BioNTech) และวัคซีนของโมเดอร์นา (Moderna) ซึ่งทั้งสองบริษัทใช้เทคโนลยี mRNA ที่ถือเป็นเทคโนโลยีใหม่พัฒนาวัคซีนโควิด-19

โดยผลการทดลองวัคซีนในตอนแรก วัคซีนของทั้งสองบริษัทมีประสิทธิภาพสูงถึง 95% และ 94.5% ตามลำดับ แต่ในเวลาต่อมาเมื่อมีการค้นพบไวรัสกลายพันธุ์ ทีมพัฒนาวัคซีนได้ทำการทดลองประสิทธิภาพต้านเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ภายในห้องทดลอง โดยอาศัยตัวอย่างเลือดที่มีเชื้อกลายพันธุ์ และพบว่า วัคซีนเดิมยังสามารถต้านเชื้อได้ แต่ประสิทธิภาพลดลง

อย่างไรก็ตาม ทั้งบริษัทไฟเซอร์และโมเดอร์นา ยืนยันก่อนหน้านี้ว่า เทคโนโลยี mRNA ที่บริษัทใช้พัฒนาวัคซีน เอื้อต่อการพัฒนาวัคซีนใหม่เพื่อต่อต้านเชื้อกลายพันธุ์ได้ภายใน 6 สัปดาห์ ขณะเดียวกันทั้งสองบริษัทอยู่ระหว่างการพัฒนาวัคซีนกระตุ้น (Booster) สำหรับฉีดเป็นเข็มที่ 3 เพื่อต้านเชื้อไวรัสกลายพันธุ์โดยเฉพาะ

วัคซีน โควิด-19 ไฟเซอร์ ไบโอเอ็นเทค AFP1263

6.) วัคซีนกลุ่มที่สอง คือวัคซีนโนวาแวค (Novavax) และวัคซีนของจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ซึ่งวัคซีน 2 ยี่ห้อนี้มีการทดลองกับอาสาสมัครในแอฟริกาใต้ ในช่วงที่มีการระบาดของไวรัสกลายพันธุ์พอดี ทำให้สามารถจำแนกประสิทธิภาพการต้านเชื้อไวรัสสายพันธุ์แอฟริกาใต้ได้

ผลการทดลองพบว่า ไวรัสสายพันธุ์แอฟริกาใต้ทำให้ประสิทธิภาพต้านเชื้อของวัคซีนลดลงจริง โดยวัคซีนโนวาแวคมีประสิทธิภาพ 49% ขณะที่วัคซีนจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน มีประสิทธิภาพ 57% ต่อไวรัสสายพันธุ์แอฟริกาใต้

7.) ส่วนวัคซีนโควิด-19 ของซิโนแวค บริษัทเวชภัณฑ์สัญชาติจีน มีการเปิดเผยจากทีมวิจัยในบราซิลเมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่า วัคซีนดังกล่าวผ่านทดลองกับไวรัสกลายพันธุ์ ทั้งสายพันธุ์อังกฤษและแอฟริกาใต้ ในห้องทดลองที่ประเทศจีนแล้ว และมีประสิทธิภาพต้านเชื้อกลายพันธุ์ได้ดี อย่างไรก็ตาม ไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดถึงวิธีการวิจัย หรือตัวเลขประสิทธิภาพใดๆ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า